จิต เป็นผู้ก่อกรรม เจ้ากรรมนายเวร คือ ใคร กรรมเก่าเกิดจากอะไร เสียงธรรม หลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

Описание к видео จิต เป็นผู้ก่อกรรม เจ้ากรรมนายเวร คือ ใคร กรรมเก่าเกิดจากอะไร เสียงธรรม หลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

กรรม คืออะไร
อธิบายตามพุทธวจน บันทึกไว้ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ดังนี้

“…ดูกรภิกษุทั้งหลาย, เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจ…”

ดังนั้นการกระทำทั้งสามโดยมีเจตนา จึงจะเรียกว่า กรรม! ส่วนเหตุเกิด หรือแดนเกิดของกรรม ท่านตรัสว่า (อยู่ในสูตรเดียวกัน):

“…เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม…”

ผลของกรรมที่เกิดจากเจตนา เรียกว่า ‘วิบาก’ ตรัสดังนี้:

“…ก็ความ ต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม

ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑, กรรม ที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑, กรรมที่ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม…”

นี้คือการอธิบาย ธรรมชาติแห่งการเกิดของ ‘กรรม’ และธรรมชาติในผลของกรรมที่สำเร็จแล้ว อันเรียกว่า ‘วิบาก’

เจ้ากรรม นายเวร ผู้มีบัญชาทุกข์แก่เรา มีหรือไม่?
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๓๙๓ ว่า;

“…ภิกษุ ทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการเหล่านี้มีอยู่ หกประการ เหล่าไหนเล่า? หกประการ คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิว่า…

– สุขและทุกข์ ตนทำเอง

– สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้

– สุขและทุกข์ ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี

– สุขและทุกข์ ไม่ต้องทำเอง เกิดขึ้นได้ตามลำพัง

– สุขและทุกข์ ไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง

– สุขและทุกข์ ไม่ต้องทำเอง และไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง

ข้อนั้น เพราะเหตุไร? ภิกษุ ทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุว่าเหตุ อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเห็นแล้วโดยแท้จริง และธรรมทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย…”

ดังนั้น ความเป็นเจ้าแห่งสุขและทุกข์ของใคร ๆ นั้นไม่มี แต่สิ่งที่มีรับรอง คือ ‘คู่ผู้ผูกเวร’ หรือ ‘คู่เวร’

‘คู่ผู้ผูกเวร’ ได้แก่ บุคคลที่ผูกโกรธ พยาบาท ผูกอาฆาตต่อคู่กรณีของเขานั้นมี และสามารถตามจองล้างจองผลาญคู่ผูกเวรได้ด้วยจิตอกุศลเหล่านั้น แต่จะทำอันตรายอีกฝ่ายได้มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่เหตุปัจจัย

เพราะอนึ่ง บุคคลมีจิตฝังลึกในอกุศลจนลมหายใจสุดท้าย เมื่อกายอันเป็นที่ตั้งของกองอุปาทานขันธ์ ๕ แตกทำลาย จิตย่อมเคลื่อนไปสู่ ทุขคติภูมิ เป็นอันดับแรก และหากคู่กรณีวางจิตเมตตาไม่ผูกโกรธจนลมหายใจสุดท้าย เขาย่อมเคลื่อนไปสู่ สุขคติภูมิ

โดยหลักการอย่างนี้ โอกาสจะเจอกันในกาลข้างหน้าย่อมไม่ง่าย

สรุปเรื่อง เวรกรรม และ เจ้ากรรมนายเวร
– บัญญัติที่เรียกว่า เวรกรรม นั้นไม่มี

– สิ่งที่มี คือ กรรม และ ผลของกรรม

– ทำกรรมอย่างไร รับผลตามที่สมควรแก่เหตุ

– การส่งผลของวิบาก ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

– ดังนี้ สิ่งที่เรียกว่า เจ้ากรรมนายเวร จึงไม่มี

– ที่มีคือ คู่ผู้ผูกโกรธ ผูกเวร ผู้เพ่งจองเวร จองร้าย


แหล่งอ้างอิงบทความ จาก dharmadar.com โดย POPULAR POSTS

Комментарии

Информация по комментариям в разработке