วิธี ต่อหลอด led กับไฟบ้าน 220V ( Ver.ปลอดภัย ) ใช้ R ค่า....โอห์ม

Описание к видео วิธี ต่อหลอด led กับไฟบ้าน 220V ( Ver.ปลอดภัย ) ใช้ R ค่า....โอห์ม

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับคลิปนี้ เป็นคลิปสั้นๆ นะครับ
ไม่ได้มีการคำนวณ ค่าอะไรใดๆ
พอดีมีเพื่อนๆหลายๆ ถามเข้ามาเยอะ ว่า อยากที่จะต่อ หลอดไฟ LED เนี้ยะ เป็นไฟ แสดงสถานะ ใช้คู่กับไฟ
บ้าน AC 220V แต่ปัญหาก็คือแล้วจะต่อยังไง ละ
เพราะว่า ถ้าหากเอาไปมัด เชื่อมต่อกันตรงๆ
ยังไงๆ ไส้หลอด มันก็รับไม่ไหวครับ ขาดทันที
ปลั๊กไฟบ้าน ทั่วไป เขาก็เลยนิยมใช้
R 1 ตัว ต่ออนุกรม กับหลอดไปเลย แบบนี้ครับ
อย่างปลั๊กจีนตัวนี้ ใช้ค่า R ประมาณ 220Kohm
หลอดไฟ ก็จะสว่างครับ
แต่สังเกตุอะไรไหมครับ
R ตัวข้างๆ เริ่มเกรียมครับ R ตรงนี้ ที่จริงมันก็คือ R ที่มี ค่าแถบสี ค่าเดียวกัน
แต่มันทำงานอยู่ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน
มันก็เลยเกิดความร้อนสะสมครับ
สังเกตุว่า อีกนิดเดียว มันก็เกือบที่จะไหม้ อยู่แล้วใช่ไหมครับ
นับว่า เป็นปลั๊กไฟ ที่ถือว่าอันตรายมากๆ สำหรับการใช้งาน
ก็คือ ถ้าสมมุติวว่า R มันไหม้ แล้วดัน ไปแตะกับพาสติกสีดำ เมื่อไหร่
ก็ไม่อยากจะคิด อาจะเกิดหายนะ ไฟไหม้จากปลั๊ก แล้วลุกลาม ไปส่วนอื่นๆต่างๆของบ้าน อาจจะวอดทั้งหลังได้
เพราะฉะนั้น ผมแนะนำว่า แทนที่จะต่อ R 220 kohm 1 ตัว
เราลอง อนุกรมเพิ่มเข้าไปอีก 1 ตัว เป็น 2 ตัว ดูก่อนไหม
ค่าความต้านทานก็จะเพิ่มขึ้นสองเท่า กระแสก็จะวิ่งผ่าน R น้อยลง
แต่ แสงสว่างอาจจะน้อยหน่อย แต่ปลอดภัย มากกว่าเดิมมาก ครับ
แต่ถ้าต่ออนุกรม 3 ตัวได้ เลยยิ่งดี ถ้าหลอดไฟมันยังติดอยู่ ผมอยากให้ใช้ค่าความต้านทานที่ ค่ามากที่สุด
จะต่อ อนุกรมฝั่งไหนก่อน ก็ได้หมดเลยนะครับ เพราะว่า กระแสรวมยังไงๆก็วิ่งผ่านวงจร เท่าเดิม
และก็ แนะนำ ใช้ R ที่ค่า วัตต์ สูงกว่านี้ครับ ก็จะทนความร้อนได้ดีขึ้น
นี่คับ R อนุกรม 220K 3 ตัว ความสว่าง ดูจากด้านหลังลดลง กว่าเดิมชัดเจนครับ
แต่ถ้าอยู่ใน ช่อง ความสว่าง ก็แทบที่จะไม่ต่างกันเลยครับ
สรุปว่าสำหรับผม หลอด LED ที่ทำเป็นไฟแสดงสถานะ แผมจะใช้ค่าที่มากกว่า 400 kohm ขึ้นไปครับ
หรือจะซื้อ R ค่า 220K มาต่ออนุกรม 2 ตัวขึ้นไปก็ได้เหมือนกัน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке