Ep1​ วงจรชีวิตและสังคมผึ้งโพรงไทย​ | ฟาร์มผึ้งโพรงไทยออร์แกนิค​ Honey​ Bear

Описание к видео Ep1​ วงจรชีวิตและสังคมผึ้งโพรงไทย​ | ฟาร์มผึ้งโพรงไทยออร์แกนิค​ Honey​ Bear

สามารถเข้าไปกดติดตาม เพจได้ที่   / honeybear.est2020  

ผึ้งนางพญา
มีลักษณะตัวใหญ่กว่าผึ้งงาน และลำตัวยาวกว่าผึ้งตัวผู้ ปกติจะมีอายุ ๑-๒ ปี แต่บางตัวอาจมีอายุนานถึง ๓ ปี

ผึ้งงาน
เป็นผึ้งเพศเมีย มีขนาดเล็กที่สุด เนื่องจากในระยะที่เป็นตัวอ่อน ได้รับอาหารพิเศษคือ นมผึ้ง หรือรอยัลเยลลี (royal jelly) เพียง ๓ วัน หลังจากนั้นตัวอ่อนผึ้งงานที่มีอายุมากขึ้น จะได้กินแต่เกสร และน้ำผึ้ง ทำให้ขบวนการพัฒนาแตกต่างไปจากผึ้งนางพญามาก ในขณะที่ผึ้งนางพญาได้กินนมผึ้งตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุ ๑ วัน และได้กินต่อไปจนตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เพศเมีย ๒ วรรณะนี้ ผิดแผกแตกต่างกัน ทั้งลักษณะภายนอก และภายใน ตลอดจนภารกิจต่างๆ ผึ้งงานมีหน้าที่หลักในการทำงาน เช่น ทำความสะอาดรัง เลี้ยงดูป้อนอาหารให้ผึ้งตัวอ่อน สร้างและซ่อมแซมรัง เป็นทหารเฝ้ารัง ป้องกันศัตรู และหาอาหาร ผึ้งงานต้องรับภาระดังกล่าวเท่ากันทุกตัว ไม่มีการเอาเปรียบแก่งแย่งกัน หรือหลบงานเลย ทุกตัวรับผิดชอบงานของตนเอง โดยไม่มีใครบังคับ และไม่ต้องสั่งสอนกัน นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ผึ้งงานคือ หุ่นยนต์ที่มีชีวิตตัวน้อยๆ ทำงานเกือบตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นผึ้งงานจึงมีอายุสั้นเพียง ๖-๘ สัปดาห์ เท่านั้น

ผึ้งตัวผู้
มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนและสั้นกว่าผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้ไม่มีเหล็กใน มีลิ้นสั้น หาอาหารเองไม่ได้ แต่จะรับอาหารจากผึ้งงานเท่านั้น ผึ้งตัวผู้ไม่มีหน้าที่ทำงานภายในรัง ดังนั้นจึงมีหน้าที่ผสมพันธุ์อย่างเดียว เมื่อผสมพันธุ์ในอากาศเสร็จจะตกลงมาตาย เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ ผึ้งตัวผู้ที่ยังไม่มีโอกาสผสมพันธุ์จะถูกผึ้งงานปล่อยให้อดตายด้วย เราจะพบผึ้งตัวผู้ปรากฎในรังเฉพาะช่วยฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กับนางพญาแล้ว ผึ้งตัวผู้จะตายทันที

Комментарии

Информация по комментариям в разработке