บทสวดพระคาถาพุทธาภิเษก ปลุกเสก วัตถุมงคล ให้เข้มขลัง เสริมดวง เสริมชีวิตให้ดีขึ้น | ฟังธรรม

Описание к видео บทสวดพระคาถาพุทธาภิเษก ปลุกเสก วัตถุมงคล ให้เข้มขลัง เสริมดวง เสริมชีวิตให้ดีขึ้น | ฟังธรรม

ฟังเพื่อเป็นสิริมงคล
==================
พุทธาภิเษก คือ
ชื่อพิธีปลุกเสกพระพุทธรูป หรือวัตถุมงคล โดยมีกลุ่มพระเถระซึ่งเรียกว่า คณะปรก
นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์พระ หรือวัตถุมงคลนั้น ๆ เพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์
------------------------------------
บทสวดพระคาถาพุทธาภิเษก
สิกขาบทพุทธบริษัท
เล่าความพุทธธรรม ภาคต้น
และภาคปลาย

พิธี #พุทธาภิเษก
คือพิธีปลุกเสกพระพุทธรูปจำลอง
และรูปจำลองพระเกจิ อาจารย์ทั้งหลาย
.
พิธี #มังคลาภิเษก
คือพิธีปลุกเสกพระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ เช่น สมเด็จพระปิยมหาราช พลเรือเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นต้น
.
พิธี #เทวาภิเษก
คือพิธีปลุกเสกรูปจำลองเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น พระพรหม องค์ จตุคามรามเทพ พระพิฆเณศร์ เป็นต้น
.
บางกรณีนำวัตถุมงคลต่าง ๆ มาปลุกเสกในคราวเดียวกันก็มักเรียกพิธีรวมกันก็มี
เช่น พิธีพุทธมังคลาภิเษก พิธีพุทธเทวาภิเษก พิธีมังคลเทวาภิเษก เป็นต้น
.
ศัพท์ที่ใช้เรียกพิธีตามวัตถุมงคลต่างๆ
ดังกล่าวแม้จะไม่ตรงกับคำเดิมที่ให้ใช้คำว่า พิธีพุทธาภิเษก แต่พิธีการปฏิบัติเหมือนกันทุกพิธี
.
หลายท่านที่เคยได้เห็น ได้ฟังแล้วคิดว่านี้เป็นเพียงบทที่พระท่านสวด
ในพิธีเพื่อให้เกิดความขลังศักดิ์สิทธิ์
.
อำนวยอิทธิผลแก่วัตถุมงคล
และแก่ผู้รับวัตถุมงคลนั้นๆ
เพื่อไป บูชาเท่านั้น
.
แท้ที่สุดแล้วบทสวดนี้ ท่านโบราณาจารย์ ท่านประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธบริษัทได้สาธยาย ทรงจำและน้อมนำไปปฏิบัติ
.
แม้เพียงได้ฟัง ได้สาธยายสวดท่องบ่น จิตใจก็สงบรำงับ แต่เมื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติตามแล้ว
.
อิทธิผลเกิดแก่ตนยิ่งมหาศาล
ครูบาอาจารย์ท่านบอกเล่าถึงพระพุทธคุณ ๙ ประการ (เพื่อให้เรานำไปปฏิบัติ) ดังนี้
.
๑. (อะ) อะระหัง - (ทำใจอย่าให้เศร้าหมอง,ห่างไกลจากกิเลส)
๒. (สัง) สัมมาสัมพุทโธ – (พินิจตรองรู้ให้ได้โดยตนเอง)
๓. (วิ) วิชชาจะระณะสัมปันโน – (ใช้ชีวิตประพฤติตนด้วยความรู้ที่ถูกต้อง)
๔. (สุ) สุคะโต - (คิดเห็นและไปสู่สถานที่ดีๆ)
๕. (โล) โลกะวิทู อะนุตตะโร - (เรียนรู้ความเป็นจริงของโลกให้ได้)
๖. (ปุ) ปุริสะทัมมะสาระถิ - (เป็นผู้นำในการฝึกฝนตนเองและผู้อื่น)
๗. (สะ) สัตถา เทวะมะนุสสานัง - (เป็นเพื่อนเป็นครูให้แก่มนุษย์ด้วยกันและเทวดา ไม่กล่าวร้ายทำร้ายซึ่งกัน)
๘. (พุ) พุทโธ - (รู้ ตื่น เบิกบาน เห็นความเป็นจริงๆ ของสรรพสิ่งวางใจให้เป็นกลางได้ เท่าทัน ไม่หวั่นไหว)
๙. (ภะ) ภะคะวาติ - (มีส่วนร่วมในการเรียนรู้,ให้การเรียนรู้,ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน)
.
ต่อมากล่าวถึงพระบารมีที่
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงบำเพ็ญ เรียกกันว่า
“บารมี ๓๐ ทัศ” เป็นบารมี ๑๐ ประการที่ต้องกระทำให้ยิ่งขึ้น
.
ประการหนึ่ง มี ๓ ระดับ
คือระดับต้น ระดับกลางสูงขึ้นมา
และระดับสูงสุดเป็นปรมัตถบารมี ดังนี้
.
๑. ทานบารมี - (ให้ แบ่งปัน ด้วยใจยินดีทั้งก่อนให้ขณะให้และหลังจากได้ให้แล้ว)
๒. ศีลบารมี – (มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กฎหมายของสังคมไม่สร้างความขัดแย้ง
ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น)
๓. เนกขัมมะบารมี – (ประพฤติปฏิบัติในการสละออกซึ่งอกุศลทั้งปวง)
๔. ปัญญาบารมี – (เรียนรู้ให้เกิดความรู้รอบ รู้แจ้งเห็นจริงใช้ความรู้ที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต)
๕. วิริยะบารมี – (พากเพียรในการกระทำความดี สละความชั่วเพื่อทำชีวิตให้งาม และมุ่งมั่นในการงานของตน)
๖. ขันติบารมี – (อดทน ต่อสู้ต่ออุปสรรคในแนวทางที่ถูกต้อง)
๗. สัจจะบารมี – (เรียนรู้อยู่กับความเป็นจริง พูดจริง ทำจริงเห็นความจริงถูกต้อง)
๘. อธิษฐานบารมี – (ตั้งใจมั่นเพื่อเพียรกระทำในสิ่งต้องการเพื่อทำชีวิตให้มีสุขและสงบงาม)
๙. เมตตาบารมี – (มีความรัก ปรารถนาดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น)
๑๐. อุเบกขาบารมี – (วางใจเป็นกลาง เฝ้าใคร่ครวญ ระวัง หยุดมองเพื่อที่จักเดินไปข้าง เพื่อที่จักได้กระทำในสิ่งต่อไปๆให้ถูกต้อง มีความสุขด้วยธรรม)

หากเราพุทธบริษัททั้ง ๔ ได้เจริญรอยตามทั้งเจริญคำ
เจริญจริยะ รำลึกถึงพระพุทธคุณ รำลึกถึงพระบารมีแห่งพระพุทธองค์
น้อมนำมากระทำไว้ในชีวิตตนเองให้เกิดเป็น “บารมีในตน” จนแก่กล้า
“คุณและบารมี” นั้นๆ ก็จักส่งผลให้เราประสพอิทธิผล บังเกิด “ความขลัง ศักดิ์สิทธิ์”
ในเชิงประจักษ์แก่ตนเองโดยหาที่สุดประมาณมิได้
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าและธรรมของพระองค์นั้น
เป็น “นิสสังสะยัง” – มีความสงสัยออกแล้ว กล่าวคือ
พระพุทธองค์ “หมดความสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นแล้ว”
และธรรมแห่งพระองค์ไม่ต้องสงสัย
แล้ว ทั้งเมื่อเราน้อมนำมาปฏิบัติ
เราก็จักเป็น “นิสสังสะยะบุคคล”

ไม่มีความสงสัย ไม่มีความข้องหมองหม่น
ดำเนินชีวิตอยู่กับโลกด้วยสุขกายใจ
โดยไม่ต้องลงทุนทางการเงินอย่างมากมาย

พุทธาภิเษก ในแง่ของเจตนารมณ์ เราจะพบว่า คือการประชุมกันเพื่อตกลงยอมรับวัตถุที่นำเข้าสู่พิธี
ให้เป็นวัตถุที่เคารพสักการะ เป็นเครื่องหมายแห่ง ขวัญ กำลังใจ และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลือมใส
ของคนที่ยอมรับถือสมมุติสัจจะเหล่านั้น ทำนองเดียวกับเงื่อนไขต่างๆ เช่น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ประธานาธิบดีเป็นต้น
ตำแหน่งของท่านเหล่านั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมือ ได้ผ่านกรรมวิธี ขั้นตอนตามหลักการที่กำหนดไว้
ท่านจะเป็นอะไรมาก่อนไม่สำคัญ แต่เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆที่กำหนดขึ้นกันโดยถูกต้องแล้ว
ทุกคนจะต้องยอมรับนับถือ ฐานะที่สมมุติแต่งตั้งกันนั้น
พุทธาภิเษก ก็มีลักษณะอย่างนั้น เดิมที่เดียววัตถุนั้นเป็นเพียงทองเหลือง ทองแดง นาค เงิน ทราย เหล็กเป็นต้น
นายช่างที่ดีจะทำการหล่อ แกะ สลัก ปั้น จึงถือว่าตอนนั้นไม่เป็นพระพุทธรูป เขาจึงสามารถทำหน้านี้ในการตบแต่งได้
เมื่อผ่านพิธีแล้ว คืออภิเษกวัตถุนั้นเป็นพระพุทธปฏิมา
กำหนดหมายว่ารูปแทนพระพุทธเจ้าถูกต้องตามกรรมวิธีที่กำหนด
ศาสนิกชนที่ดีต้องยอมรับสมมุติสัจจะเหล่านี้
======================
#ฟังในรถ #ฟังก่อนนอน #ฟังเพลิน

🙏 #buddhist #buddhism #buddha #BuddhaLove #Dhamma #Dharma

Комментарии

Информация по комментариям в разработке