กบนอกกะลา ตอน โคขุน ขุนพลวัวเนื้อ

Описание к видео กบนอกกะลา ตอน โคขุน ขุนพลวัวเนื้อ

รายการ: กบนอกกะลา
ตอน: โคขุน ขุนพลวัวเนื้อ
ออกอากาศ: 15 ตุลาคม 2553
โค แปลว่า วัว ขุน แปลว่าเลี้ยงให้อ้วน เมื่อคำ 2 คำมาเจอกัน จึงกลายเป็นเรื่อง "โคขุน" และเมื่อต้องเจอกับคำว่า "โพนยางคำ" หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เรื่องของการเลี้ยงวัวให้อ้วน ไม่ใช่การปล่อยวัวกินหญ้ากินฟางตามท้องทุ่งธรรมดา ปริศนาแห่งการเลี้ยงวัว ให้กลายเป็นวัวอ้วน ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการรับประทานเนื้อ ท่ามกลางกระแสปิ้งย่างเกาหลีครองเมืองเช่นนี้ จึงมีความรู้ซุกซ่อนอยู่ในทุกอณูไขมันของเนื้อวัว จริงหรือไม่ที่ "โคขุนโพนยางคำ" กำเนิดขึ้นจากการเมืองและการทหาร รู้หรือไม่ "โคขุนโพนยางคำ" ไม่ใช่วัวบ้าน ๆ ของชาวนาไทยที่เลี้ยงกันในทุ่งกว้างภาคอีสาน แต่เป็นลูกครึ่งไทย-ฝรั่งเศส และเชื่อหรือไม่ ว่าวัวแต่ละตัวต้องผ่านน้ำหนักไม่ต่ำจาก 700 กิโลกรัมหรือบางตัวอาจหนักกว่า ตัน หรือพันกิโลกรัม จึงจะได้สละชีวิตในฐานะ "โคขุนแห่งโพนยางคำ" ทุกวันนี้ ชาวนาชาวไร่ภาคอีสานในจังหวัดสกลนคร นครพนม หนองคาย หลายหมู่บ้านหลายตำบลในฐานะสมาชิกสหกรณ์โพนยางคำมากกว่า 4,500 ครัวเรือน ทำอาชีพเสริมจากเกษตรกรรมด้วยการเลี้ยงวัว แต่ไม่ใช่เลี้ยงวัวบ้านเพื่อไว้ใช้งานในท้องไร่ท้องนา แต่เลี้ยงกันในคอกเล็ก ๆ ใต้ถุนบ้านหรือโรงนา พวกเขาเลี้ยงโคขุน ขุนทุกวันเช้าเย็นด้วยหญ้า ฟาง รำ และอาหารสำเร็จรูป เพื่อให้อวบอ้วนสวย ทำเช่นนี้ทุกวันอย่างน้อย 8 เดือน จากลูกวัวตัวผู้สายพันธุ์ไทยใหญ่ ผสมเชื้อพ่อพันธุ์เลือดฝรั่งเศส ที่อาจจะซื้อมาจากตลาดนัดวัว หรือผสมเทียมขึ้นมาจากแม่ไทยพ่อฝรั่ง วัวตัวน้อยน้ำหนักโคขุนเริ่มต้น 400 กิโลกรัม ก็จะกลายเป็นโคขุน ตัวใหญ่ยักษ์น้ำหนักตัวเฉียดพัน ซึ่งแน่นอนว่า ราคาขายก็จะเพิ่มขึ้นสองถึงสามเท่าตัวจากราคาลูกวัวที่ซื้อมา โคขุนแต่ละตัว จะให้เนื้อชิ้นใหญ่ ๆ อย่างน้อย 36 ชิ้น เนื้อวัวแต่ละชิ้นในหนึ่งตัวเดียวกัน จะนิ่มนุ่มชุ่มไขมันไม่เท่ากัน และนั่นก็คือ ความลับละมุนลิ้นและความลับสำหรับกำหนดราคาเนื้อวัว "เนื้อสันใน" สุดยอดเนื้อแห่งวงการสเตกส์ และปิ้งย่าง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке