The Village Trail งานวิ่งเทรลในชุมชน ชนเผ่าพื้นเมือง

Описание к видео The Village Trail งานวิ่งเทรลในชุมชน ชนเผ่าพื้นเมือง

นี่คือสารคดี The Village Trail งานวิ่งเทรลในชุมชน ชนเผ่าพื้นเมือง ที่จัดทำขึ้นเพื่อรณรงค์ความเป็นธรรมทางเพศ หรือ Run for Gender Justice ในวันผู้หญิงสากล 2024 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมแคมเปญระดับโลก One Billion Rising

The Village Trail คือ
งานวิ่งเทรลในหมู่บ้านชนเผ่าพื้นเมือง ที่จัดขึ้นโดยและเพื่อชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะผู้หญิง เด็ก และบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยทีม Chiang Mai Frontrunners ภายใต้มูลนิธิ Sangsan Anakot Yawachon ร่วมกับเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง ชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยการสนับสนุนของ Foundation for a Just Society

The Village Trail Zero Edition
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์ความเป็นธรรมทางเพศ ในวันผู้หญิงสากล จัดขึ้น ณ ชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง บ้านทิยาเพอ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

จัดโดย ทีมนักวิ่งชนเผ่าพื้นเมืองและ/หรือ ชนกลุ่มน้อย ที่เป็นบุคคลหลากหลายทางเพศ Chiang Mai Frontrunners (สมาชิก International Frontrunners) ภายใต้มูลนิธิสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน ร่วมกับชุมชนบ้านทิยาเพอ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นแกนนำในชุมชน แกนนำกลุ่มผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง/สร้างสรรค์ผ้าทอลายโบราณย้อมสีธรรมชาติ-บ้านทิยาเพอ ผู้นำชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองบ้านทิยาเพอ โรงเรียนบ้านทิยาเพอ อสม. อนามัยและอบต.สบเมย โดยการสนับสนุนของ Foundation for a Just Society

The Village Trail Principles
หลักในการจัดวิ่งเทรลในชุมชน ชนเผ่าพื้นเมือง”
1. เป็นการวิ่งเทรลที่จัดโดยและเพื่อผู้หญิง เด็ก และบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (A Trail Running race by and for women, children and People with Diverse SOGIESC)
2.ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ของชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง (Participatory Approach)
3. ชุมชน ชนเผ่าพื้นเมืองมีความอิสระในการให้ฉันทามติ ซึ่งได้รับการบอกแจ้ง ให้ทราบล่วงหน้า (Free, prior, and informed consent – FPIC)
4. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองสิทธิชนเผ่า
พื้นเมือง (Indigenous Rights)
5. เป็นมิตร และสร้างความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate and Environmental Justice)
6. รณรงค์ส่งเสริมความเป็นธรรมทางเพศและทางสังคม (Gender and Social Justice)
7. ไม่เน้นการแข่งขัน แต่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการสร้างวัฒนธรรมแห่งการดูแลกัน จนไปถึงเส้นชัย (Collective care and Safety)
8. ส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม (Collective well-being)
9. ต่อต้านการคุกคามทางเพศ (Anti Sexual Harassment)

เราเชื่อมั่นว่ากีฬาวิ่งเทรล คือ กีฬาที่มีความเป็นชุมชน ซ้อมและฝึกฝนเป็นกลุ่ม สามารถนำมาซึ่ง collective wellness ได้

นักวิ่งเทรลมักมีประสบการณ์ที่ต้องฝึกฝนตนเองเพื่อเรียนรู้ข้อจำกัดและความพยายามที่จะข้ามผ่าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ มิติทางเพศและสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ

บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิงและเด็ก โดยเฉพาะที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง ในพื้นที่ของการวิ่งเทรล ยังมีช่องว่างในการเข้าถึงการวิ่งเทรลอยู่มาก เพราะมักเผชิญข้อจำกัดที่มาจากความอคติ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และพื้นฐานเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเพศ รวมทั้งความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุน ทำให้ขาดโอกาสและเข้าไม่ถึงประสบการณ์ในการวิ่งเทรล

การวิ่งเทรล ถือเป็นกีฬาที่มีประโยชน์ในตัวของมันเองอย่างมาก แต่คนที่สนใจวิ่งอย่างจริงจัง เพื่อเป็นอาชีพ ยังเผชิญกับข้อจำกัดเพราะขาดการสนับสนุนส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองให้เป็นอาชีพจากทั้งจากรัฐและภาคธุรกิจจึงส่งผลให้กีฬาวิ่งเทรลซึ่งมีต้นทุนสูง ถูกจำกัดไว้เพียงคนที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ต้องรณรงค์สร้างการเปลี่ยนแปลง

เพราะสำหรับคนทั่วไป การวิ่งเทรลสามารถมีเป้าหมายที่แตกต่างหลากหลายของแต่ละคน แต่ยืนอยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือ ประสบการณ์การฝึกฝน และเรียนรู้ที่จะก้าวย่างบนทางเทรลอย่างมีความหมายทั้งอาจจะเพื่อตนเองและหรือ/ผู้อื่น จึงเป็นเรื่องที่เศร้ามาก หากการวิ่งเทรลถูกจำกัดด้วยความเป็นชาติพันธุ์ เศรษฐกิจ เพศ/อัตลักษณ์ทางเพศ อายุ และหรือสถานะทางเศรษฐกิจ

พื้นที่วิ่งเทรล ทำให้เราสามารถตระหนักถึงความเป็นธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนสิทธิชนเผ่าพื้นเทือง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ มีทั้งป่า-เขาและยังมีวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งในประเทศไทย งานวิ่งเทรลทั้งหลายมักจัดขึ้นบนผืนแผ่นดินของชนเผ่าพื้นเมือง หรือชาติพันธุ์กลุ่มน้อย ที่กำลังเผชิญกับข้อท้าทายไม่ว่าจะเป็นถูกจำกัดสิทธิที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราจึงอยากให้งานวิ่งเทรลมีแง่มุมเหล่านี้

ทั้งหมด คือ เหตุผลที่เราจัด Village Trail ขึ้น
และหมู่บ้านแรกที่เราจัดคือ บ้านธิยาเพอ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน ทั้งผู้หญิง เด็ก และสมาชิกในชุมชนที่สนับสนุนความเป็นธรรมทางเพศ ด้วยระยะทาง 7 กิโลเมตร กับวิวหลักล้าน ที่อาจหายวับไปกลับตาถ้ามีโครงการผันน้ำยวม

เราคาดหวังว่าจะไปจัดในอีกหลายๆ หมู่บ้าน อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ซึ่งเราจัดงานวิ่งให้ชุมชนโดยไม่มีค่าสมัคร แต่มีของที่ระลึกเป็นเสื้อรณรงค์สำหรับนักวิ่งในชุมชนทุกคน นอกเหนือจากการมีอาหารพื้นถิ่นสำหรับผู้เข้าร่วม

เรายืนยันที่จะพัฒนา village Trail ให้เป็นเทรลโดยและเพื่อชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะผู้หญิง เด็ก และบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ในอนาคตเราพร้อมมากกว่านี้จะชวนเพื่อนๆมาวิ่งด้วยกันนะคะ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке