'สุรเชษฐ์' งัดเอกสารแบบก่อสร้าง ฝายแกนดินซีเมนต์ โต้ 'วิสุทธิ์' ท้ากราบถ้าเจอหลักฐานยืนยัน

Описание к видео 'สุรเชษฐ์' งัดเอกสารแบบก่อสร้าง ฝายแกนดินซีเมนต์ โต้ 'วิสุทธิ์' ท้ากราบถ้าเจอหลักฐานยืนยัน

'สุรเชษฐ์' งัดเอกสารแบบก่อสร้างฝายแกนดินฟ้องโซเชี่ยล หลัง 'วิสุทธิ์' ท้าจะไปกราบ ถ้าเจอแบบสร้างฝายสูง 2 เมตรจริง ไส้ในเอกสารมีครบ พบแบบ 1-2 เมตร ด้านคอมเมนต์เลิ่กลั่ก เป็นห่วงประธานวิปรัฐบาลท้ากลาง “กรรมกรข่าวคุยนอกจอ” บอกเอาไงดีละเนี่ย

จากกรณี เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธานวิปรัฐบาล ได้ทวีตข้อความระบุว่า

[ ความสะใจของพวกคุณในวันนั้น คือความเดือดร้อนของประชาชนในวันนี้...]

ไม่ต้องถามว่า นายกฯจะลงพื้นที่น้ำท่วมเมื่อไร? เพราะหากบางพรรคไม่ได้ตัดงบฯฝายแกนซีเมนต์ของเพื่อไทยทิ้งทั้งหมดจาก พรบ.งบฯ ‘67 ก็คงสามารถป้องกันให้น้ำไม่ท่วมจนไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่.. ใช่ไหมครับ? #น้ําท่วมภาคเหนือ

พร่อมทวีตภาพ เป็นภาพของ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร กำลังเดินพร้อมดีดดิ้น ออกจากสภาฯ

ซึ่งผลการประชุมในวันที่ 23 สิงหาคม พรรคเพื่อไทยได้มีการโหวตเอาตามเสียงข้างมากของกรรมาธิการฯ คือตัดงบออกไป

ซึ่งนายวิสุทธิ์ให้เหตุผลว่า ถ้าไม่ตัดงบออกไป มันจะไปกระทบกับงบของมหาดไทย ขณะที่พรรคประชาชน บอกว่า ไม่เกี่ยว ทำไมไม่เอากลับมา

วานนี้ (26 ส.ค. 67) นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข้อพิพาทระหว่าง นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่คัดค้านการสร้างฝายแกนซีเมนต์ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมภาคเหนือหนัก ซึ่งมติในวันนั้น ฝ่ายรัฐบาลได้โหวตให้ตัดงบในส่วนนี้ไป

นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องรู้สึกขุ่นข้องหมองใจ เพราะปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่ยาวนานกว่า 30-40 ปีมาแล้ว จนกระทั่งมาพบแนวทางการสร้างฝายของอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเห็นว่ามีประโยชน์มาก อีกทั้งมีการทดลองทำจากงบประมาณของหน่วยงานเอกชนที่บริจาคให้ และเงินของประชาชน จึงรู้สึกเสียใจมากที่งบประมาณส่วนนี้ถูกตัดไป

ขณะที่ในรายการกรรมกรคุยนอกจอ นายวิสุทธิ์ ได้ดีเบตกับนายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โดยนายวิสุทธิ์ ระบุว่า อยากให้นายสุรเชษฐ์ ไปศึกษาคำว่าฝาย ซึ่งเค้าก็เขียนไว้ตลอดว่าฝายชะลอน้ำ ลองไปถามชาวบ้านลองไปถามนักวิชาการ ทุกคนคงจะรู้จักคำว่าฝายชะลอน้ำ หน้าแล้งมันก็จะกักน้ำให้ชาวบ้านเอาไปใช้ และมันก็รวมทั้งชะลอน้ำป้องกันในน้ำหลาก ตนก็ไม่ได้ เป็นวิศวกร เหมือนบางคนแต่ผมก็ทราบว่าโทรศาสตร์มา ก็รู้แต่การคำนวณน้ำไหลอย่างไร แต่ต้องเข้าใจดีว่าฝายชะลอน้ำ มันมีวัตถุประสงค์หลายอย่างไม่ใช่แค่ป้องกันน้ำแล้งอย่างเดียว

ด้าน สุรเชษฐ์ ระบุว่า ผมอธิบายง่ายง่าย คำว่าฝายมันก็มันคือกำแพงตั้งขวางทางน้ำไว้ หน้าที่หลักคือการยกระดับน้ำให้สูงขึ้น เพื่อให้มันล้นออกจากฝาย และจุดประสงค์ของการตั้งงบขึ้นมามันก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งขณะที่ใช้ ซึ่งงบที่ตั้งมาครั้งนี้มันเพื่อแก้แล้งเป็นหลัก ซึ่งก็อาจจะช่วยในตอนน้ำท่วมได้บ้าง แต่มันช่วยได้ไม่มาก ถ้าน้ำมามากขนาดนี้ฝายที่สร้างขึ้นมามันก็พังทลาย พอเวลาพังคอนกรีตที่สร้างมันก็จะหลุดเป็นชิ้นชิ้น คล้าย ๆ กับเขื่อนแตกเลย มันก็จะส่งผลไปทำลายบ้านเรือนของประชาชน แต่ถ้าหากเรามองว่ามันไม่พังการยกระดับน้ำ สูงขึ้นคนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับฝายก็จะส่งผลให้น้ำท่วมบริเวณนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนท้ายน้ำก็จะเจอน้ำท่วมแรงมากขึ้น เนื่องจากมีฝายชะลอน้ำยกน้ำให้สูงมันก็มีแรงของน้ำที่เพิ่มมากขึ้นไปด้วย สรุปคือมันแย่กว่าเดิม

นายสุรเชษฐ์ ระบุว่า การที่เจาะไปใต้ดินสามถึง 4 เมตร มันคนละเรื่องกันอันนั้นเพื่อความแข็งแรง ส่วนคอนกรีตที่ยกขึ้นจากท้องน้ำ ความจริงไม่ใช่ว่าไม่เกิน 1.5 เมตร ซึ่งแบบที่เขียนมามันคือเสื้อโหล S M L โดยเขียนไว้กว้างกว้างว่าหนึ่งถึงสองเมตร สูงสุดคือ 2 เมตร ตัวเลข 1.5 เมตรคือขนาดกลาง ส่วนผลที่กระทบต่อการยกน้ำขึ้นมา จากปกติปกติถ้าไม่มีสายระดับของแม่น้ำแม่น้ำก็อยู่ที่ศูนย์ หรือใกล้ศูนย์ กลับกลายเป็นว่าระดับน้ำถูกยกขึ้น ทำให้น้ำมีพลังงานมากขึ้นอีก 2 เมตร พูดง่ายง่ายก็คือ ถ้าหากเกิดน้ำหลาก คนที่อยู่บริเวณฝาย จะเป็นอย่างไรเป็นผลดีหรือผลเสียต่อชาวบ้าน

ส่วนประเด็นที่จะมีการรับประกันผลงานกี่ปี นายวิสุทธิ์ระบุว่า ในสัญญาก็ถูกระบุว่ามีขั้นต่ำรับประกันไว้สองปี แต่ว่าจะรับประกันสองปีถึงห้าปีก็ได้ผมรับประกันด้วยชีวิตของผม ซึ่งหากจะทำแบบนั้นก็สามารถขออนุมัติงบกลางได้เลย เพราะว่าแบบแผนก็มีอยู่แล้ว สถานที่ 3,000 กว่าแห่งก็มีอยู่แล้ว ก็รอนายกอนุมัติงบประมาณ แล้วการเขียนสัญญาก็ต้องระบุระบุไว้อย่างชัดเจนว่ารับประกันผลงานสองปี

ส่วนประเด็นว่า พอมีการแต่งตั้งนายกก็ให้ไปของบประมาณจากงบกลางเพื่ออนุมัติก่อสร้างแล้วให้มีการเขียนในสัญญาว่ามีการประกันผลงานห้าถึง 10 ปีนั้น คุณวิสุทธิ์บอกว่า ตามกฏหมายมันไม่สามารถทำได้ขนาดการก่อสร้างสนามบินก็มีการรับประกันเพียงสองปีเท่านั้น แต่ถ้ามีการรับประกันมากถึงห้าปีมันจะออกพิสดารไปหรือเปล่าส่วนที่ตัวเองพูดว่าจะรับประกันห้าปีนั้นคือ ตนเองไปเห็นมามันก็ไม่ได้พัง

ซึ่งการเขียน TOR มันเป็นเรื่องหน่วยหน่วยงานที่ออกการเขียนของบประมาณ ไม่มีใครเค้าเขียน TOR มาประกบกันหรอก มันมีโครงการไหนที่เค้าเขียนมา ส่วนการก่อสร้างก็ต้องเป็นหน่วยงานส่วนท้องถิ่นเขียนทีโออาร์ออกมาเพื่อรับประกันผลงานที่มีการก่อสร้างเค้าก็ต้องเขียน



อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://ch3plus.com/news/political/mo...
-------------------------
#เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning News)

วันที่ 27 สิงหาคม 2567
ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารก่อนใครได้ที่นี่
ch3plus : https://ch3plus.com/news/programs/mor...
facebook :   / morningnewstv3  
Twitter :   / morningnewstv3  
YouTube : https://cutt.ly/MorningnewsTV3
Tiktok :   / morningnewsch3  

#3PlusNews #ข่าวช่อง3 #สรุยทธ #ไบรท์

Комментарии

Информация по комментариям в разработке