ถ้ำเชลย [กาญจนบุรี] Tham Chaloei or Captives Cave[Kanchanaburi,Thailand]

Описание к видео ถ้ำเชลย [กาญจนบุรี] Tham Chaloei or Captives Cave[Kanchanaburi,Thailand]

Tham Chaloei or Captives Cave. A cave used during the second world war in the death railway scenario of Kanchanaburi

#ถ้ำเชลย #ThamChaloei #CaptivesCave อยู่ไม่ไกลจากถ้ำกระแซมากนัก ใครมากาญจนบุรี แนะนำเลยครับให้ลองไปเที่ยวดู ด้านหน้าจะมีอาคารพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ด้านหน้า เป็นอาคารปูนสีเขียวๆ ด้านในมีภาพถ่ายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 จัดแสดงไว้ ( แต่ผมไม่ได้พาเข้าไปชมเนื่องจากปิดครับ) ส่วนทางขึ้นถ้ำจะอยู่ทางขวาของตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ มีป้ายบอกทางชัดเจน ก่อนขึ้นไปแนะนำให้เตรียมน้ำดื่มและไฟฉายไปด้วย ( ยุงค่อนข้างเยอะท่านได้ใส่กางเกงขาสั้นเสื้อแขนสั้น ก็เตรียมยาทากันยุงไปด้วยก็ดีครับ) ระยะเดินเท้าประมาณ 400 เมตร ช่วง 200 เมตรแรก เป็นทางคอนกรีตเดินขึ้นเขาเหนื่อยพอสมควรและต่อจากนั้นก็เป็นทางเดินป่าธรรมชาติสบายๆ ลักษณะเป็นป่าโปร่งไผ่รวก ด้านหน้าปากถ้ำกว้างเป็นห้องโถงใหญ่ มีบันไดเดินลงไปด้านในถ้ำ เมื่อมองจากห้องโถงใหญ่ในตัวถ้ำขึ้นมาจะเห็นแสงสวยงามมาก และยังมีหินงอกหินย่อยให้ชมความสวยงามอีกด้วย นอกจากนี้ภายในถ้ำยังแบ่งเป็นห้อง ๆ ตามแผนที่แสดงรายละเอียดจุดต่าง ๆ ดังนี้

1.ห้องบัญชาการ(โถงใหญ่)
2.ห้องสันติภาพ
3.ห้องหนึ่งในจักรวาล
4.บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ 5.ห้องประการัง
6.ห้องสวรรค์ดาวดึงส์
7.ห้องดนตรี
8.ห้องเชลยหลบซ่อน
9.ห้องม่านประกายเพชร
10.ห้องร่มฉัตร
11.ห้องปล่องแสงทอง
12.ห้องประหาร

ประวิติ ถ้ำเชลย CAPTIVE CAVE
เมื่อ พ.ศ. 2484 ถึง พ.ศ. 2485 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ก่อสร้างทางรถไฟจากประเทศไทยไปประเทศพม่าและอินเดียระยะทางกว่า 400 กม. เพื่อใช้ขนส่งกองทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์จากไทยไป ยุโรป ญี่ปุ่นได้จับเชลยศึกฝ่ายพันธมิตรได้ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย เนเธอแลนด์ และเกณฑ์พลเรือนแถบเอเซีย กว่าสองแสนคน เพื่อสร้างทางรถไฟให้เสร็จภายใน 1 ปี เมืองกาญจนบุรีเป็นชัยภูมิสำคัญในการสร้างทางรถไฟเพื่อนำพากองทัพญี่ปุ่นบุกรบไปยึดประเทศในทวีปยุโรปเพราะระยะทางจากอ่าวไทยไปถึงพม่าไม่ไกล และสภาพพื้นที่เป็นป่าเขาเหมาะแก่การบดบังอำพรางกองทัพ เพื่อหลบหลีกจากการถูกโจมตีกองทัพที่เดินทางโดยเรือทางทะเล ด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดจากฝ่ายพันธมิตรได้เป็นอย่างดี ค่ายเชลยถูกสร้างขึ้นตลอดเส้นทางรถไฟตัดผ่าน เชลยศึกนับแสนคนที่ถูกทหารญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายนี้ ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคภัย ไข้เจ็บ ไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย โรคอหิวาต์ตายกันทุกวันดังใบไม้ร่วง ที่เหลือก็ถูกบังคับทำงานอย่างหนัก เพื่อเร่งสร้างทางรถไฟให้เสร็จทันในเวลา 1 ปี บริเวณนี้เป็นค่ายเชลยขนาดใหญ่ และพักอยู่นานเพื่อสร้างสะพานถ้ำกระแซที่ยากลำบากระหว่างการสร้างทางและสะพานรถไฟจะถูกเครื่องบินฝ่ายพันธมิตรมาทิ้งระเบิดบ่อยครั้งมาก ทหารญี่ปุ่น พร้อมเชลยศึกต้องวิ่งหาที่หลบภัย ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่หนึ่งซึ่งเชลยศึกได้วิ่งขึ้นมาเพื่อหลบภัยและได้ค้นพบ และทุกคนที่ได้มาหลบภัยในถ้ำแห่งนี้แล้วรอดพ้นจากการถูกระเบิดที่ทิ้งมาจากเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตรอย่างน่าอัศจรรย์ Mr.John Coast เชลยศึกชาวออสเตรเลียที่รอดตายได้กลับมาเล่าว่า ตนและเชลยศึกอีกหลายคนที่ขึ้นมาหลบระเบิดในถ้ำนี้แล้วป่วยเป็นไข้ป่าอย่างหนักใกล้ตายกลับลงไปทำงานไม่ไหว ทหารญี่ปุ่นที่คุมเชลยถ้ำแห่งนี้ เห็นว่าใกล้ตายจึงปล่อยทิ้งไว้ให้ตาย ไม่ให้อาหารและยา ไม่นำกลับไปค่ายด้านล่างภูเขาเพื่อไปสร้างทางรถไฟต่อไป ปล่อยให้ตายบนเขาแห่งนี้ เชลยหลายสิบคนที่ป่วยเป็นไข้ป่า (มาลาเรีย)อย่างหนัก ไม่มียา ไม่มีอาหารให้กิน ได้อาศัยกินน้ำผึ้งป่า และผลไม้ป่าที่หาได้และอาศัยน้ำแอ่งหินภายในถ้ำ แต่เกิดอัศจรรย์เมื่อกินน้ำที่อยํ่ในแอ่งหินขนาดเล็กภายในถ้ำที่ตักดื่มกินเท่าไหร่ก็ไม่แห้งสักที แล้วทุกคนที่ป่วยจากไข้ป่าอย่างหนักกลับหายป่วยอย่างอัศจรรย์ทุกคน จนทำให้ทหารญี่ปุ่นที่เป็นทหารเวรเฝ้าเชลยศึกแปลกใจเป็นอย่างมากว่าเชลยที่ป่วยใกล้ตายไม่มียาให้กินแล้วหายได้อย่างไร Mr.John Coast ได้บอกกับทหารญี่ปุ่นว่าได้ดื่มน้ำในแอ่งหินศักดิ์สิทธิ์ภายในถ้ำแล้วหายป่วยเอง แต่ทหารญี่ปุ่นไม่เชื่อและได้นำเอาน้ำในแอ่งหินนี้ไปให้ทหารญี่ปุ่นเองและเชลยที่ป่วยเป็นไข้ป่าอย่างหนักกิน และไม่กี่วันทุกคนที่ป่วยหนักกลับหายป่วยจริง ทหารญี่ปุ่นจึงเชื่อ และได้ไว้วางใจ Mr.John Coast และได้ให้เป็นหัวหน้างานและเป็นเชลยศึกผู้หนึ่งที่ได้รอดตายจากสงครามโลกครั้งที่สอง ได้กลับมาเล่าประวัติฯ ถ้ำแห่งนี้ ถ้ำแห่งนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งสำคัญ และต่อมาจึงได้ตั้งชื่อว่า ถ้ำเชลยฯ

จากบันทึกป้ายหินแกรนิตหน้าถ้ำเชลย
บันทึกเมื่อ พ.ศ. 2515
ก่อสร้างเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ฝากทุกท่านกดติดตามและกดรูปกระดิ่ง เพื่อจะได้รับการแจ้งเตือนทุกครั้งที่ลงคลิปใหม่ๆ และจะไม่ได้พลาดคลิปของ #แสนดีออนทัวร์SandeeOntour
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ของแสนดีออนทัวร์ ได้ที่
on:   / @sandeeontour  
on:   / sandeeontour  
on:   / zipforyou  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке