เพลงเหาะ ระนาดเอก เบิ่ง-ทวีศักดิ์ อัครวงศ์ ครบเครื่องเรื่องปี่พาทย์ Ep.19/19 end

Описание к видео เพลงเหาะ ระนาดเอก เบิ่ง-ทวีศักดิ์ อัครวงศ์ ครบเครื่องเรื่องปี่พาทย์ Ep.19/19 end

#ครบเครื่องเรื่องปี่พาทย์ Ep.19 เพลงเหาะ ฟังสบายฟังเพลินพร้อมสาระ มารู้จักการประสมวงปี่พาทย์ ลักษณะ หน้าที่และวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น รวมถึงประวัติความเป็นมาของวงปี่พาทย์ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จวบถึงสมัยรัชกาลที่ 9

ทางทีมงาน Siammelody ร่วมกับ ดร.สมาน น้อยนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ท่านเป็นทั้งศิลปินกองการสังคีต เป็นอาจารย์สอนดนตรีไทย วิทยาลัยนาฏศิลป จนเกษียณอายุราชการ และยังได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษสอนตรีไทย ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

ท่านได้รวมองค์ความรู้เรื่องวงปี่พาทย์แบบต่าง ๆ ของไทยซึ่งมีทั้งสิ้น 19 ตอน เพื่อให้ความรู้ ว่าด้วยเพลงปี่พาทย์อย่างครบครัน เหมาะสำหรับประชาชนคนไทย นักเรียน นักศึกษา ได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติและความเป็นมาของเพลง เมื่อได้รับฟังจนจบครบทุกตอนแล้ว เชื่อเหลือเกินว่าท่านผู้ฟังจะได้ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของชาติไทยเรา ที่มีมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย เรื่อยมาจวบจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสิทร์
ท่านจะรู้สึกได้ว่า "วัฒนธรรมดนตรีไทยของชาติไทยเราไม่แพ้ชาติใดในโลก"

ลักษณะและวิธีการบรรเลง ในการประสมวงปี่พาทย์ เริ่มด้วยการศึกษาท่องจำทำนองหลัก หรือที่เรียกว่าทำนองฆ้อง หรือเนื้อเพลงให้แม่นยำ

จากนั้นผู้ที่บรรเลงระนาเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก และปี่ จะต้องแปลทำนองหลักให้เป็นทำนอง (ทาง) ของตัวเอง ไปตามหน้าที่ที่มีบัญญัติไว้จนจบเพลง

สำหรับเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับ อันได้แก่ เครื่องหนังประเภทต่าง ๆ จะตีกำกับควบคู่ไปกับทำนองเพลง
โดยผู้ตี ต้องขึ้นต้นหน้าทับให้ถูกต้อง กับวรรคตอนและประโยคของทำนองเพลง ทั้งนี้จะมีฉิ่งเป็นผู้กำกับจังหวะ ให้รู้อัตราความช้าเร็วของทำนองเพลง เป็นหัวใจในการรักษาจังหวะ ของนักดนตรีทุกเครื่องมือ และเพื่อให้เสียงดนตรีในวงมีรสชาติขึ้น จะนำฉาบ กรับ โหม่ง เข้ามาประกอบ

นอกจากนั้นผู้บรรเลงทุกคนในวงจะต้องคำนึงถึงน้ำหนัก (รสมือ) ในการบรรเลงเครื่องดนตรีของตัวเอง โดยไม่ดังหรือเบาจนเกินไป ประคับประคอง (ประคบมือ) ให้เสียงของดนตรีแต่ละเครื่องมือ ดังกลมกลืนกัน

ตัวอย่างวิธีการบรรเลงรวมวง เพลงเหาะ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
1.ฆ้องวงใหญ่ บรรเลงทำนองหลัก โดยมีฉิ่งตีกำกับจังหวะ บรรเลงโดย อ.ลำยอง โสวัตร
2.ระนาดเอก บรรเลงเป็นทางระนาดเอก บรรเลงโดย อ.ทวีศักดิ์ อัครวงศ์
3.ระนาดทุ้ม บรรเลงเป็นทางระนาดทุ้ม บรรเลงโดย อ.ดุษฎี มีป้อม
4.ฆ้องวงเล็ก บรรเลงเป็นทางฆ้องวงเล็ก บรรเลงโดย อ.ไพรัตน์ จรรย์นาฏย์
5.ระนาดเอกเหล็ก บรรเลงเป็นทางระนาดเอกเหล็ก บรรเลงโดย อ.เกรียงไกร อ่อนสำอางค์
6.ระนาดทุ้มเหล็ก บรรเลงเป็นทางระนาดทุ้มเหล็ก บรรเลงโดย อ.ทรงยศ แก้วดี
7.ปี่ บรรเลงเป็นทางปี่ บรรเลงโดย อ.รัตน์ปกรณ์ ญาณวารีย์ และอ.จักรยุทธ ไหลสกุล
8.ตะโพน ตีหน้าทับกำกับทำนองเพลง บรรเลงโดย อ.ฐิระพล น้อยนิตย์
9.กลองทัด ตีไม้กลองกำกับทำนองเพลง บรรเลงโดย อ.นิรุจน์ ฤาวิชา
10.ฉาบเล็ก ตีกำกับจังหวะ บรรเลงโดย อ.มนตรี เปรมปรีชา
11.ฉาบใหญ่ ตีกำกับจังหวะหนัก บรรเลงโดย อ.ศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน
12.กรับ ตีกำกับจังหวะหนัก บรรเลงโดย อ.กิตติ อัตถาผล
13.โหม่ง กำกับจังหวะใหญ่ หรือจังหวะหนัก บรรเลงโดย อ.พันธ์ศักดิ์ เอี่ยมจรูญ

วิดีโอชุดนี้จัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือของนักดนตรีชั้นนำจากกรมศิลปากร เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวงปี่พาทย์ จัดทำด้วยระบบสื่อ Multi Media ประกอบด้วยคำอธิบายความเป็นมาของวงปี่พาทย์ แนะนำหน้าที่เครื่องดนตรีประกอบวง และแสดงการบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์รูปแบบต่าง ๆ เหมาะสำหรับครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจดนตรีไทย ตลอดจนห้องสมุดต่างๆ ได้มีไว้ใช้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น

จัดทำ/รวบรวม : ดร.สมาน น้อยนิตย์
บรรเลง/ขับรอง : คณาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
บันทึกภาพ/เสียง : บริษัท โอเชี่ยน มีเดีย จำกัด
อำนวยการผลิต : ปรีชา ธรรมพิภพ

ทางทีมงานรู้สึกยินดี และขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่รับชม รวมถึงเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม และดนรีไทย ท่านสามารถร่วมสนับสนุนเราได้ ด้วยการกดติดตาม กดไลก์ กดแชร์ ส่งต่อสิ่งดีงามให้ญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อช่วยกันจรรโลงวัฒนธรรม ดนตรีไทยให้แพร่หลาย ก้าวไกลสู่สังคมไทย ขจรไกลไปทั่วโลก

อัปเดตศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทุกวันที่นี่    / @siammelodies  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке