งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569

Описание к видео งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569

ด้วยจังหวัดอุดรธานี มีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นอย่างหนึ่ง คือ พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) หรือที่ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “ป่าบุ่ง ป่าทาม” ที่มีอยู่กว่า 900 จุด ชาวอุดรธานีและชาวอีสานมีความผูกพันธ์กับ ป่าบุ่ง ป่าทาม มาเป็นเวลาช้านานในด้านการดำเนินชีวิต ตั้งแต่การทำกินโดยการปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ ปลูกผักผลไม้ จนถึงการหาอาหารธรรมชาติ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ พืชผักธรรมชาติ การหาฟืนถ่าน หรือเป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์ ซึ่งความสัมพันธ์อันแนบแน่นและเกื้อกูลกันระหว่าง “คน น้ำ และพืช” ความสัมพันธ์ที่พึ่งพา อาศัยกัน และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล นำมาสู่ แนวความคิด “Diversity of Life: Connecting people,water,and plants for sustainable living: ความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต: สายสัมพันธ์แห่งผู้คน สายน้ำ และพืชพรรณ สู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน”ผ่านพื้นที่หนองแดในเนื้อที่ 1,030 ไร่ ซึ่งเป็นเวทีและเรื่องราวที่จะแสดงถึงการหลอมรวมเป็นหนึ่งของวิถีชีวิต และธรรมชาติ ยกระดับวิถีชุมชนและถ่ายทอดอัตลักษณ์ของชุมชนต่อยอดไปสู่แนวคิดวิถีชีวิตสีเขียว (Green Living) ที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลของ “มนุษย์” ในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติที่มีความหลากหลายอย่างยั่งยืน
โดยการนำเสนอวิถีการใช้ชีวิตกับพืชพรรณและสายน้ำ การอยู่ร่วมกัน อาศัยพึ่งพากันระหว่างคนกับธรรมชาติ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพัฒนาต่อยอด ซึ่งไม่จำกัดอยู่แค่ในด้านพืชสวนเท่านั้น แต่รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้านการสร้างสรรคเมืองสีเขียว การถนอมสมดุลระหว่างการใช้ชีวิต แหล่งน้ำและพืชพรรณให้สอดคล้องกับโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ BCG Model เศรษฐกิจชีวภาพ ระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจสีเขียวสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
กล่าวโดยสรุป แนวคิดของการออกแบบพื้นที่จัดงานโดยรวม คือ WATER,PLANTS&PEOPLE วิถีชีวิต กับ สายน้ำ และพืชพรรณ
BIODIVERSITY The Origin of CULTURAL DIVERSITY ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นบ่อกำเนิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม

มหกรรมพืชสวนโลก คือเวทีจัดแสดง
พืชพรรณ ความหลากหลายทางชีวภาพ
องค์ความรู้ทางการเกษตร นวัตกรรมพืชสวน
ต่อยอดความยั่งยืน BCG MODEL และมรดกทางวัฒนธรรมที่มั่งคั่ง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке