มหานาคิณี : ฉาย l นาฏยศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Описание к видео มหานาคิณี : ฉาย l นาฏยศิลป์อีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โครงการศิลปะการแสดงนิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2563 ภายใต้ชื่อ "ฉาย" โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะการแสดง แขนงวิชานาฏยศิลป์อีสาน ร่วมกับสาขาดุริยางคศิลป์ แขนงวิชาดนตรีพื้นเมือง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แนวคิดและแรงบันดาลใจ
คณะผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจจากคำสลักที่แท่นเทวาลัยนางแอกไค้ ศาลาแก้วกู่ ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย โดยมีเนื้อเรื่องว่า พระเจ้าย่าทวดแอกไค้ (พระอุมาหรือพระสันติ) เป็นบรมราชินีของนาคพิภพ ตามวรรณคดีของอีสานกล่าวว่า ตอนพระนางแอกไค้ กับขุนเทือง ได้ร่วมรักกันที่อุทยานสวนดอกไม้ จากนั้นพระนางแอกไค่ได้นำขุนเทืองออกจาก อุทยานสวนดอกไม้ไปยังพิภพนาค ตามกฎมณเฑียรบาลของนาคพิภพแล้ว มนุษย์กับพญานาคจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ดังนั้นพระนางแอกไค้จึงนำเอาขุนเทืองไปซ่อนในปรางปราสาทเขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ดาวดึงส์พิภพ พระนางแอกไค้ได้พะเน้าพะนอสมสู่กับขุนเทืองนาน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จนทำให้พระนางแอกไค้ลืมเหตุแห่งกาลของตน (กาลสงกรานต์) ดังนั้นดินฟ้าอากาศเกิดแห้งแล้ง จึงทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วทั้งสามโลก จากนั้นพระนางแอกไค้จึงได้สำนึกตน รู้ว่าพระนาง ทำผิดกฎมณเฑียรบาลของสามโลก พระนางแอกไค้ได้บอกความจริงต่อขุนเทือง แล้วพระนางแอกไค้ จึงลงมาเล่นน้ำ และยังได้สั่งขุนเทืองไว้ว่า อย่าได้เปิดหน้าต่างหรือเปิดประตูดูตอนพระนางแอกไค้ เล่นน้ำ พอสั่งแล้วพระนางแอกไค้พร้อมบริวารก็ได้แห่ไปเล่นน้ำ ปฐพีเบื้องล่างเสียงตีน้ำดังตุ้ม ๆ สะเทือนทั่วแดน ขุนเทืองได้ยินเสียงเล่นน้ำเลยเปิดประตูหน้าต่างมองดูจึงรู้ว่าพระนางแอกไค้เมียตนเป็นพญานาค ตามวรรณคดีของภาคอีสานมาจนทุกวันน
จากแรงบันดาลใจข้างต้น คณะผู้สร้างสรรค์ได้เล็งเห็นเรื่องราวของนางแอกไค้พญานาคที่หลงรักขุนเทือง ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักความสัมพันธ์ระหว่างพญานาคกับมนุษย์ที่ไม่สามารถเป็นไปได้คณะผู้สร้างสรรค์จึงให้นำเรื่องราวนี้มาสร้างสรรค์เป็นดนตรีและการแสดงในชื่อชุด มหานาคิณี

ผู้สร้างสรรค์ผลงาน : นายฐิติพงษ์ คูณทวี
นางสาวพัชราภรณ์ แก้วสมบัติ
นางสาวศิริอร บุตรศรี
นางสาวพัสวี กาญจนลักษณ์
นายนันทวัฒน์ รินทาวุธ
นายกฤษดา วงษ์ชา
นายชาคริต ยอยงค์
นายพิทักษ์พงษ์ สิมมา
นายพีรวิชญ์ ปรีเปรม

แสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 ณ เวทีกลางแจ้งหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Комментарии

Информация по комментариям в разработке