"เกิดอวมงคลนิมิตขึ้น" ตำนานครั้งตั้งศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร เรื่องการ “ฝังคนทั้งเป็น”

Описание к видео "เกิดอวมงคลนิมิตขึ้น" ตำนานครั้งตั้งศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร เรื่องการ “ฝังคนทั้งเป็น”

" #เกิดอวมงคลนิมิต ขึ้น" ตำนานครั้งตั้ง #ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เรื่องการ “ฝังคนทั้งเป็น”#ศาลหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น เป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์มีไม้แก่นจันทน์ประกับนอก ยอดเสารูปบัวตูม เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕ ณ ชัยภูมิใจกลางพระนครใหม่ที่พระราชทานนามว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” หรือเรียกต่อกันมาว่า “กรุงเทพมหานคร” สถิตสถาพรเป็นมิ่งขวัญประชาชนชาวไทย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเสาหลักเมืองต้นใหม่แทนต้นเดิมที่ชำรุดไปตามกาลเวลา เป็นเสาไม้สักเป็นแกนอยู่ภายในประกับด้วยไม้ชัยพฤกษ์ยอดเม็ดทรงมัณฑ์ และผูกดวงชาตาพระนครขึ้นใหม่ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น

ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน ณ ศาลหลักเมือง ในพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหานครตามโบราณราชประเพณี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมืองให้มีความงดงามบริบูรณ์สมกับเป็นที่สถิตแห่งองค์พระหลักเมือง และให้เชิญเสาหลักเมืองต้นเดิมไปประดิษฐานไว้คู่กับเสาหลักเมืองต้นปัจจุบัน เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชพระหลักเมือง ณ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๙

ในการนี้ คณะกรรมการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมือง ได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การดำเนินงานปรับปรุงศาลหลักเมือง

รวมทั้งได้สร้างศาลเทพารักษ์เพื่อเป็นที่สถิตแห่งเทพารักษ์ทั้ง ๕ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง และอาคารหอพระพุทธรูปขึ้นอีกด้วย ศาลหลักเมืองมีพื้นที่อยู่ในอาณาบริเวณของกระทรวงกลาโหม โดยเริ่มแรกในปี 2480 กระทรวงกลาโหมได้มอบหมายให้กรมเชื้อเพลิงเป็นผู้ดูแล เมื่อกรมเชื้อเพลิงถูกยุบภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กระทรวงกลาโหมจึงมอบให้ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นผู้ดูแลตั้งแต่ปี ๒๔๙๑ โดยองค์การฯ ได้กำหนดให้สำนักงานกิจการศาลหลักเมือง ซึ่งเป็นหน่วยงานกิจการพิเศษขององค์การฯ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบศาลหลักเมือง รวมทั้งอาคารและบริเวณอันเป็นสถานที่สำคัญของชาติ การบูรณปฏิสังขรณ์ ดำเนินกิจการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้มาสักการะ และเก็บรักษาผลประโยชน์จากการนั้นสนับสนุนกิจการขององค์การฯ ตลอดจนร่วมสาธารณะกุศลอื่น ๆ มีผู้อำนวยการสำนักงานกิจการศาลหลักเมือง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ และผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นประธานกรรมการบริหารสำนักงานกิจการศาลหลักเมือง... เมื่อละครโทรทัศน์เรื่องหนึ่ง นำเหตุการณ์เกี่ยวกับการยกเสาหลักเมือง หรือประตูเมืองว่ามีการฝังคนทั้งเป็นออกเผยแพร่ ทำให้คนสงสัยว่าการกระทำดังกล่าวมีจริงหรือไม่ และในฉากนั้นมีพระสงฆ์นั่งทำพิธีอยู่ด้วย ดูไม่เป็นการสมควร เท่ากับนำพระเข้าไปรู้เห็นเป็นใจกับการฆ่าคน จึงเกิดความสงสัยถามไถ่กันขึ้น บางคนก็ว่าเคยได้ยินได้ฟังมาอย่างนั้น ทำท่าจะเชื่อ แต่บางคนก็สงสัยว่าได้หลักฐานมาจากตำราใด และเชื่อได้หรือไม่
เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ
ความเชื่อเรื่องฝังคนทั้งเป็นนี้ เข้าใจว่าจะมีการบอกเล่าสืบต่อกันมา เป็นการเชื่อแบบชาวบ้านโดยที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน และคนที่รับฟังก็เชื่อโดยไม่ได้ไตร่ตรอง จนถึงกับนำมาเขียนเป็นประวัติศาสตร์ก็มี เท่าที่พบมีอยู่แห่งหนึ่ง คือการฝังหลักเมืองของเมืองถลาง ในหนังสือ ประวัติจังหวัดภูเก็ตฉบับฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้กล่าวถึงการฝังหลักเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า
"เมื่อท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรได้ถึงอสัญกรรมแล้ว พระยาถลาง (ทองพูน) ได้เป็นเจ้าเมืองถลาง ได้จัดหาสถานที่เพื่อสร้างเมืองใหม่ขึ้น และได้ตกลงให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลางในปัจจุบันนี้ โดยเรียกว่า 'บ้านเมืองใหม่' เมื่อจัดหาที่ได้แล้ว จึงได้ประกอบพิธีกรรมขึ้นเพื่อฝังหลักเมือง โดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์รวม ๓๒ รูป เจริญพระพุทธมนต์อยู่ ๗ วัน ๗ คืน แล้วจึงให้อำเภอทนายป่าวร้องหาตัวผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมือง (ผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมืองได้ต้องเป็นคนที่เรียกกันว่า สี่หูสี่ตา คือกำลังมีครรภ์นั่นเอง) การป่าวร้องหาตัวแม่หลักเมืองนี้ ได้ประกาศป่าวร้องเรื่อย ๆ ไปตลอดทุกหมู่บ้านว่า โอ้เจ้ามั่น โอ้เจ้าคง อยู่ที่ไหนมาไปประจำที่ ในที่สุดจึงไปได้ผู้หญิงชื่อนางนาค ท้องแก่ประมาณ ๘ เดือนแล้ว นางนาคได้ขานตอบขึ้น ๓ ครั้ง แล้วได้เดินตามผู้ประกาศไป ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำแล้ว เมื่อไปถึงหลุมที่จะฝังหลักเมือง นางนาคก็กระโดดลงไปในหลุมนั้นทันที ฝาหลุมก็เลื่อนปิด เจ้าพนักงานก็กลบหลุมฝังหลัก เป็นอันเสร็จพิธีการฝังหลักเมือง"
ตามเรื่องข้างต้นนี้ไม่มีในพงศาวดาร คนเขียนขึ้นตามที่เคยฟังเขาเล่ากัน หรือจับเอาเรื่อง ราชาธิราช เมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วสร้างปราสาทมาเป็นพิธีฝังหลักเมือง ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า
"ครั้นวันฤกษ์พร้อมกันคอยหาฤกษ์ และนิมิตกึ่งฤกษ์เวลากลางวัน พอหญิงมีครรภ์คนหนึ่งเดินมาริมหลุม คนทั้งปวงพร้อมกันว่าได้ฤกษ์ แล้วก็ผลักหญิงนั้นลงในหลุม จึงยกเสาปราสาทนั้นลงหลุม"


#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке