สาธิตการทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง | EP.63 | CU Channel Engagement

Описание к видео สาธิตการทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง | EP.63 | CU Channel Engagement

ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาพรรณไม้ต่าง ๆ ภายในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาพรรณไม้จึงได้ทำการจัดเก็บตัวอย่างพรรณไม้หลากหลายชนิด เช่น ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ตัวอย่างพรรณไม้ดอง เป็นต้น เพื่อร่วมสนองพระราชดำริงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) CU Channel Engagement ตอนนี้ จึงขอพาคุณผู้ชมมาชมการสาธิตการทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง เพื่อเก็บเป็นหลักฐานอ้างอิงและเทียบเคียงในการตรวจวิเคราะห์หาชื่อพรรณไม้ ว่าต้องเตรียมอะไรและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

วัสดุอุปกรณ์ในการทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง
1. ชิ้นตัวอย่าง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ประกอบไปด้วย กิ่ง ใบดอก หรือกิ่ง ใบ ผล
2. แผงอัดพันธุ์ไม้ กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 แผงประกบกัน
3. เชือกไส้ตะเกียงแบบแบนสำหรับผูกแผงอัดพันธุ์ไม้ กว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 150 เซนติเมตร
จำนวน 2 เส้นต่อแผง
4. กระดาษลูกฟูก (หรือเทียบเท่า) กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร
5. กระดาษหนังสือพิมพ์ กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร
6. ป้ายแสดงข้อมูลพรรณไม้ กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร
7. ป้ายข้อมูล (tag) สำหรับผูกพันธุ์ไม้ กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร
ปลายข้างหนึ่งเจาะรูสำหรับร้อยด้าย (ด้ายยาว 20 เซนติเมตร ทำเป็น 2 ทบ)
8. เข็มเบอร์ 8 และด้าย
9. กระดาษสีขาว 300 แกรมสำหรับเย็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 42 เซนติเมตร
10. ปกตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ใช้กระดาษสีขาว 300 แกรม
พับครึ่งให้ได้ขนาดกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร

ขั้นตอนการทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง
1. คัดเลือกส่วนของพืชในการทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ประกอบด้วย กิ่ง ใบ ดอก หรือกิ่ง ใบ ผล
ตัดชิ้นตัวอย่างพันธุ์ไม้ยาว 30 เซนติเมตร โดยพันธุ์ไม้หนึ่งชนิดให้เก็บอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง
2. ผูกป้ายข้อมูลที่ชิ้นตัวอย่างพันธุ์ไม้ในตำแหน่งกิ่งที่แข็งแรงที่สุด เพื่อป้องกันการสูญหาย
3. เตรียมอุปกรณ์สำหรับอัดพรรณไม้โดยวางแผงอัดพันธุ์ไม้ 1 แผง กระดาษลูกฟูก 1 แผ่นและ
กระดาษหนังสือพิมพ์ 1 คู่ ตามลำดับ
4. จัดชิ้นตัวอย่างพันธุ์ไม้บนกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เห็นลักษณะของหน้าใบ หลังใบ ดอกและผลชัดเจน
แล้วจึงปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษลูกฟูก 1 แผ่น และแผงอัดพันธุ์ไม้ 1 แผง ตามลำดับ
แล้วจึงผูกเชือกรัดแผงอัดพันธุ์ไม้ให้แน่น (แผงอัดพันธุ์ไม้ 1 แผง สามารถอัดพรรณไม้ได้ 1 – 10 ตัวอย่าง
ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของพรรณไม้)
5. อบตัวอย่างพรรณไม้ การอบพรรณไม้หรือตากตัวอย่างพรรณไม้สามารถตากไว้ในบริเวณพื้นที่
ที่มีแสงแดดส่องถึง หากในฤดูฝนหรือฤดูหนาวสามารถใช้วิธีการอบไว้ในตู้อบพรรณไม้ได้
6. เย็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง นำตัวชิ้นตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่แห้งสนิท
วางบนกระดาษสำหรับเย็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง เย็บยึดด้วยเข็มและด้ายบริเวณกิ่ง
และเส้นกลางใบให้ชิ้นตัวอย่างพันธุ์ไม้ติดแน่นกับกระดาษ โดยเว้นระยะแต่ละปมประมาณ 1 นิ้ว
หรือตามความเหมาะสมโดยไม่มีการตัดด้ายระหว่างการเย็บ
7. ติดป้ายแสดงข้อมูลพรรณไม้ ตรงมุมล่างด้านซ้ายของตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่ทำการเย็บเสร็จแล้ว
โดยทากาวเพียง 1 เซนติเมตรทางด้านซ้าย เพื่อให้สามารถเปิดปิดป้ายรายละเอียดข้อมูลพรรณไม้ได้


CU Channel Engagement ดำเนินการผลิตโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Facebook :   / cuclnr  
Website : http://www.clnr.chula.ac.th/index.php
#CUChannelEngagement2022 #CLNR #ChulalongkornUniversity #พรรณไม้แห้ง #งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น #อพสธ #สระบุรี

Комментарии

Информация по комментариям в разработке