รำโนรา รำสวยอ่อนช้อยน่าชม โดย เดเด้ ไอศูรย์ ทิพย์ประชาบาล ดนตรีเพราะ ภาพ-เสียงคมชัด |Full HD|

Описание к видео รำโนรา รำสวยอ่อนช้อยน่าชม โดย เดเด้ ไอศูรย์ ทิพย์ประชาบาล ดนตรีเพราะ ภาพ-เสียงคมชัด |Full HD|

การแสดงรำ โนรา
แสดงรำ โนรา โดย ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล
บันทึกการแสดงสด งาน "มหกรรมนาฏศิลป์ ของ ชมรมคนรักอาจารย์ เสรี หวังในธรรม(ศิลปินแห่งชาติ)"
แสดงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2558 ณ โรงละครแห่งชาติ

ผู้สนับสนุนการแสดง
ปรีชา ธรรมพิภพ
บริษัท โอเชี่ยนมีเดี่ย จำกัด
.
โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมของคนในภาคใต้ องค์ประกอบหลักในการแสดงโนรา คือเครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี
เครื่องแต่งกายประกอบด้วย เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง เครื่องลูกปัดร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง ทับทรวงปีกหรือหางหงส์ ผ้านุ่ง สนับเพลา ผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้างกำไลต้นแขน-ปลายแขน และเล็บ ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแต่งกายของโนราใหญ่หรือโนรายืนเครื่อง ส่วนเครื่องแต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า “เครื่องนาง” ไม่มีกำไลต้นแขนทับทรวง และปีกนกแอ่น
เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้ จังหวะ ประกอบด้วย ทับ (โทนหรือทับโนรา) มี ๒ ใบ เสียง ต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญ ที่สุด เพราะทำหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยน จังหวะทำนองตามผู้รำ กลองทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและ ล้อเสียงทับ ปี่ โหม่ง หรือฆ้องคู่ ฉิ่ง และแตระ
การแสดงโนรา มีการแสดง 2 รูปแบบ คือ โนราประกอบ พิธีกรรม (โนราโรงครู) และโนราเพื่อความบันเทิง ซึ่งมี ความแตกต่างกัน ดังนี้
1.โนราประกอบพิธีกรรมหรือโนราโรงครู พิธีกรรมที่มีความสำคัญในวงการโนราเป็นอย่างยิ่ง เพราะ เป็นพิธีกรรมเพื่อเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายัง โรงพิธีเพื่อไหว้ครูหรือไหว้ตายายโนรา เพื่อรับของแก้บน และ เพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่
2.โนราเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงเพื่อให้ความ บันเทิงโดยตรง

Cr.http://ich.culture.go.th/

ร่วมสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โปรดเป็นกำลังใจให้กับเรา เพื่อท่านจะได้ไม่พลาดการรับชมใหม่ๆ
   / @siammelodies  

#Siammelodies #ระบำรำฟ้อน #โรงละครแห่งชาติ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке