เคยรวยอินทรีมาแล้ว!!! กลับมาอีกครั้งในรอบสามปี ตกปลาทะเล ไต๋ยอดชาย หัวหิน เขาตะเกียบ

Описание к видео เคยรวยอินทรีมาแล้ว!!! กลับมาอีกครั้งในรอบสามปี ตกปลาทะเล ไต๋ยอดชาย หัวหิน เขาตะเกียบ

หลังจากที่เคยได้ปลาอินทรี 25 ตัว!!! ไต๋ยอดชายจัดหนักจัดเต็มกันไปในทริปก่อน ผ่านมาสามป๊ได้กลับมาอีกครั้ง ทริปนี้สนุกมากๆ หลุดขาดเยอะกว่าได้ ไปชมกันเลย
..............ร่วมสนับสนุนรายการได้ที่..........................
เลขบัญชี 6102104631 ธนภัทร เสาร์สูงยาง ธนาคาร กสิกรไทย
ติดต่อรายการได้ที่
****email : [email protected]
ขอให้สนุกกับการตกปลา...
ปลาอินทรี (อังกฤษ: Indo-Pacific king mackerels, Spotted mackerels, Seerfishes) เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Scomberomorus (/สะ-คอม-บี-โร-โม-รัส/) ในวงศ์ Scombridae
ปลาอินทรีมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเว้าเป็นแฉกลึก ส่วนหัวและปลายปากแหลม ภายในปากในบางชนิดและปลาขนาดใหญ่จะเห็นฟันแหลมคมอย่างชัดเจน อาศัยอยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ มีลวดลายเป็นจุดหรือบั้งตามแต่ชนิด
จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่งในวงศ์ คือ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หาอาหารโดยไล่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า อาศัยอยู่ในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น

เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยในประเทศไทยนิยมนำมาทอดหรือทำเป็นปลาเค็ม ซึ่งในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "เบกาฮื้อ" (จีน: 馬鮫魚; พินอิน: Mǎ jiāo yú) และนิยมตกเป็นเกมกีฬาด้วย[4]

การจำแนก
ปัจจุบันจำแนกออกได้ 18 ชนิด[2] ในน่านน้ำไทยมีชุกชุมอยู่ 2 ชนิด คือ ปลาอินทรีบั้ง (S. commerson) และปลาอินทรีจุด (S. guttatus) โดยปลาในสกุลนี้เป็นปลาทะเลทั้งหมด แต่มีบางชนิดที่มีรายงานว่า พบปลาวัยอ่อนในเขตปากแม่น้ำหรือน้ำจืดด้วย คือ ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (S. sinensis) ที่พบว่ามีบางส่วนอาศัยอยู่ที่บริเวณปากแม่น้ำโขงหรือทะเลสาบเขมร[5]
วงศ์ปลากุเรา (อังกฤษ: Threadfins) เป็นวงศ์ปลาในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemidae (/โพ-ลี-นี-มิ-ดี/)

มีรูปร่างทั่วไปเป็นทรงกระบอก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวและจะงอยปากทู่ ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ตาเล็กอยู่ตอนปลายของหัวและมีเยื่อไขมันบาง ๆ คลุม ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอนอยู่ห่างกัน ตอนแรกเป็นก้านแข็งสั้น ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบอกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนบนเป็นครีบยาวแหลม ส่วนล่างเป็นเส้นยาวแยกออกเป็นเส้นตั้งแต่ 4 - 14 เส้น มีความยาวแล้วแต่ชนิด เกล็ดเป็นแบบสากมีขนาดเล็กละเอียด

เป็นปลากินเนื้อ โดยกินกุ้ง, ปลา หาเหยื่อและสัมผัสได้ด้วยครีบอกที่เป็นเส้น มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พบในเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำกร่อยและน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีทั้งหมด 8 สกุล 38 ชนิด มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 2 เมตร คือ ปลากุเราแอฟริกา (Polydactylus quadrifilis) พบในประเทศไทยประมาณ 10 ชนิด เช่น ปลากุเรา 4 หนวด (Eleutheronema tetradactylum) เป็นต้น แต่มีเพียง 3 ชนิดเท่านั้นที่พบในน้ำจืด คือ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 7 เส้น (Polynemus paradiseus), ปลาหนวดพราหมณ์ทอง (P. melanochir) และ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย สำหรับปลาที่พบในน้ำจืด[1]

วงศ์ปลาสาก หรือ วงศ์ปลาน้ำดอกไม้[3] (อังกฤษ: Barracuda, Seapike) วงศ์ปลากระดูกแข็งน้ำเค็มวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphyraenidae

มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม ปากกว้าง กรามล่างยื่นยาวกว่ากรามบน มีฟันแหลมคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบางขอบเรียบ มีครีบหลัง 2 ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ทั้งสีน้ำตาลอมเหลือง หรือลายบั้งขวางลำตัวเป็นท่อน ๆ หรือแต้มจุด แต่โดยมากมักเป็นสีฟ้าเทา ครีบหางเป็นแฉกรูปตัววี (V)

มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30-180 เซนติเมตร [4]

อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่บางครั้งอาจถึง 1,000 ตัว เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียว ไล่ล่าฝูงปลาชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร นับเป็นผู้ล่าอันดับต้น ๆ ของห่วงโซ่ชีวิตในทะเลจำพวกหนึ่ง เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็ก จะอาศัยอยู่รวมกับฝูงปลาอย่างอื่น อาทิ ปลากะตัก ตามกองหินหรือแนวปะการังใต้น้ำ[5] หรือตามปากแม่น้่ำ ที่เป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด[6]

ปลาสาก สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ เช่นเดียวกับปลาฉลาม ด้วยการกัดจากกรามและฟันที่แข็งแรง สามารถงับปลาอื่นที่เป็นอาหารให้ขาดสองท่อนได้จากการงับเพียงครั้งเดียว ที่สหรัฐอเมริกามีกรณีที่ปลากระโดดขึ้นมาจากน้ำงับแขนของเด็กผู้หญิงวัย 14 ปีที่นั่งอยู่บนเรือ เป็นแผลฉกรรจ์ต้องเย็บไปทั้งสิ้น 51 เข็ม[7] แต่ไม่เคยมีรายงานว่าทำอันตรายได้ถึงแก่ชีวิต[8]

ปลาสาก เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ด้วยนิยมบริโภคและซื้อขายกันในตลาดสด และนิยมตกเป็นเกมกีฬา
วงศ์ปลากุเรา (อังกฤษ: Threadfins) เป็นวงศ์ปลาในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemidae (/โพ-ลี-นี-มิ-ดี/)มีรูปร่างทั่วไปเป็นทรงกระบอก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวและจะงอยปากทู่ ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ตาเล็กอยู่ตอนปลายของหัวและมีเยื่อไขมันบาง ๆ คลุม ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอนอยู่ห่างกัน ตอนแรกเป็นก้านแข็งสั้น ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบอกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนบนเป็นครีบยาวแหลม ส่วนล่างเป็นเส้นยาวแยกออกเป็นเส้นตั้งแต่ 4 - 14 เส้น มีความยาวแล้วแต่ชนิด เกล็ดเป็นแบบสากมีขนาดเล็กละเอียด

เป็นปลากินเนื้อ โดยกินกุ้ง, ปลา หาเหยื่อและสัมผัสได้ด้วยครีบอกที่เป็นเส้น มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พบในเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำกร่อยและน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีทั้งหมด 8 สกุล 38 ชนิด มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 2 เมตร คือ ปลากุเราแอฟริกา (Polydactylus quadrifilis) พบในประเทศไทยประมาณ 10 ชนิด เช่น ปลากุเรา 4 หนวด (Eleutheronema tetradactylum) เป็นต้น แต่มีเพียง 3 ชนิดเท่านั้นที่พบในน้ำจืด คือ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 7 เส้น (Polynemus paradiseus), ปลาหนวดพราหมณ์ทอง (P. melanochir) และ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย สำหรับปลาที่พบในน้ำจืด[1]
#ตกปลาทะเล#ตกปลาสาก#วิธีตกปลาสาก#ไต๋ยอดหัวหิน#ตกปลาอินทรี

Комментарии

Информация по комментариям в разработке