ที่นี่บ้านเรา “บอนนิเซราะยืง” - ธณาวินท์ สินเติม Feat.ศิวกร แก่นสน

Описание к видео ที่นี่บ้านเรา “บอนนิเซราะยืง” - ธณาวินท์ สินเติม Feat.ศิวกร แก่นสน

เพลง: ที่นี่บ้านเรา “บอนนิเซราะยืง”
ศิลปิน: ธณาวินท์ สินเติม และ ศิวกร แก่นสน
เนื้อร้อง/ทำนอง: โรจน์ศักดิ์ นางาม
เรียบเรียงดนตรี: อาทิตย์ กระจ่างศรี
ซอ: ธนโชติ ท่าดี
บันทึกเสียง: Artit Studio
Mixed&Mastered: อาทิตย์ กระจ่างศรี
Video Record: อภิสิทธิ์ แสงโรชา
Video Edit: ภัทรพีร์ ตั้งพงษ์
___________________________________

**แรงบันดาลใจ**
บทเพลงนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากความรู้สึกของชาวบ้านชุมชนบ้านขาม-เป็นสุข อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ โดยโครงการ "Art for All ศิลป์ มข สร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบ" ซึ่งมุ่งภารกิจด้าน CSV [Creating Share Value] ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นการทำงานแบบบูรณาการศิลป์ และเชื่อมต่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับชุมชนอีสาน การผสานอาจารย์ + นักศึกษา + ชาวบ้าน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการสร้างงานศิลปะหลากแขนด้วยกัน โครงการนี้ได้เข้าไปพัฒนาชุมชนโดยใช้องค์ความรู้ด้านศิลปะแขนงต่างๆเช่น การละคร นาฏศิลป์พื้นเมือง ภาพยนตร์ และดนตรี ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานการสร้างสรรค์ดนตรีโดยนำเสนอเรื่องอาหารของชุมชนที่มีชุมชนอยากนำเสนอ ผู้สร้างสรรค์ได้เก็บข้อมูลโดยการเข้าไปสอบถามกับชาวบ้าน เข้าไปหัดทำอาหารกับชาวบ้านตั้งแต่การหาวัตถุดิบจนถึงกระบวนการทำ
**แนวคิด**

คำถามคือ "เราต้องการที่จะนำเสนอชุมชนนี้ให้คนภายนอกรู้จักผ่านอาหารได้อย่างไร และในทางดนตรีนั้นจะนำเสนอในมุมไหน " ซึ่งระหว่างที่ผู้สร้างสรรค์ได้หัดทำอาหารอยู่นั้นชาวบ้านได้บอกว่า เวลาทำอาหารนั้นจะคิดถึงคนในครอบครัวตลอด “บางครั้งทำไปร้องไห้ไปด้วยเพราะอยากให้มากินด้วยกัน”
ผู้สร้างสรรค์จึงเห็นว่ามุมมองนี้สำคัญมากและคนที่จากบ้านไปไกลเองก็คงอยากจะกลับบ้านมาทานอาหารกับครอบครัว อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตากันคงจะมีความสุขมากๆ คิดถึงบรรยากาศเก่าๆ คิดถึงเพื่อน วัฒนธรรมประเพณี อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสรรค์คือ หากเป็นเพลงพื้นบ้านและภาษาถิ่นทั้งหมดคนทั่วไปก็คงจะฟังไม่รู้เรื่อง ผู้สร้างสรรค์จึงได้นำเสนอดนตรีดนตรีกันตรึมผสมผสานกับดนตรีตะวันตก ใช้ภาษาไทยเป็นหลักแต่มีภาษาถิ่นด้วยเพื่อยังคงเอกลักษณ์ไว้ โดยเลือกใช้ซอกันตรึมเป็นเครื่องนำเพื่อสื่อถึงชาวเขมรถิ่นไทย บรรยากาศของพื้นที่อีสานใต้ ขณะเดียวกันได้ใช้ Violin และ Cello ในการสอดประสานเพื่อให้เกิดความรู้สึกห่วงหา คิดถึง และสื่อถึงยุคสมัยใหม่จากตะวัตกเข้ามาด้วย

**ฟังแล้วคิดเห็นอย่างไร คอมเม้นได้นะครับ**

Комментарии

Информация по комментариям в разработке