670907 เรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงาน “วันส้มโอขาวแตงกวา

Описание к видео 670907 เรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงาน “วันส้มโอขาวแตงกวา

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดงาน “วันส้มโอขาวแตงกวาและของดีศรีท้องถิ่น จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ 40 ประจำปี 2567” จังหวัดชัยนาท
วันนี้ 7 กันยายน 2567 ที่ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “วันส้มโอขาวแตงกวาและของดีศรีท้องถิ่น จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ 40 ประจำปี 2567” และมอบรางวัลการประกวดขบวนแห่ รางวัลการประกวดส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท และรางวัลการแข่งขัน การแปรรูปการประกอบอาหารจากส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท โดยมี นายนที มนตริวัต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท พร้อมด้วยอธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุทธยา ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี รองผู้ว่าราชการจังหวีดชัยนาท หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดชัยนาท กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรกรชาวสวนโอขาวแตงกวาร่วมพิธีฯ
นายนที มนตริวัต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา เป็นส้มโอพันธุ์ท้องถิ่นของจังหวัดชัยนาท มีประวัติการปลูก มากว่า 200 ปี มีคุณสมบัติพิเศษกว่าส้มโอพันธุ์อื่นๆ กล่าวคือ มีเนื้อมาก ตัวกุ้งใหญ่ กรอบ รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่ฉ่ำน้ำ เปอร์เซ็นต์ความหวานประมาณ 10 - 12 องศาบริกซ์ ทำให้ เป็นส้มโอที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วไปมาจนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันจังหวัดชัยนาทมีพื้นที่ปลูกอยู่ราว 2,645 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 1,700 ไร่ แหล่งปลูกสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอเมืองชัยนาท และ อำเภอสรรคบุรี โดยมีผลผลิตรวมอยู่ที่ประมาณ 5,109 ตันต่อปี มูลค่าการจำหน่ายกว่า 220.59 ล้านบาท งานวันส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2527 ที่อำเภอ มโนรมย์ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของพันธุ์ส้มโอขาวแตงกวา โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก เกษตรกรชาวสวนส้มโอ พ่อค้า ประชาชน ตลอดจนข้าราชการ สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ 40 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ตำนานส้มโอขาวแตงกวา อัตลักษณ์แห่งลุ่ม น้ำเจ้าพระยา นวัตกรรมเสริมเพิ่มคุณค่าสู่สากล” เป็นแนวคิดที่แสดงถึง ประวัติศาสตร์ และ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับส้มโอขาวแตงกวาที่มีมาอย่างยาวนานในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็น ที่รู้จักและเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ส้มโอขาวแตงกวาถูกปลูกและเจริญเติบโตอย่างดีใน บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยเฉพาะในจังหวัดชัยนาท ที่มีสภาพภูมิอากาศและดินที่เหมาะสม และส้มโอขาวแตงกวาชัยนาทยังเป็นสินค้า GI (Geographical Indication) ของจังหวัด ชัยนาท ที่มีคุณภาพและลักษณะเฉพาะที่เป็นผลจากภูมิประเทศและวิธีการผลิตของชัยนาท รวมถึงจังหวัดชัยนาทยังมีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของส้มโอขาวแตงกวาโดยการนำ เทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการผลิต การแปรรูป และการจัดการส้มโอขาวแตงกวา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผลผลิตให้เป็นที่ยอมรับในระดับ นานาชาติ ให้ส้มโอขาวแตงกวากลายเป็นสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียง สร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และเสริมรายได้ให้กับชุมชนและประเทศ
การจัดงานวันส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 6 - 16 กันยายน 2567 โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ขบวนแห่ส้มโอขาวแตงกวาของแต่ละอำเภอ การประกวด ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท การแข่งขันการแปรรูปการประกอบอาหารจากส้มโอขาวแตงกวา ชัยนาท การจัดจำหน่ายส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท การจัดจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดชัยนาท การแสดงนิทรรศการส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท รวมทั้งมี คาราวานสินค้า และการแสดงดนตรีของศิลปินในช่วงกลางคืน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มว่า จังหวัดชัยนาทได้ให้ความสำคัญกับส้มโอขาวแตงกวา โดยถือว่าเป็นผลไม้ที่เป็น เอกลักษณ์ประจำจังหวัดชัยนาท เนื่องจากมีรสชาติอร่อย เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วไป สามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการ จัดงานวันส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องติดต่อกันตั้งแต่ครั้งแรกในปี 2527 จนถึงปีนี้ รวมเป็นเวลากว่า 40 ปี ซึ่งจังหวัดชัยนาทได้สนับสนุนการขยายพื้นที่ปลูกส้มโอ ขาวแตงกวาเพิ่มขึ้นในทุกอำเภอ เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคที่มี แนวโน้มสูงขึ้นเป็นลำดับ และพัฒนาให้เกษตรกรที่ปลูกส้มโอ ได้ผลิตส้มโอให้เป็นสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษ จนสามารถปรับระบบการผลิตเป็นระบบที่มีมาตรฐานใน ระดับต่างๆ จนถึงมาตรฐานระดับ GAP (จี-เอ-พี) หรือที่เรียกว่าการผลิตการเกษตรที่ดีและ เหมาะสม เป็นการเพิ่มมูลค่า และสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สร้างความ เชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2549 และมีผลคุ้มครอง ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ให้มีการพัฒนาคุณภาพ กระตุ้นให้ผู้ผลิตเสริมสร้างและรักษา ภาพลักษณ์ของสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการป้องกัน การนำชื่อเสียงของสินค้าไปแอบอ้างแหล่งผลิตโดยมิชอบ
ส.ปชส.ชัยนาท

Комментарии

Информация по комментариям в разработке