กากกาแฟอย่าทิ้ง ทำปุ๋ยหมักชั้นดี มีไนโตรเจนสูง

Описание к видео กากกาแฟอย่าทิ้ง ทำปุ๋ยหมักชั้นดี มีไนโตรเจนสูง

๐ อินทรีย์วัตถุในดิน (Soil organic matter) คือ สารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายส่วนต่างๆของซากพืชหรือสัตว์ที่กำลังสลายตัว เซลล์ของจุลินทรีย์ทั้งที่มีชีวิตอยู่และส่วนของจุลินทรีย์ที่ไม่มีชีวิตอยู่แล้ว ถูกกระบวนการสลายตัวด้วยจุลินทรีย์ และรวมไปถึงส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่จากกระบวนการย่อยสลาย อินทรีย์วัตถุเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของดินและส่งผลต่อคุณสมบัติต่าง ๆ ของดิน ทั้งสมบัติทางด้านเคมีฟิสิกส์และทางชีวภาพ อันส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินต่อการเจริญเติบโตของพืชชนิดต่าง ๆด้วย

๐ ประโยชน์ของอินทรียวัตถุในดิน
๐ เป็นแหล่งธาตุอาหารสำคัญของพืช
๐ เป็นแหล่งอาหารให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน
๐ มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่าง ๆ ของดิน ทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ อาทิ โครงสร้างของดิน ความร่วนซุยของดิน ความสามารถในการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศ ความสามารถในการดูดซับน้ำและธาตุอาหารของดิน
ปริมาณของอินทรียวัตถุในดินจึงบ่งบอกถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินด้วยเช่นกัน

๐ ส่วนประกอบของดิน (Soil Component) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชควรจะมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ดังนี้
1.) อนินทรีย์วัตถุหรือแร่ธาตุ ร้อยละ 45
องค์ประกอบในส่วนนี้มาจากการสลายตัวและผุพังของหินและแร่ธาตุต่างๆโดยย่อยสลายออกมาเป็นชิ้นส่วนขนาดต่าง ๆ กันและดินแต่ละแห่งจึงมีส่วนประกอบของดินที่เป็นแร่ธาตุนี้ต่างกัน ตามแหล่งที่มาของดินที่ต่างกันด้วย
2.) อินทรีย์วัตถุ ร้อยละ 5%
เป็นองค์ประกอบที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชและสัตว์ที่ทับถมกันอยู่บนผิวดินโดยอินทรีย์วัตถุที่ผุพังเหล่านี้เมื่อย่อยสลายดีแล้วจะมีสีดำ จึงทำให้มีการวัดหรือประเมินคุณสมบัติของดินที่ดีจากการให้สีดำของดินซึ่งไม่เป็นความจริงเสมอไป ด้วยเหตุที่ว่าสีดำที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมาจากองค์ประกอบในส่วนแรกก็ คือ อนินทรีย์วัตถุหรือแร่ธาตุด้วยนั่นเอง
3.) ส่วนที่เป็นน้ำ ร้อยละ 25
ปริมาณน้ำในดินส่วนใหญ่แล้วมาจาก น้ำจากธรรมชาติโดยจะซึมไหลเข้ามาเติมในช่องว่างระหว่างเม็ดดินรวมไปถึงการไหลบ่าลงสู่พื้นที่ต่ำ โดยดินสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ในปริมาณที่จำกัดตามคุณลักษณะของดินและระยะเวลาที่รับน้ำนั้น กล่าวคือ ดินทรายจะอุ้มน้ำไว้ได้น้อยเนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเม็ดดินขนาดใหญ่ ในทางกลับกันดินเหนียวสามารถอุ้มน้ำไว้ได้มากเนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเม็ดดินขนาดเล็กมาก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ดินเหนียวมีคุณสมบัติในการระบายน้ำได้ไม่ดี (คุณสมบัติระบายน้ำเลว) ในขณะที่ดินร่วนเป็นดินที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำได้ดีและระบายน้ำได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับชนิดของดินเหนียวและดินทราย น้ำในดินจะทำละลายแร่ธาตุชนิดต่างๆให้อยู่ในรูปสารละลาย เพื่อให้พืชสามารถจับแลกเปลี่ยนนำไปใช้ได้
4.) ส่วนที่เป็นอากาศ ร้อยละ 25 
อากาศที่อยู่ในดินนั้นมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนธาตุอาหารกับรากพืชและจำเป็นต่อการให้ออกซิเจนในการหายใจของรากและต้นพืช โดยอากาศในดินนั้นจะมีออกซิเจนน้อยกว่าในบรรยากาศและมีปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าในบรรยากาศ โดยส่วนที่เป็นอากาศและน้ำเหล่านี้แลกเปลี่ยนระหว่างทานหากดินมีคุณสมบัติในการระบายน้ำเลวก็จะมีปริมาณของอากาศที่อยู่ในดินน้อยมาก ส่งผลให้พืชเกิดการขาดอากาศในการหายใจและรวมไปถึงการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการเน่าของรากพืชได้

๐ วิธีการหมักกากกาแฟเพิ่อใช้เป็นวัสดุปลูก
1. นำกากกาแฟวางลงก้นเข่ง หนาประมาณ 10 ถึง 15 เซนติเมตร
2. โรยทับหน้าด้วยปุ๋ยคอกให้มีความหนาอย่างน้อย 5 เซนติเมตร
3. จากนั้นโรยกากกาแฟและสลับด้วยปุ๋ยคอกเรียงเป็นชั้น ๆ ไปเรื่อย ๆ จนเต็มปากเข่ง
4. นำเข่งไปวางในพื้นที่ร่มรำไร แล้วรถน้ำเติมจนชุ่ม หากไม่สามารถรถน้ำให้ลงไปถึงด้านล่างได้ก็ใช้วิธีการเจาะแหวกตรงกลางให้เป็นรูเพื่อเติมน้ำลงไป ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอทุก 10 วัน โดยสังเกตให้มีความชื้นทั่วถึง ไม่รถน้ำนานเกินไปจนมีน้ำไหลนองออกมาซึ่งจะมีมูลสัตว์ติดมาด้วย
5. รักษาความชื้นของเข่งหมัก จนมีอายุประมาณ 60 วัน สามารถนกากกาแฟที่หมักนั้นมาใช้ได้ การสังเกตคือปริมาณของกากกาแฟจะยุบลง ช่วยจับดูจะมีลักษณะยุ่ย และไม่มีความร้อนหลงเหลืออยู่

๐ การหมักกากกาแฟเพิ่อใช้เป็นวัสดุปลูก ควรใส่ปุ๋ยคอกเติมลงไปเนื่องจากมีไนโตรเจนสำหรับให้จุลินทรีย์ ที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายเศษซากพืชนี้ใช้ในการสร้างเซลล์และสร้างการเจริญเติบโต ทางนี้ไม่จำเป็นจะต้องเติมสารจุลินทรีย์หรือสารเร่งจุลินทรีย์ลงไปในการหมักแต่อย่างใด เนื่องจากการใส่ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์นั้นก็มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายเศษซากพืชอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องเติมเข้าไปแต่ประการใด

Комментарии

Информация по комментариям в разработке