สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดกับ LNK500

Описание к видео สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดกับ LNK500

.... สำหรับไอ.ซี. LNK500 เป็นไอ.ซี.ที่อยู่ในตระกูล LNK เช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่สามารถนำมาแทน LNK302PN/304-306PN ได้เพราะว่าองค์ประกอบภายใน ไม่เหมือนกันกล่าวคือ
- LNK302PN/304-306PN ขาที่นำไปใช้งานมี 4 ขา คือ
... ขา D ขาไฟเข้า 300Vdc
... ขา S ขากราวด์หรือขาเปรียบเทียบไฟกับขา D
... ขา BP หรือขาบายพาส Bypass เป็นขาที่รักษาระดับแรงดันไฟ 5.8Vdc
... และขา FB คือขาที่มีไฟป้อนกลับและเป็นขาเช็คไฟ 1.65Vdc
- ส่วน LNK500 นั้นขาที่นำไปใช้งานจะมีเพียง 3 ขา นั่นก็คือ
... ขา D คือขาไฟเข้า 310Vdc
... ขา S คือขากราวด์หรือขาเปรียบเทียบไฟกับขา D
... ขา C หรือขา Control (คอนโทรล) จะมีแรงดันไฟอ้างอิงอยู่ที่ 5.6Vdc และ
ถ้าไฟอ้างอิงจุดนี้ตกลงต่ำกว่า 4.7Vdc LNK500 จะหยุดการทำงาน แต่จะทำการ
รีเซทหรือ ออโต้-รีสตาร์ทอยู่ตลอด จนกว่าไฟอ้างอิงจะกลับมาเป็นปกติที่ 5.6Vdc
การทำงานของ LNK500PN (อ้างอิงวงจรที่มาจาก Data Sheet)
****** วงจรการทำงานของ LNK500 เป็นแบบ Flyback-
Converter และแยกกราวด์ร้อน/เย็นอย่างชัดเจน ******
- ไฟ 220Vac เข้าสู่วงจรโดยผ่าน RF1 (อาร์ฟิวส์) ค่า 10 โอห์ม 10 วัตต์ สู่วงจรเรียง
กระแส และกรองไฟด้วยวงจร “ พายฟิลเตอร์ ” ซึ่งประกอบด้วย C1 และ C2 ค่า 4.7uF
และ L1 ค่า 1mH ได้ไฟ 310Vdc
- ไฟ 310Vdc ที่ได้ก็จะเข้าสู่ขา D ของ LNK500 และจะถูกปรับแรงดันลงให้เหลือเพียง
5.6Vdc โดยมี C3 ค่า 0.22uF 50V คอยรักษาระดับแรงดันไฟ และเป็นไฟสำรองในตอนที่
Power..Mosfet เข้าสู่ในช่วงหยุดการทำงาน ในการเลี้ยงวงจรภายในตัว LNK500
- เมื่อไฟ 310Vdc และไฟ 5.6Vdc พร้อมทั้ง 2 ชุดก็จะทำให้วงจรทั้งหมดที่อยู่ภายในตัว
LNK500 ทำงาน ไฟ 310Vdc จึงผ่านขา D ออกไปยังขา S ของ Power..Mosfet
ได้ การทำงานจึงเกิดขึ้น ตามขั้นตอนต่อไปนี้
... เนื่องจากเป็นวงจรสวิทช์ชิ่ง จะมีช่วงการจ่ายและหยุดจ่ายไฟ โดยร่วมการทำงานไปกับหม้อ
แปลงหรือขดลวด
** ในช่วงแรกช่วงที่จ่ายไฟหรือเราเรียกว่าช่วง ON ไฟ 310Vdc ก็จะผ่าน
จากขา D ไป S เข้าสู่หม้อแปลง T1 ไปครบวงจร ในช่วงนี้เมื่อหม้อแปลงได้รับไฟก็จะ
เกิดการสะสมของพลังงาน จนอิ่มตัว โดยไฟทางจุดขาเข้าหม้อแปลง T1 (ที่หมายเลข 1)
จะเป็นขั้วบวก และทางออกของหม้อแปลง (หมายเลข 3 และ4) ก็จะเป็นขั้วลบ ** จะ
ยังไม่เกิดการทำงานเกิดขึ้น หรือยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับฝั่งขดลวดทางออก จนกระทั่ง ....
*** เมื่อหม้อแปลงสะสมพลังงานจนอิ่มตัว ก็ได้จังหวะหยุดจ่ายไฟหรือ Off ในตอนนี้ก็
จะเกิดการกลับขั้ว (หรือที่เราเรียกว่าเกิดการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก) ในจังหวะนี้ก็จะ
เกิดแรงดันจากขั้วบวก (ที่หมายเลข 1) ก็จะกลับขั้วเป็นขั้วลบ และจากขั้วลบ
(หมายเลข 3 และ 4) ก็จะกลายเป็นขั้วบวกแทน และขดลวดทางออกฝั่งตรงกันข้าม
(หมายเลข 5) ก็จะกลับขั้วเป็นขั้วบวกเช่นกัน ***
**** และในตอนนี้ (ตอนที่หยุดจ่ายไฟหรือ Off) ทางขดลวดฝั่งทางออกหรือฝั่งตรง
ข้ามที่หมายเลข 5 ก็จะมีแรงดันขั้วบวกจ่ายออกทางเอ้าพุท ในเวลาเดียวกันที่หมายเลข 6
ก็จะมีแรงดันไฟลบไปออกที่ขั้วลบเช่นกัน โดยผ่านไดโอดช็อกกี้ หรือ D6#11DQ06****
... ในทางด้านขดลวดขาเข้าก็เช่นเดียวกัน เมื่อสนามแม่เหล็กกลับขั้ว จากขั้วบวก
(ที่หมายเลข 1) ก็จะกลายเป็นลบ และที่ขั้วลบ(ของหมายเลข 3 และ 4) ก็จะกลายเป็น
บวก ทำให้เกิดไฟ คอนโทรลหรือ ไฟไปที่ขา C ของ LNK500 ค่า 5.6Vdc โดยผ่าน
R2 ค่า 100 โอห์ม ผ่านไดโอด D5#1N4937
และกรองไฟด้วย C4 ค่า 0.01uF 100V ซึ่งถือว่าเป็นการควบคุมการทำงานของภาค
จ่ายไฟ (หรือคอนโทรล) โดยขดลวดฝั่งขาเข้า
... จากนั้น LNK500 ก็จะเริ่มจ่ายไฟหรือ On อีกครั้ง หม้อแปลงก็จะสะสมพลังงาน และ
เมื่อหยุดจ่ายไฟหรือ Off หม้อแปลงก็จะเกิดการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กวนเวียนอย่างนี้
ไปตลอดการทำงาน
รายละเอียดต่างๆ ...สามารถชมได้ทางคลิปวีดีโอ
จึงหวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์และแนวทางได้บ้างสำหรับท่านผู้ที่สนใจได้บ้างพอควร หากข้อมูลในคลิปถ้ามีความผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดทำขอน้อมรับและนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป... กราบขอบพระคุณ
“ ขอให้ความสำเร็จจงสถิตอยู่กับตัวท่าน ”
สงสัยอย่างไร,ประการใด โทรถามได้ที่
มือถือ 084-666-3328 โทรได้ตลอด ถ้าสะดวกจะรับสาย ถ้าไม่ได้
รับก็เพียรพยายามอีกนิด..เว้นช่วงและโทรเอาใหม่นะครับ จะไม่
โทรกลับสำหรับกรณีปรึกษา
ID Line ssc-services เป็นวิธีที่สะดวกสุด กดเป็นเพื่อนก่อนกดแจ้งมาก่อนว่า ID Line ของท่านชื่ออะไร เราจะได้กดรับ ถ้าไม่กดรับเราจะติดต่อกันไม่ได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพ,วีดีโอ อาการของเครื่องที่ต้องการปรึกษา
“ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน”
และกราบขอบพระคุณอีกครั้งที่ติดตามและรับชม...สวัสดี
นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์
22/2/2565 เวลา 2.00น.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке