กลัวธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร ? ลองฟังคลิปนี้ครับ | ภาษี ON LINE EP.2

Описание к видео กลัวธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร ? ลองฟังคลิปนี้ครับ | ภาษี ON LINE EP.2

กลัว #ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร มากเลย ทำยังไงดี ฟังคำตอบในคลิปนี้กันดูครับผม

ก่อนอื่นอธิบายแบบนี้ก่อนครับ คำว่าธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากรคืออะไรกันแน่

คำว่าธนาคารในที่นี้ ไม่ใช่ ธนาคารอย่างเดียวนะครับ แต่หมายความรวมถึง สถาบันการเงิน และ ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Wallet) แต่ขออนุญาตเรียกรวมกันว่า ธนาคาร จะได้เห็นภาพก่อน

กฎหมายฉบับนี้ที่เริ่มบังคับใช้จริงจังปี 2563 โดยให้แต่ละธนาคารเก็บข้อมูลแบบเต็มปี (มกราคม - ธันวาคม) ถ้าหากมีจำนวนครั้งถึงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ธนาคารแต่ละที่ก็จะส่งให้กับสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปี 2564 เก็บข้อมูลตั้งแต่ มกราคม - ธันวาคม 2564 หากเข้าเงื่อนไข ก็จะส่งข้อมูลภายเดือนมีนาคม 2565 ครับ

เน้นว่า ธนาคารแต่ละธนาคาร แยกกันดู แต่ดูทุกบัญชีในธนาคารนั้น เช่น ธนาคาร A มี 5 บัญชี ดูทุกบัญชี ซึ่งเงื่อนไขที่จะถูกส่งข้อมูลก็คือ จำนวนครั้งเข้าบัญชี และ จำนวนเงินเข้าบัญชี โดยมีเงื่อนไข 2 กลุ่ม ตามนี้

1. แบบแรก นับจำนวนครั้งเข้าอย่างเดียว ถ้าเข้าทุกบัญชีในธนาคารนั้น รวมกันถึง 3,000 ครั้งในปี แบบนี้ส่งเลยไม่ดูจำนวนเงิน

2. แบบสอง นับจำนวนครั้งเข้าถึงและจำนวนเงินรวมถึง ต้องเข้าทั้งสองเงื่อนไข เน้นว่าสองเงื่อนไข คือ เข้าถึง 400 ครั้ง และยอดเงินเข้ารวมกันถึง 2 ล้านบาท

ดังนั้นถ้าเรามีหลายธนาคาร สิ่งที่ต้องดูคือ แต่ละธนาคารมันเข้าเงื่อนไขไหม ถ้าธนาคารไหนเข้าเงื่อนไขก็ถูกส่ง ซึ่งเงื่อนไขถ้าเข้าแบบใดแบบหนึ่งที่ว่ามา ก็จะถูกส่งครับ

ทีนี้หลายคนกลัวว่าจะถูกส่ง เลยไปเปิดหลายธนาคาร กระจายบัญชี สิงที่พรี่หนอมจะสรุปให้ฟังในประเด็นนี้ คือ เราต้องเข้าใจ คำว่า "ส่ง" "ตรวจ" และ "ยื่น" กันก่อนครับ

1. ส่ง คือ กฎหมายกำหนดให้ส่ง ไม่ได้แปลว่าจะตรวจสอบไหม อาจจะตรวจสอบก็ได้หรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการยื่นภาษีของเรา

2. ตรวจ คือ สรรพากรมีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลคนที่เสียภาษีไม่ถูกต้อง แปลว่าเขาอาจจะมีข้อมูลอื่นก็ได้ ไม่ใช่แค่การส่งข้อมูลของธนาคาร ซึ่งถ้าหากใครกระจายบัญชีไม่ถูกส่ง ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ถูกตรวจ และถ้าหากถูกตรวจ รับรองว่าหนักอยู่นะ

3. ยื่น คือ หน้าที่ยื่นภาษีครับ ใครมีรายได้ก็ต้องยื่นภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งถ้ายื่นไม่ถูกก็มีโอกาสถูกตรวจได้เช่นกัน

ดังนั้นคนที่กลัวถูกส่งข้อมูล พรี่หนอมอยากฝากข้อคิดไว้สั้น ๆ ว่า สิ่งสำคัญไม่ใช่การถูกส่ง แต่มันคือการทำข้อมูลให้ถูกต้อง เพราะต่อให้ถูกส่ง ถ้าเรามีข้อมูลที่ดีและถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นต้องกลัว แถมลดโอกาสการถูกตรวจสอบได้ด้วย

และสิ่งสำคัญจริง ๆ ของเรื่่องนี้ คือ การรู้ข้อมูลธุรกิจของเราครับ ว่าเรามีรายได้เท่าไร ค่าใช้จ่ายแบบไหน นี่คือการจัดการบัญชีที่ถูกต้องและสำคัญกว่าความกลัวที่เรามีต่อการถูกธนาคารส่งข้อมูลให้กับสรรพากรครับ

สุดท้ายนี้ ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นที่พรี่หนอมมีให้ต่อเรื่องนี้ ส่วนใครจะเลือกแบบไหน จะหนี จะหลบ จะไม่ส่ง อันนี้แล้วแต่ที่สบายใจครับ เพราะสุดท้ายคนที่ถูกตรวจสอบและรับความเสี่ยงคือตัวคุณครับ

พรี่หนอมทำรายการ #ภาษีONLINE เป็นรายการตอบปัญหาภาษีและแชร์เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการจัดการการเงินและภาษี เจอกันประจำก่อนใครได้ที่ Line OA @TAXBugnoms ครับ

มาเป็นเพื่อนกันได้ที่นี่ : https://lin.ee/Wl40cki

0:00 Intro
0:40 ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร
2:03 แยกเป็นรายธนาคาร หรือ รวมกัน
2:48 เงื่อนไขส่งข้อมูล (1)
3:17 เงื่อนไขส่งข้อมูล (2)
4:33 ไม่ถูกส่งไม่ใช่ไม่ถูกตรวจ
4:51 ความหมาย ส่ง-ตรวจ-ยื่น
7:22 สรุป

Комментарии

Информация по комментариям в разработке