กุหลาบใบหงิกงอ ยอดดำ ยอดไหม้ เพราะอะไร พร้อมวิธีดูแลรักษาให้กลับมาสวย

Описание к видео กุหลาบใบหงิกงอ ยอดดำ ยอดไหม้ เพราะอะไร พร้อมวิธีดูแลรักษาให้กลับมาสวย

สาเหตุที่ทำให้กุหลาบ ยอดดำ ยอดไหม้ ใบหงิกงอ ใบหุบย่น
1. ความร้อนจากแสงแดด อากาศร้อนจัด
2. ไหม้ปุ๋ย หรือ น็อคปุ๋ย ให้ปุ๋ยมากเกินไป
3. ให้ยาสารเคมีฉีดพ่นกำจัดแมลง ยาป้องกันเชื้อรา มากเกินไป
4.โดนเพลี้ยไฟ ไรแดง และ เพลี้ยต่างๆ แมลงปากดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบ ยอดอ่อน ยอดดอก
5. โรคเชื้อรา เช่น โรคใบจุดสีดำ โรคตากบ โรคราแป้ง โรคราน้ำค้าง โรคราสีเทา เป็นต้น
วิธีแก้ไข
1.อากาศร้อน แดดแรง น้ำระเหยมากออกทางปากใบ ผิวใบต้นไม่จะปรับตัวลดการคายน้ำทำให้ใบหงิกงอ หยิกย่น
จึงควร บังแสลม 50% หรือ พ่นละอองน้ำฝอยๆ และควรให้ปุ๋ยธาตุรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถันและ จุลธาตุ สังกะสี โบรอน แมงกานีส อาหารเสริมทางใบเสริมความแข็งแรงให้เซลล์พืช ทนร้อน ต้านทานโรคได้ดี
2. ปุ๋ยทางใบ /ปุ๋ยเม็ด ควรลดปริมาณลง ให้น้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ ได้ผลดีต่อพืช
3. เลือกใช้ยากำจัดแมลง เพลี้ยไฟ ไรแดง สูตรเย็น เช่น เอ็กซอล สลับกับ อะบาเมกติน ที่ไม่ทำลายยอด ยอดจะได้ไม่ไหม้ ไม่ควรลดปริมาณยา แต่ควรพ่นยาช่วงเย็นที่อากาศไม่ร้อน ลมไม่แรง ฝนไม่ตก ต้นไม่เหี่ยวเฉา
4. โดนเพลี้ยไฟ เพลี้ยต่างๆ ใช้สารกำจัดแมลง เช่น โรยสตาร์เกิลจี รอบโคนต้น 1-2 ช้อนชา รดน้ำตาม ทุก7-10 วัน หรือ พ่นยาทางใบ กลุ่ม สไปนีโทแรม เช่น เอ็กซอล สลับกับ อะบาเมกติน พ่นทุก 7-10 วัน
5. ใช้ยาป้องกันและรักษาเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง โรคใบจุดสีดำ โรคตากบ โรคราแป้ง โรคราสีเทา
ใช้ยา กลุ่มที่นิยม ไดฟีโนโคนาโซล เช่น Mancozep , Metalaxy, Cymoxanil , Captan , ไตรโคเดอร์มา
6. ควรตัดกิ่งที่เกิดโรค เกิดอาการตัดทิ้ง เด็ดใบ เด็ดยอด เพื่อทำลายทิ้งทันที และฉีดพ่นยารักษาหรือป้องกัน ในช่วงเย็นที่อากาศไม่ร้อน ลมไม่แรง คาดว่าฝนไม่ตก ต้นไม่เหี่ยวเฉา หรือขาดน้ำ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке