วิถีหมู่บ้านปั้นครกและสาก จ.นครพนม - ยโสธร | ซีรีส์วิถีคน [CC]

Описание к видео วิถีหมู่บ้านปั้นครกและสาก จ.นครพนม - ยโสธร | ซีรีส์วิถีคน [CC]

หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่เกือบ 200 ปี
บ้านกลาง ต.โนนตาล มีอาชีพทำนาข้าว สวนยางพาราและสวนสับปะรด อีกทั้งยังสืบทอดภูมิปัญญาการทำเครื่องปั้นดินเผามาจากบรรพบุรุษยาวนานนับร้อยปี โดยปั้นของใช้จำเป็นในในวิถีชีวิต เช่น ไหใส่ปลาร้า ครก ฯลฯ แต่เดิมคนบ้านกลางปั้นไหสำหรับหมักปลาร้าและปั้นครกเป็นหลัก ต่อมาไหไม่ได้รับความนิยมจึงปั้นครกเพียงอย่างเดียว เมื่อเข้ามาถึงหมู่บ้านจะเห็นผู้คนทุกเพศทุกวัย นวดดิน คนปั้นครก ตากครก ใช้ชีวิตร่วมกันตั้งแต่กินข้าวถึงนอนร่วมห้องกับครก เพราะบริเวณบ้าน ทั้งด้านนอกด้านใน ไม่มีตรงไหนที่ไม่มีครก เพราะเป็นช่วงสำคัญที่ต้องป้องกันไม่ให้ครกที่ปั้นเสร็จใหม่โดนน้ำฝนเสียหาย

ครกดีทนทาน เสียงกังวาฬเหมือนระฆัง
ครกบ้านกลางที่ขึ้นชื่อว่าเป็นครกดีมีชื่อเสียง เพราะคุณภาพดี สีเข้มเหมือนหิน เคาะแล้วเสียงดัง กังวาฬเหมือนเสียงระฆัง ใช้งานทนทาน จึงมีพ่อค้าจากหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสานมารับไปจำหน่ายตลอดปี ซึ่งเป็นครกที่มีหลายขนาดตามแต่ลูกค้าสั่ง ตั้งแต่ขนาดจัมโบ้ ครกใหญ่ ครกกลางหรือครกจีม ครกเล็ก ครกจิ๋วหรือครกต๊อก และครกแต๊กซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด จำหน่ายในราคา 30 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดของครก

วัตถุดิบสำคัญจากแหล่งเดียว คือ ดินเหนียวหนองกุดค้าว
คนบ้านกลางใช้ดินเหนียวจากดินในการปั้นครก ซึ่งเป็นดินแหล่งเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนมือที่ใช้ขุด คือ จอบ ไม่สามารถใช้อุปกรณ์อื่น คำภา วิพรรณะ หรือลุงภา เป็นอีกคนหนึ่งขุดดินขายมานานหลายสิบปี มีรายได้จากการขายดินไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท ลุงภาบอกว่า ใช้รถอีแต๊กขนไปขาย 3 คัน 1,000 บาท แต่กว่าจะได้ดินที่ดีมีคุณภาพต้องขุดลึกลงไปประมาณ 2 เมตร และใครมีเรี่ยวแรงก็สามารถขุดไปใช้ ไปขายได้ แต่ช่วงนาทีทองมีเพียง 4 - 5 เดือน ในฤดูแล้งเท่านั้น คนบ้านกลางที่ปั้นครกจึงต้องมีโรงเก็บเรือนเก็บดินไว้ให้พอใช้ตลอดปี

ปั้นด้วยแม่พิมพ์ก็ได้ ปั้นด้วยมือก็ดี อยู่ที่ความพอใจ
การปั้นครกของคนบ้านกลาง มีทั้งปั้นด้วยแม่พิมพ์ และปั้นด้วยมือ ซึ่งไม่ว่าวิธีใดก็มีขั้นตอนเหมือนกัน คือ ต้องตากดินให้แห้ง นำไปแช่น้ำให้ดินนิ่ม นวดดินให้ได้ที่ และปั้นขึ้นรูป ในสมัยนี้นิยมใช้แม่พิมพ์ เพราะง่ายทำได้รวดเร็วตามแบบที่กำหนด ส่วนการปั้นด้วยมือนั้นเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน หนึ่งในคนที่ปั้นครกด้วยมือคือ นายเรียน สาหัส หรือพี่ออน บอกว่าไม่เคยใช้แม่พิมพ์เลย เพราะสามารถปั้นได้อย่างรวดเร็วอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทุนค่าแม่พิมพ์ ใช้แค่สองมือก็พอแล้ว

ใช้เตาเผาสามัคคี ที่เรียกว่า "เตาแมงป่อง"
คนบ้านกลางใช้เตาเผาแบบดั้งเดิม เรียกว่า เตาแมงป่อง เป็นเตาขนาดใหญ่เผาครกได้ตั้งแต่ 1,500 - 2,000 ใบ ทำจากดินจอมปลวกเพราะทนทานใช้งานได้นาน แต่ต้องได้รับการดูแล ทั้งซ่อมแซมผนังที่ผุกันถล่มขณะเผา และเคาะขี้แก้วออกเพื่อไม่ให้แก้วหยดใส่ครกเสียหาย ซึ่งเตาเผาครกที่นี่ มีทั้งแบบส่วนตัวที่ใช้ร่วมกันในกลุ่มเครือญาติหรือเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง และเตาส่วนกลาง ที่ต้องเสียค่าบำรุงปีละ 1,000 บาท แต่ไม่ว่าจะเผาที่เตาไหนก็ต้องสามัคคีกัน เพราะขั้นตอนการนำครกเกือบสองพันใบเข้าเตา การเผาครกที่ใช้เวลา 3 - 4 วัน รวมไปถึง การนำเตาออกจากครก ต้องช่วยกัน 3 - 5 ครอบครัว ซึ่งจะหมุนเวียนช่วยเหลือกันและกัน

ครกดีบ้านกลาง จ.นครพนม สากดังบ้านโคกวิไล จ.ยโสธร
บ้านโคกวิไล ต.สามัคคี อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงว่าทำสากคุณภาพดี อยู่ห่างจากบ้านกลางเกือบ 200 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่สืบทอดฝีมือการทำสากขายมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ผู้ใหญ่ตุ๊ หรือ นางตุ พุฒจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน เล่าว่าคนที่นี่ทำสากและทำนับสิบหลังคาเรือน เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ว่างจากทำไร่นาก็มาผลิตสากเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัวอีกช่องทางหนึ่ง พ่อวี อารีย์ ศรีอุบล ช่างทำสากประจำหมู่บ้าน บอกว่าสากที่นี่ทำจากไม้น้ำเกลี้ยงหรือไม่รักใหญ่เพียงอย่างเดียว เพราะมีสีที่สวย ใช้งานได้นาน ทนทาน ไม่แพง ราคาตั้งแต่ 8 - 50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด สีสัน และส่วนของไม้ที่นำมาทำสาก

ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/TheConnect

#ซีรีส์วิถีคน #ปั้นครก #เครื่องปั้นดินเผา

-------------------------------------------------------

กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : http://thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่

Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBS
Twitter :   / thaipbs  
Instagram :   / thaipbs  
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
TikTok :   / thaipbs  
YouTube :    / thaipbs  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке