ลาวดวงเดือน

Описание к видео ลาวดวงเดือน

หากถามคนที่เดินผ่านไปผ่านมาบนถนนว่าให้ลองบอกชื่อเพลงไทยสักสองสามเพลง เชื่อว่าเพลงลาวดวงเดือนจะเป็นชื่อแรก ๆ ที่ได้รับคำตอบ เนื่องจากความนิยมของเพลงนี้มีความแพร่หลายเป็นอย่างมาก ครองใจคนในยุครัตนโกสินทร์มานับร้อยปี

ประวัติและที่มาของเพลงนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ดังที่ครูมนตรี ตราโมทและครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวถึงประวัติของเพลงนี้ไว้ในหนังสือ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ใจความว่า

" พระองค์ชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดา มรกฎ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕ ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อเสด็จกลับมาแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ และในปีวอก พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ พระชันษา ๒๘ ปี

กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมทรงสนพระทัยในดนตรีไทยเป็นอย่างมาก ถึงกับมี
วงปี่พาทย์วงหนึ่ง ที่เรียกกันว่า “วงพระองค์เพ็ญ” และนอกจากนี้แล้ว พระองค์ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถพระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงแต่เพลง “ลาวดวงเดือน” ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายมาจนในปัจจุบัน

ในสมัยปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ตามวังเจ้านายบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์และวัดวาอาราม ต่างก็มีวงปี่พาทย์ประจำ มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุง คิดประกวดประชันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพา” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง “วังบางขุนพรหม” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ก็มีวงปี่พาทย์ เรียกกันว่า “วงสมเด็จพระบรม” และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ก็มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งเรียกกันว่า “วงพระองค์เพ็ญ” แต่ละวงล้วนมีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือทัดเทียมกัน

กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมนั้น นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์เยี่ยงท่านเจ้านายวงอื่น ๆ แล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดีพระองค์หนึ่งด้วย กรมหมื่นพิชัย ฯ โปรดทำนองและลีลา “เพลงลาวดำเนินทราย” ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงลาว ที่อาจารย์ทางดนตรีได้เลียนทำนองมาจากการร้องสักวาของเก่าที่ชื่อว่า สักวาลาวเล็ก เป็นอันมาก เมื่อคราวที่เสด็จตรวจราชการ ( ดูเหมือนจะเป็นทางภาคอีสาน ) ซึ่งใช้เกวียนเป็นพาหนะ ระหว่างที่ประทับแรมอยู่ตามทาง จึงทรงแต่งเพลงให้มีทำนองเป็นสำเนียงลาวขึ้นเพลงหนึ่ง โดยมีลีลาแบบเพลงลาวดำเนินทราย เพื่อเป็นคู่กัน ประทานชื่อว่า “เพลงลาวดำเนินเกวียน” เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จนั้น

นอกจากจะทรงแต่งทำนองเพลงขึ้นแล้ว ก็ยังทรงพระนิพนธ์บทร้องประจำเพลงนี้ด้วย และเมื่อนำออกร้องและบรรเลง ก็ได้รับความนิยมจากวงดนตรีไทยอย่างแพร่หลาย แต่เนื่องจากบทร้องนี้ขึ้นต้นว่า “โอ้ละหนอดวงเดือนเอย” และตอนที่จบท่อน ก็มักมีคำว่า “ดวงเดือน” ผู้ที่ไม่รู้จักชื่อเพลงนี้ เมื่อต่อหรือจดจำมาร้องและบรรเลง หรือใครที่ได้ยินได้ฟัง ต่างเรียกเพลงนี้ว่า “ลาวดวงเดือน” กันทั้งนั้น แม้ท่านเจ้าของจะทรงตั้งชื่อไว้ว่า “ลาวดำเนินเกวียน” ก็ไม่มีผู้ใดเรียก ดังนั้นเพลงนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “ลาวดวงเดือน” จนทุกวันนี้"


** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญการ **

ผู้บรรเลงฆ้องวงใหญ่ : ปกป้อง ขำประเสริฐ
ฉิ่งและกลองแขก : เรียบเรียงในโปรแกรม FL Studio 20
Camera : Panasonic Lumix Gh4 with LUMIX G X VARIO 12-35mm / F2.8 II ASPH. / POWER O.I.S

Комментарии

Информация по комментариям в разработке