ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อควบคุมโรคพืช

Описание к видео ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อควบคุมโรคพืช

จากสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงมากนะครับในปัจจุบันนี้ แม้กระทั่งช่วงต้นปีซึ่งเป็นปลายฤดูหนาวจนมาถึงช่วงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนก็ยังมีฝนตกหรือว่าฝนหลงฤดูมาตั้งแต่ต้นปี


การที่มีฝนตกมาอย่างนี้นะครับทำให้ความชื้นความแฉะก็มีผลต่อพืชของเราแน่นอน...สิ่งที่จะเจออันดับแรกที่มากับความชื้นความแค่นั้นก็คือพวกเชื้อราร้ายที่เป็นสาเหคุของโรครากเน่าโคนเน่า

ผนวกกับสภาพของดินในแต่ละพื้นที่มีความเสื่อมโทรมมาก เกษตรกรก็มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชอย่างหนัก...โดยไม่มีการปรับปรุงสิ่งจึงทำให้เกิดปัญหาการระบาดของเชื้อราทางดิน...หลายๆคนก็ใช้ทั้งสารเคมีกำจัดเชื้อรา..แต่เกษตรกรหลายๆคนก็เลือกที่จะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา...

เรามาทำความเข้าใจกับเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ากันสักนิดนึงนะครับ...โดยปกติแล้ว..เชื้อรามันก็จะมีทั้งเชื้อราชนิดดีและก็เชื้อราชนิดร้าย...ซึ่งเชื้อราไตรโคเดอร์ม่านะครับก็เป็นเชื้อราดีชนิดนึง ซึ่งจะไม่มีอันตรายกับพืชแมลงสัตว์และก็คน โดยที่อาศัยอยู่ในดิน โดยอาศัยพวกเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร

จริงๆแล้วนะครับเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าจัดว่าเป็นเชื้อราดีที่มีคุณสมบัติในการควบคุมและก็ทำลายเชื้อราร้าย...ซึ่งเชื้อราร้ายนั้นที่เราได้คุ้นเคยกันดีก็ไม่ว่าจะเป็นพวกเชื้อราไฟทอปธอร่า, เชื้อราพิเทียม, เชื้อราฟิวซาเรียม...ซึ่งเชื้อร้ายพวกนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช พี่มากับสภาพดินที่เสื่อมความชื้น จากนั้นก็จะเข้าทำลายรากของพืช ทำให้พืชเกิดโรครากเน่าโคนเน่าโดยเฉพาะเชื้อราไฟทอปธอร่าที่เป็นปัญหากับชาวสวนทุเรียนเป็นอย่างมาก

เมื่อเรารู้ว่าเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามีคุณสมบัติและมีประโยชน์มากมายนะครับทีนี้เรามารู้จักวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าให้เกิดประโยชน์มากที่สุดนะครับ

วิธีการใช้เชื้อลาแต่คนพม่ากลับก็มีอยู่หลายอย่าง
- ไม่ว่าจะเป็นการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาคลุกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะทำการปลูก โดยใช้ประมาณ 2 ช้อนแกง ต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม
- หรือจะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่ารองก้นหลุมก่อนการปลูก โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าประมาณ 1 กิโลกรัม บวกกับรำละเอียด 5 กิโลกรัมและปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัม
- หรือว่าจะใช้เป็นการผสมกับวัสดุปลูก ไม่ว่าจะเป็นพวก ดินปลูก ขุยมะพร้าว แกลบดิบ แกลบเผา โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่เป็นเชื้อสด 1 ส่วน ต่อวัสดุปลูก 4 ส่วน
- ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นเพื่อเป็นการป้องกันเชื้อราก็ได้นะครับโดยใช้พวกเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นบริเวณที่เกิดอาการที่เป็นเชื้อราได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นกิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล


การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่านะครับทั้งแบบเชื้อสด ผงแห้ง หรือว่าอยู่ในรูปแบบน้ำ....เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด..ก็ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม พอดี และก็ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วยนะครับไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดินจะต้องไม่มีสภาพความเป็นกรด เป็นด่างจนเกินไป

การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าก็ควรเลือกฉีดพ่นในเวลาแสงแดดอ่อนๆไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้าหรือว่าช่วงเย็นนะครับเพราะว่าถ้าเราฉีดพ่นในช่วงแดดจัดอาจจะทำให้เชื้อราโดนแดดแล้วก็ตายได้

และถ้าสภาพดินบริเวณที่จะฉีดพ่นมีสภาพที่แห้งมากก็ควรให้นำพอให้ดินมีความชื้นหรือทำการรดน้ำทันทีหลังฉีดพ่น เพื่อที่จะทำให้เชื้อแทรกซึมไปในดินได้ดี
แต่ในการฉีดน้ำ การรดน้ำก็ไม่ควรฉีดน้ำให้มีสภาพที่เปียก แฉะ จนเกินไป หรือไม่ควรฉีดพ่นหลังที่ฝนตก

ในกรณีที่เราจะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมกับพวกปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ควรที่จะเป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่ผ่านกระบวนการหมักที่สมบูรณ์ เพราะว่าถ้าเป็นปุ๋ยขี้วัวขี้ควายสดหรือปุ๋ยคอกที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการหมักที่สมบูรณ์จะมีความร้อนซึ่งความร้อนจะทำให้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไม่ได้ประโยชน์หรือว่าเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าตายได้

และที่สำคัญนะครับ...มีเกษตรสอบถามมาเยอะมากเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมร่วมกับสารเคมีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยทางใบหรือว่าพวกสารกำจัดแมลงโรค..จะทำลายเชื้อไตรโคเดอร์มาไหม..การนำสารเคมีต่างๆมาผสมร่วมกับเชื้อราไตรโครเดอร์มาก็มีผลเหมือนกันครับแล้วแต่ชนิดสารที่นำมาผสมด้วย แต่ไม่มากเหมือนกลุ่มสารกำจัดเชื้อรา....แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิมากที่สุดก็ไม่ควรที่จะผสมสารเคมีอื่นๆครับ

และครับห้ามใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าฉีดพ่นในแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด เพราะว่าเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเชื้อราที่กินเชื้อราชนิดอื่นๆเป็นอาหาร ซึ่งเห็ดเป็นพืชที่อยู่ในกลุ่มเชื้อราเช่นเดียวกัน

ในเรื่องของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มานะครับ...ก็มีข้อควรระวังอยู่นิดหนึ่ง... ในการเลือกซื้อเชื้อราไตรโคเดอร์ม่านะครับก็ต้องซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ ไม่ใช่เห็นเขียวก็ซื้อมาใช้...ซึ่งมักจะสับสนกับเชื้อราแอสเพอจิลลัส (Aspergillus) เพราะถ้าเชื้อเข้าปอดอาจจะเกิดอันตรายได้...ดังนั้นทุกขั้นตอนในการใช้ก็ต้องใส่หน้ากากใส่ถุงมือไม่ควรเอามือผสมเชื้อโดยตรงต้องสวมถุงมือยาง และใช้อุปกรณ์ในการผสมเชื้อรา
ถึงแม้เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะไม่เป็นอันตรายโดยตรงกับ คน และสัตว์ ดังนั้นเมื่อทราบข้อมุลข้างต้นแล้วก็ควรตระหนักและมีการป้องกันตนแองไม่สัมผัสเชื้อโดยตรงควรมีอุปกรณืป้องกัน ซึ่งจะทำให้ไม่ได้รับอันตรายจากการใช้เชื้อ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดครับ

+++++++++++++++++

ติดต่อฅนเกษตร :   / konkaset89  
ติดต่อทีมงาน Production :   / korkai.studio9  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке