ดอยม่อนเงาะ Doi Mon Ngo I อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ I ตอนที่ 1 รีวิวเส้นทาง Ep.1 Route Review

Описание к видео ดอยม่อนเงาะ Doi Mon Ngo I อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ I ตอนที่ 1 รีวิวเส้นทาง Ep.1 Route Review

ดอยม่อนเงาะ Doi Mon Ngo
วิวทะเลหมอกที่สวยงาม บนดอยสูง เหมือนภูชี้ฟ้า…แห่งที่สอง
The beautiful foggy sea view on a high mountain like Phu Chee Fah…the second place.
ตอนที่ 1 รีวิวเส้นทาง Ep.1 Route Review https://goo.gl/maps/4uAQx6PkrDWT8SrQ8
ห่างจากเมืองเชียงใหม่ 68 กม. ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชม.
ถนนเป็นทางลาดยาง และคอนกรีต ตลอดจนถึงหมู่บ้านม่อนเงาะ ถนนจะแคบและทางจะเริ่มชัน ตั้งแต่สามแยก อบต.เมืองก๋าย และเส้นทางจากหมู่บ้านม่อนเงาะ ไปยอดดอยจะเป็นทางดินลูกรัง อยู่ช่วงหนึ่งก่อนถึงลานกลางเต็นท์ม่อนเงาะ ประมาณ 500 เมตร ช่วงทางลูกรังฤดูฝนทางอาจจะลื่นหน่อย แต่ก็สามารถค่อยๆ ไปได้ แต่ถ้าไม่อยากเอารถขึ้นเอง ก็มีรถของชุมชนบริการขึ้นลงที่หมู่บ้าน
รายละเอียดของเส้นทาง จากเมืองเชียงใหม่ไปตามถนนหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ผ่าน อ.แม่ริม ถึงสี่แยกเลี่ยงเมืองแม่มาลัย-ปาย ให้เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 ประมาณ 12 กม. ถึงวัดสบเปิงด้านซ้ายมือ ลดความเร็วรถ เลยไป 100 เมตร จะเจอสามแยกให้เลี้ยวขวา ไปตามถนนทางหลวงชนบทหมายเลข ชม.3052 (สบเปิง-เมืองก๋าย) เข้าไปอีก 10 กม. เจอสามแยก อบต.เมืองก๋าย ให้เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนในหมู่บ้าน (เมืองก๋าย-ม่อนเงาะ) ระยะทาง 7 กม. ช่วงนี้ระมัดระวัง เป็นหมู่บ้าน ค่อนข้างแคบ ขึ้นเขา ใช้เวลา 20 นาที

ตั้งอยู่ บ้านม่อนเงาะ ต.เมืองก๋าย อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
แผนที่ map https://goo.gl/maps/UnzvvGE9aoeDfUUFA

มีความสูง 1,425 เมตร จากระดับน้ำทะเลปลานกลาง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จุดชมวิวทะเลหมอกที่สวยงามแห่งหนึ่งที่ใกล้เมืองเชียงใหม่ ในฤดูหนาว และฤดูฝน กับวิวทิวเขาสลับไปมา จนสุดสายตา เป็นวิวทิวทัศน์ของ 3 ยอดดอยใหญ่ของ จ.เชียงใหม่ นั่นคือ ยอดดอยอินทนนท์ ยอดดอยหลวงเชียงดาว และยอดดอยผ้าห่มปก อากาศด้านบนจะเย็นสบาย ที่นี่ได้รับการยกให้เป็น “ภูชีฟ้าแห่งที่สอง”

ไฮไลต์ของที่นี่ คือ จุดชมวิวบนยอดดอยสุดสวย แบบพาโนราม่า เห็นทุกมุม 360 องศา เป็นจุดชมวิวทั้งพระอาทิตย์ขึ้น และตก และชมทะเลหมอกที่มีความสวยงาม ที่สำคัญคือ ระยะเดินเท้าขึ้นเขาแค่ 300 เมตร ทางไม่ชันมาก

บ้านม่อนเงาะเป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าม้ง “ม่อนเงาะ” เพี้ยนมาจากคำว่า “โม่งโง๊ะ” เป็นภาษาม้ง ที่แปลว่า “แม่” และที่นี่เคยดำรงชีพด้วยการปลูกฝิ่น บุกรุกทำลายป่า มีบ้านเรือนประมาณ 50 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ.2528 โครงการหลวงเริ่มพัฒนา และส่งเสริมการปลูกผักให้เหมาะสมกับพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดชัน อาทิ กะหล่ำปลี ฟักทองญี่ปุ่น จนป่าเริ่มกลับมาสมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке