ประเด็นร้อน ลิขสิทธิ์กับการใช้ AI และ กฎหมาย AI , AI Ethics I DGTH

Описание к видео ประเด็นร้อน ลิขสิทธิ์กับการใช้ AI และ กฎหมาย AI , AI Ethics I DGTH

ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI I DGTH

กฎหมายกับ AI ประเด็นร้อนเรื่องลิขสิทธิ์ ภาพเรา เสียงเราโดนเอาไปใช้สอนเอไอ หรือสร้างงานใหม่แบบนี้ ผิดไหม แล้วเราเรียกร้องอะไรได้รึเปล่า?

00:00 เริ่มต้น
01:40 Generative AI คืออะไร
03:27 ผลงานจาก AI มีลิขสิทธิ์มั้ย? แล้วเป็นของใคร?
06:07 ผลงานจาก AI เป็นของผู้สร้างทั้งหมด 100% มั้ย?
07:38 ถ้ามีคนเอาเสียงของเราไปเทรน AI จะละเมิดลิขสิทธิ์มั้ย?
11:18 เอาภาพ "ศิลปะ" จากอินเทอร์เน็ตไปสอน AI ได้มั้ย?
14:42 เอาภาพ "คน" จากอินเทอร์เน็ตไปสอน AI ได้มั้ย?
17:25 กฎหมายควบคุม AI
18:47 กฎหมายควบคุม AI ในไทย

และติดตามอ่านบทคสามไดใน https://www.it24hrs.com/2023/law-and-ai/

AI วาดรูปที่เคยเป็นที่ฮือฮามากๆ ในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้ง Dall-E2, Midjourney จนตอนนี้ ผ่านมาแค่ครึ่งปี แต่ AI วาดรูปก็กลายเป็นเรื่องปกติไปที่เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ใช้ บางคนก็เอาไปใช้เป็นรูปประกอบ บางคนเอารูปนั้นไปขาย บางที่ก็ฝึกให้ AI เรียนรู้สไตล์ภาพของศิลปิน แล้วสร้างภาพใหม่ในสไตล์นั้นขึ้นมา แต่ เอ๊ะ...แล้วแบบนี้ มันจะเรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือผิดกฎหมายไหม?

ซึ่ง AI สร้างภาพนี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ของ Generative AI ซึ่งจริงๆ แล้ว Generative AI ก็ทำอะไรได้อีกเยอะมาก เช่น สร้างเสียงคน สร้างเสียงดนตรี สร้างวีดีโอ สร้างบทความ ซึ่งการทำงานของเค้าจะแบ่งเป็นใหญ่ๆ แบบคร่าวๆ 3 ส่วน
การนำข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เสียง text จำนวนมาก ยิ่งมาเท่าไหร่ก็ยิ่งดี หลังจากเตรียมข้อมูลแล้วก็จะใช้มันเพื่อนำมาเทรน หรือสอน คอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างเป็นโมเดล AI ขึ้นมา โดยโมเดล AI นี้ก็คือโค้ต เป็นผู้ทำหน้าที่สร้างสรรค์งานใหม่ๆออกมาจากการเรียนรู้ข้อมูลเหล่านั้น หลังจากได้โมเดลแล้ว เราก็สามารถป้อนคำสั่งลงไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ กลายเป็น output เช่น ภาพ วิดีโอ เสียง หรือข้อความ 

กฎหมาย กับ AI 

พอใช้ AI สร้างผลงาน มันเลยมีประเด็นตรงที่ ใครคือเจ้าของผลงาน เรา, AI หรือ บริษัทเจ้าของ AI อีกมุมนึงก็คือ ภาพ เสียง หรืองานที่ถูกเอามาใช้สอน AI จนสร้างงานออกมาได้อย่างกับศิลปินคนนั้นๆ แล้วแบบนี้มันจะผิดลิขสิทธิ์มั้ย? แล้วยังมีสารพัดข้อสงสัยเรื่องกฎหมาย กับ AI อีก งั้นเราไปหาคำตอบกัน

ผลงานจาก AI มีลิขสิทธิ์มั้ย? แล้วเป็นของใคร?

ก่อนอื่นต้องเริ่มจาก User journey ก่อน เวลาเราเข้าไปใช้แพลตฟอร์มต่างๆ เราต้องเป็น sign up และตอบรับ User agreement ก่อน แล้วแบบไหนบ้างล่ะ ถึงผิด?

ผลงานจาก AI เป็นของผู้สร้างทั้งหมด 100% มั้ย?

ต้องกลับมาดูเรื่องการคุ้มครองของด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย ซึ่งเราก็ต้องถามว่างานที่เราใช้ AI สร้างขึ้นมามีการลอกเลียนแบบ หรือไปเอางานของคนอื่นมาเทรน AI โดยที่เค้าไม่อนุญาตมั้ย แล้วแบบไหนบ้างล่ะ ถึงผิด?

แต่สำหรับคนใช้ เรื่องนี้อาจจเป็นปลายทางที่ผู้ใช้ไม่รู้ สิ่งที่เราเห็นตรงหน้า คือ โมเดลเอไอ หรือบริการ แล้วแบบไหนบ้างล่ะ ถึงผิด?

ถ้ามีคนเอาเสียงของเราไปเทรน AI จะละเมิดลิขสิทธิ์มั้ย?

Vall-E คือ Generative AI ที่สามารถสร้างเสียงให้พูดอะไรก็ได้ ด้วยเสียงต้นฉบับแค่ 3 วินาที ซึ่งเสียงที่ถูกนำไฟเป็นต้นฉบับอาจจะเป็นเซเล็บ ดารา คนดัง หรือเป็นนักพากย์ก็ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้นักพากษ์ หรือคนที่ขายเสียงตกงาน ซึ่งกฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองแค่ไหน?

กรณีที่เสียงเราถูกเอาไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต

การเอาเสียงที่อยู่ตามอินเทอร์เน็ต ไปใช้โดยที่ไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของเสียงก่อน ยังคงเป็นช่องว่างของกฎหมาย เพราะว่าไม่เคยมีใครคิดว่าน้ำเสียงจะมีค่า หรือน้ำเสียงเป็นอะไรที่คนอยากดึงไปใช้ แล้วก็ใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ได้

เอาภาพ "ศิลปะ" จากอินเทอร์เน็ตไปสอน AI ได้มั้ย?

ภาพ หรืองานสร้างสรรค์ส่วนใหญ่แม้ว่าจะอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต แต่มันก็มีเจ้าของ ก่อนที่เราจะนำมาใช้ เราต้องขออนุญาตคนที่เป็นเจ้าของสิทธิ์เสียก่อน แต่สิ่งที่เราใช้งานเป็น AI นะ?

เอาภาพ "คน" จากอินเทอร์เน็ตไปสอน AI ได้มั้ย?

กรณีที่1 เราใช้เราของตัวเราเองไปเทรน AI ซึ่งเราอาจกังวลว่า แอปพลิเคชันจะเอารูปของเราไปทำอะไรต่อมั้ย?

กรณีที่2 มีคนเอารูปของเราบน Facebook หรือ Instagram ไปใช้เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วยการทำซ้ำก็เท่ากับว่าเราละเมิดลิขสิทธิ์ หรือในกรณีของการเอารูปไปเทรน AI ไม่ได้ใช้ตรงๆ ก็เข้าข่ายผิดเช่นกันถึงจะมองว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจากการเทรนเป็นโค้ต ไม่ใช่สิ่งเดิมแล้ว แล้วแบบนี้จะผิดมั้ยล่ะ?

กรณีที่3 ใช้รูปบุคคลที่มีชื่อเสียงไปเทรน AI ก็เข้าข่ายมีความผิดเหมือนกัน ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็นบุคคลสาธารณะ แล้วแบบนี้จะผิดมั้ยล่ะ?

กฎหมายควบคุม AI

กฎหมายมีการพัฒนามาเรื่อยๆ อาจจะมีหลายจุดมีช่องโหว่ นั้นก็เพราะว่า AI เป็นของใหม่ ก่อนหน้านี้คนอาจจะยังไม่ได้ตื่นตัวกันเท่าไหร่ แต่พอเราเห็นว่า Generative AI ทำอะไรได้บ้าง คนก็ตื่นตัวกันมากขึ้น อย่างในยุโรปก็เริ่มมีกฎหมายออกมาควบคุม บังคับเกี่ยวกับเรื่อง AI ซึ่งยังอยู๋ในช่วงของการร่าง โดยลักษณะของกฎหมายจะมีลักษณะคล้ายกับ GDPR (กฎหมายคุ้มครองข้อมูล “ส่วนบุคคล” สหภาพยุโรป) โดยมีเจตนารมณ์สำคัญก็คือ เขามองว่า AI ควรจะปลอดภัย เข้าถึงได้กับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม

กฎหมายควบคุม AI ในไทย

สำหรับประเทศไทย เราเคยมีไกด์ไลน์ต่างๆ ส่วนเรื่องของตัวกฎหมาย คงต้องตามยุโรปคล้ายกรณีของ PDPA เราที่ตาม GDPR ซึ่งการออกกฎหมายควรจะต้องเอาทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมาคุยกัน ไม่ใช่แค่นักกฎหมายหรือนักบริหารที่เกี่ยวข้อง

ติดตามรายการ ดิจิทัลไทยแลนด์ กับ เอิ้น ปานระพี ตอน “ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI ” ออกอากาศวันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2565
ในรายการ Digital Thailand ออกอากาศ ทุกวันเสาร์ ทางช่อง 3 กด 33 เวลา 4.40 น.- 5.05 น.

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/it24hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/it24hrs
IG: panraphee
TikTok : iT24Hrs

ติดต่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รีวิว พิธีกร วิทยากร
โทร 0802345023
line @it24hrs-sales

Комментарии

Информация по комментариям в разработке