การมองเห็นที่กลับหัว

Описание к видео การมองเห็นที่กลับหัว

ในการมองเห็นของเรานั้น รูปภาพที่ส่งมาภายในดวงตาผ่านแสงนั้นจะปรากฏออกมาในรูปที่เป็นภาพกลับหัวอยู่เสมอ ก่อนที่สมองของเรานั้นจะทำหน้าที่ในการประมวลผลทำให้เราเห็นภาพที่ไม่กลับหัวดังที่เราเห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการทำงานของเลนส์ตาของเรานั้นจะมีลักษณะในการทำงานดังนี้ นั้นคือ ภาพหรือวัตถุที่ถูกส่งมาด้วยแสงจะผ่านไปสู่จุดโฟกัสที่รวมแสงทำให้แสงจากวัตถุที่เข้ามามีความคมชัด และเซลล์รับแสงจะส่งกระแสประสาทให้สมองสามารถแปลภาพที่รับมาได้ ซึ่งจุดรับแสงในตาของคนเราก็เหมือนกับเลนส์ในกล้องทั่วไป ที่จะต้องมีจุดรวมแสงให้ตรงจุดโฟกัสให้ได้ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ "ความชัด"
โดยภาพที่อยู่ในจุดโฟกัสนั้นจะกลับหัว เพราะเลนส์ตาของคนเรานั้นจะมีเพียงชิ้นเดียวเป็นเลนส์นูน โดยแสงจะเดินทางผ่านแล้วทำให้เกิดภาพกลับหัวที่ retina ซึ่งจุดโฟกัสกับจุดรวมแสงคือ สิ่งเดียวกัน ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไม retina จึงกลับหัวก็เนื่องจากแสงที่ตกกระทบ retina นั้นเป็น "ภาพ" ขนาดเล็ก ที่ไปตกกระทบตรงจุดนั้นในภาพกลับหัว ซึ่งคนโดยทั่วไปที่มีสายตาปกติก็จะตกกระทบที่ retina พอดี เพื่อให้สมองที่รับสัญญาณแปลภาพเป็นภาพที่มองเห็นได้ตามปกติดังที่คนโดยอย่างเรานั้นเห็นกัน กล่าวคือ ไม่สั้น ไม่ยาว ไม่เบลอ เห็นได้เป็นปกตินั้นเอง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке