แบบจำลองอะตอมรัทเทอร์ฟอร์ด

Описание к видео แบบจำลองอะตอมรัทเทอร์ฟอร์ด

รัทเทอร์ฟอร์ด ได้ทดลองยิงอนุภาคแอลฟา() ซึ่งได้จากการสลายตัวของอะตอมฮีเลียมไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ แล้วสังเกตการเบี่ยงเบนของรังสี
ผลการทดลอง
อนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่จะเดินทางเป็นเส้นตรง ส่วนน้อยจะมีการเบี่ยงเบนทิศทาง และนาน ๆ ครั้งจะมีการสะท้อนกลับอย่างแรง
สรุปผลการทดลอง
ส่วนใหญ่จะเดินทางเป็นเส้นตรง แสดงได้ว่าภายในอะตอมจะต้องมีที่ว่างมากมาย
ส่วนน้อยจะมีการเบี่ยงเบนทิศทาง แสดงว่าภายในต้องมีอนุภาคที่เป็นบวกอยู่แต่มีขนาดเล็กนิดเดียว
นาน ๆ ครั้งจะมีการสะท้อนกลับอย่างแรง แสดงว่าต้องมีอนุภาคที่มีมวลมากแต่มีขนาดเล็กรวมกันเป็นกลุ่มอยู่ภายในอะตอม
จากการทดลองซึ่งรัทเทอร์ฟอร์ดทำเพื่อยืนยันแบบจำลองอะตอมของทอมสันที่ว่า "โปรตอนและอิเล็กตรอนกระจายทั่วอะตอม" ซึ่งเขาตั้งสมมติฐานว่า ถ้าแบบจำลองอะตอมของทอมสัน ถูกต้อง อนุภาคแอลฟาควรจะมีการสะท้อนกลับในเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก แต่เมื่อเขาได้ทำการทดลอง และผลการทดลองออกมาขัดแย้งกับแบบจำลองอะตอมของทอมสัน เขาจึงได้สร้างแบบจำลองอะตอมใหม่
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด = โปรตอนซึ่งมีประจุบวกรวมกันอยู่อย่างหนาแน่นตรงกลางอะตอมมีมวลมากแต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับปริมาตรของอะตอม ส่วนรอบนอกจะมีอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบมีมวลน้อยมากเมื่อเทียบกับประจุบวก วิ่งวนรอบนิวเคลียส จึงทำให้อะตอมมีที่ว่างมากมายระหว่างโปรตอนกับอิเล็กตรอน
หลังจากที่เจมส์ แชดวิก พบนิวตรอนซึ่งไม่มีประจุ จึงพบว่า โปรตอนกับนิวตรอนอยู่รวมกันตรงกลางอะตอมเรียกว่านิวเคลียส ส่วนอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียส

#แบบจำลองอะตอม
#รัทเทอร์ฟอร์ด

Комментарии

Информация по комментариям в разработке