Cคัปปลิ้งคืออะไร? Cฟิลเตอร์คืออะไร? Cบายพาสคืออะไร? คลิปนี้มี คำตอบ!!

Описание к видео Cคัปปลิ้งคืออะไร? Cฟิลเตอร์คืออะไร? Cบายพาสคืออะไร? คลิปนี้มี คำตอบ!!

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ ช่อง ZimZim DIY
สำหรับวันนี้ผมจะมาอธิบาย ศัพท์ช่างที่เรามักจะคุ้นหู อยู่เป็นประจำ เพื่อนๆคงจะเคยได้ยิน ตัวเก็บประจุหรือ C มาบ้างแล้วใช่ไหมครับ
ซึ่ง C นอกจากมันจะเป็นตัวเก็บประจุแล้ว มันยัง มีคุณสมบัติอื่นๆ ที่ทำงานได้ดีเช่นเดียวกัน และ C แต่ละตัวที่อยู่ในวงจร มันก็ทำหน้าที่ ที่แตกต่างกัน
สำหรับศัพท์ช่าง ศัพท์ แรก ที่เรามักจะได้ยินจากช่างบ่อยๆ นั้นก็คือ C Coupling
C Coupling คืออะไร ถ้าเพื่อนๆ นำคำนี้ไปค้นหาในอินเทอร์เน็ต ความหมายของมัน ดูแล้วไม่เหมาะสำหรับเด็ก สักเท่าไหร่ นะครับ
C Coupling ก็คือ อาศัยตัวเก็บประจุ เชื่อมโยง 2 วงจรเข้าด้วยกัน
สมมุติว่าเพื่อนๆ มีมือถือ อยู่ 1 เครื่อง ผมถือว่ามือถือเป็นวงจรที่ 1 ละกันนะครับ
และ เพื่อนๆ มีวงจร แอมป์ขยายเสียงอยู่อีก 1 เครื่อง ซึ่งผมก็เรียกมันว่าเป็นวงจรที่ 2 ครับ
เราจะใช้ตัวเก็บประจุนี้แหละครับ มา คั่น ทางเดินสัญญาณ ระหว่าง 2 วงจรนี้
แล้วถามว่าทำไมต้องใช้ C มากั้นด้วย สามารถต่อตรงไปเลยได้ไหม
ที่จริงมันก็ต่อตรงได้ และ ทำงานได้ดีเหมือนกันครับ
แต่ในกรณีที่ วงจรที่ 2 Ic เกิดการลัดวงจร ช๊อตเสียหาย หรือว่า ผู้ผลิต ออกแบบวงจรมาไม่ได้คุณภาพ
มี ไฟฟ้ากระแสตรง DC ไหลเวียนอยู่ที่ขั้ว input แรงดันตรงนี้ถ้ามันสูงมากพอ มันสามารถที่จะพังทลาย อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์
วงจรที่ 1 ได้อย่างง่ายดาย เพราะฉะนั้นต้องมี C อย่างน้อย 1 จุด มาบล๊อกสัญญาณ DC กั้นไว้ตรง
ซึ่งแอมป์ ส่วนใหญ่โดยทั่วไป มัก จะใส่มาด้วยอยู่แล้ว เพื่อนๆไม่ต้องกังวลครับ
นี่ครับถ้าเพื่อนๆดูที่ รูปจำลองของ C ตัวนี้เพื่อนๆ จะเห็นว่า อีกคุณสมบัติหนึ่งของ C
คือ ยอมให้กระแสสลับ Ac ไหลผ่าน ตัวมันได้เท่านั้น
สัญญาณเสียง ที่ออกจากมือถือ สัญญาณมันจะขึ้นๆลงๆแบบนี้ครับ เมื่อเอามาเทียบกับ กระไฟฟ้าสลับ มันคือก็สัญญาณตัวเดียวกัน
เพียงแต่ ความถี่มันไม่ได้ เสถียรเหมือนไฟบ้าน 50hz ความถี่มันขึ้นอยู่กับ จังหวะ tempo ของเพลงนั้นๆครับ
ส่วนกระแส DC หรือไฟกระตรง ก็หมดสิทธิ์ คำสร้อย ไม่สามารถจะข้ามผ่าน ตัว C ได้
สรุปว่า C Coupling ก็คือ ยอมให้สัญญาณ AC ผ่าน และก็บล๊อค สัญญาณ DC ครับ
ตัวต่อไปที่เรามักจะได้ยิน ก็คือ C บาย พาส
C บาย พาส มันก็ทำหน้าที่ คล้ายกับ C คลัปปลิ้งนั้นแหละครับ เพียงแต่ สัญญาณ Ac ที่ผ่านตัวมันจะเดินทางที่ไปวงจรอื่นเนี้ยะ
มันจะวิ่งลงกราวด์ครับ แล้วทำไมต้องต่อสัญญาณ AC พวกนี้ลงกราวด์ด้วย ทั้งที่ เราต้องการสัญญาณ พวกนี้ไปขยายต่อ
เพื่อนๆ อย่าลืมว่าความถี่ สัญญาณ เวลามันเดินทางมากับสายไฟ มันสามารถที่จะ รับความถี่อื่น เข้ามาปะปนได้ด้วย
ทั้งแหล่งจ่ายเอง ที่มีความถี่จากไฟฟ้ากระแสสลับ และ คลื่นความถี่อื่น ต่างๆ รอบตัวเรา เยอะแยะเต็มไปหมด
เราก็จะ กรองความถี่ ที่เราไม่ได้ใช้งานพวกนั้นดึงลงกราวด์ให้หมดครับ เหลือเฉพาะ ความถี่ ที่เราต้องการเท่านั้น
สำหรับ C ที่ทำหน้าที่บายพาส ที่เราเห็นชัดๆ เลยก็คือ
วงจร กรองเสียงครับ เพื่อนๆสามารถย้อนกลับไปชม คลิป วงจรขยายเสียง ซับวูฟเฟอร์ EP.1 ของผม นั้นจะใช้ ตัว R ร่วมด้วย ลองย้อนชมได้ครับ
เพื่อนๆ จะเข้าใจมากขึ้น
รวมไปถึง C ค่าน้อยๆ ที่ค่อมในวงจรภาคจ่ายไฟ ค่าประมาณ 0.1uf 0.01uf ต่างก็ทำหน้าที่ดึงความถี่สูงลงกราวด์ แทบทั้งสิ้น
C พวกนี้ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใกล้ๆ กับขา IC รับไฟให้มากที่สุด เพื่อกรอง กระแสไฟให้ สะอาด ให่นิ่งที่ที่สุด
เพื่อไม่ให้ มีความถี่ เสียงจี่เสียงฮัม เล็ดลอดเข้าไปหา IC ได้
สรุปว่า C Bypass ทำหน้าที่ดึงสัญญาณ AC บางส่วนลงกราวด์
ยิ่ง C ค่าน้อยจะกรองความถี่สูงได้ดี ครับ
ตัวสุดท้ายที่เรามักจะได้ยินก็คือ
C filter
C filter คืออะไร
C filter แปลความหมายตรงๆ ก็คือตัวกรองสัญญาณ
มันหน้าที่คล้ายๆ กับ C couping นั้นแหละครับ แต่มันจะอยู่ในส่วนของภาคจ่ายไฟ
ส่วนใหญ่ที่ เรามักจะเห็น ก็คือมันจะอยู่ในวงจร เรกดิฟายเออร์นั้นแหละครับ ยกตัวอย่าง
วงจร แปลงไฟฟ้า Ac เป็น DC วงจรนี้ครับ
ไฟบ้านที่เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ เข้ามาที่หม้อแปลงตรงนี้ หม้อแปลงตัวนี้เป็นตัว สเต๊ปดาว แปลงแรงดันลดลง
ผ่าน ไดโอด หากเราไม่มี C ค่าสูง มาค่อค่อมทางเดิน ไฟที่ถูกเรกดิฟายด้วยไดโอด มันก็จะแปลง
จากไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟ้ากระแสตรงแล้ว แต่ รูปคลื่นที่ออกมา
มันยังเป็น รูปคลื่นไม่เนียนตาเป็นคลื่น Ripple อยู่ ไฟมันจะไม่นิ่ง
แต่เมื่อเราเพิ่ม C ค่าเยอะเข้าไป มันจะทำหน้าที่กักเก็บไฟไว้บางส่วน และคลายออกมาเมื่อจำเป็น
กระแสมันก็จะนิ่งขึ้น ด้วยคุณสมบัติการกักเก็บไฟที่ดีเยี่ยมของมัน กระแสมันก็จะสมูท ดูเนียนตา ขึ้น ถ้าขนานมากพอ ไฟที่ได้ก็จะเรียบกริบเลยครับ
และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก็ทำหน้าที่ได้ดีขึ้นเมื่อไฟนิ่งและเสถียร
และทั้งหมดนี้ก็คือ ประโยชน์ ของ คาปาซิเตอร์
ที่เห็นชัด ก็ในวงจรเครื่องเสียง และ วงจนอิเล็กทรอนิกส์ ทั่วไปครับ
ผมก็ยอมรับนะครับว่า คลิปก่อนหน้านี้ ก็เรียกผิดเรียกถูกไปบ้าง แต่คลิปถัดๆไป ก็ตั้งใจว่าจะเรียก ศัพท์เหล่านี้ให้ถูกต้อง
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке