Doctor Talk - โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ | โรงพยาบาลนครธน

Описание к видео Doctor Talk - โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ | โรงพยาบาลนครธน

💓 ใจเต้นเร็วขนาดนี้ผิดปกติหรือเปล่านะ 😳 เพราะโดยปกติแล้วหัวใจจะเต้นอย่างสม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้งต่อนาที ด้วยความเร็วที่เปลี่ยนไปตามกิจกรรมของร่างกาย 🚨 แต่ถ้าหัวใจเต้นช้าเกินไป หรือ เต้นเร็วเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจได้ 😱 แล้วอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ จะรักษาได้อย่างไร ❓ ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันกับ พญ.พัชรี ภาวศุทธิกุล แพทย์ประจำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลนครธน กันได้เลยค่ะ


👉 อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอย่างไร ❓
ปกติแล้วหัวใจของคนเราจะมีจังหวะการเต้นของหัวใจประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที หัวใจเต้นผิดจังหวะก็จะมีทั้งแบบช้าเกินไป และเร็วเกินไป แบบช้าเกินไปก็คือ น้อยกว่า 50-60 ครั้งต่อนาทีนะคะ ถ้าเป็นแบบเต้นเร็วเกินไป คือ เต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีค่ะ และบางคนก็จะมีทั้งเต้นเร็วและเต้นช้าสลับกันไป

👉 หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง❓
หัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีทั้งแบบที่เป็นตั้งแต่กำเนิด และเป็นในภายหลัง โดยมี ชา กาแฟ น้ำอัดลม การอดนอน ความเครียด ที่อาจจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในบางคนอาจจะมีการเต้นผิดจังหวะแบบที่มีไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ ซึ่งอาจจะเป็นมาแต่กำเนิด แล้วมีสิ่งกระตุ้นขึ้นมา หรือภาวะการเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว เช่น ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ มีไทรอยด์ผิดปกติ เป็นต้น

--------------------------------------

👉 อาการบ่งชี้ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คนไข้ที่มีหัวใจเต้นช้าเกินไป อย่างที่กล่าวก็คือ คนไข้อาจจะมาด้วยอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ วิงเวียน บางรายก็จะไม่มีอาการเตือน เช่น กินข้าวอยู่ แล้วเป็นลมหน้ามืด หน้าคว่ำลงไปที่จานข้าวเลย หรือว่ามีการล้มตกกระแทก ศีรษะกระแทก ศีรษะแตกขึ้นมาได้

ส่วนคนที่มีอาการเต้นผิดจังหวะแบบเร็วเกินไป ก็จะมีอาการใจสั่น ใจหวิว บางคนที่เร็วมากๆ ก็จะมีเป็นลม หน้ามืดได้เหมือนกัน ถ้าเป็นการเต้นผิดจังหวะแบบที่ช้าเกินไป

--------------------------------------

👉 การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ถ้าตรวจหาสาเหตุแล้วพบว่าเป็นการเต้นช้าจากการใช้ยา เราก็อาจจะต้องแก้ไขที่ยา หรือถ้าผิดปกติจากผลเลือด จากเกลือแร่ เราก็ต้องแก้ไขที่ส่วนนั้น ถ้าหากเกิดจากตัวสร้างสัญญาณไฟที่ช้าเกินไป ซึ่งในร่างกายของคนเราก็จะมีจุดที่สร้างสัญญาณไฟอยู่ ถ้าตรงนั้นมันมีปัญหา ไม่สร้างสัญญาณไฟ เราก็อาจจะต้องไปฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างปกติ

แต่ถ้าเป็นแบบที่เต้นเร็วเกินไป เราก็ต้องมาดูว่าหลังจากที่ติดเครื่องวัดคลื่นหัวใจครบ 24 ชั่วโมงแล้ว ผลที่ออกมาเป็นความผิดปกติแบบไหน หากเป็นการเต้นผิดจังหวะแบบมีไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้ารวน ไฟฟ้าวิ่งวนในหัวใจ ก็อาจจะรักษาได้ด้วยยาหรือรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้า

--------------------------------------

👉 การจี้ไฟฟ้าหัวใจผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง
การจี้ไฟฟ้าหัวใจผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง จะทำโดยการใส่สายเข้าไปที่ขาหนีบของคนไข้ สอดไปที่หัวใจเพื่อจับสัญญาณไฟดูว่าสัญญาณไฟที่เต้นผิดจังหวะนั้นมีความผิดปกติ หรือลัดวงจรตรงไหน เราอาจจะมีการใช้ไฟอ่อนๆกระตุ้น หรือมีการใช้ยากระตุ้น เพื่อให้เห็นว่ามีการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรตรงไหนแล้วสามารถแก้ไขได้หรือไม่ ซึ่งการรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ จะต้องดูตามชนิดว่าเป็นการเต้นผิดจังหวะแบบไหน เพราะหัวใจเต้นผิดจังหวะแต่ละแบบ ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป แต่โยส่วนมากแล้วก็จะอยู่ที่ประมาณ 90-95% ขึ้นไป และโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนมีน้อยเพียงประมาณ 1%

หลังการรักษา ส่วนมากจะพบว่าคนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการที่ดีขึ้นกว่าเกิด เช่น อาการใจสั่นที่เคยเป็นเยอะ ก็จะเป็นน้อยลง หรืออาจหายขาดได้เลย

--------------------------------------

หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลม หรือใจสั่น ก็อยากให้มาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และเพื่อการรักษาได้ทันเวลา

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลนครธน
พญ.พัชรี ภาวศุทธิกุล (https://bit.ly/3zWXqB6)

--------------------------------------

📞 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 1 โรงพยาบาลนครธน
โทร. 0-2450-9999 ต่อ 1074-1075 (https://bit.ly/3cezkGQ)

📢 หากไม่อยากพลาดข่าวสารดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อย่าลืมกด ติดตาม' และ 'กดกระดิ่ง' 🔔 ด้วยนะคะ ^^

📢 หรือติดตามสาระความรู้เรื่องสุขภาพจากโรงพยาบาลนครธน ในช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
👉 Facebook :   / nakornthon  
👉 Line@ : https://goo.gl/rbuBMq
👉 Website : https://nakornthon.com/
👉 IG :   / nakornthon  

#NakornthonHospital #มั่นใจนครธน #โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке