Ep 697 โรคลำไส้อักเสบ เป็นแล้วทรมานทำลายคุณภาพชีวิต

Описание к видео Ep 697 โรคลำไส้อักเสบ เป็นแล้วทรมานทำลายคุณภาพชีวิต

ลำไส้ใหญ่คือส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร เป็นที่รวมกากอาหารและของเสีย ไส้ตรง (Rectum) คือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่อยู่ติดกับช่องทวารหนัก เป็นอวัยวะที่เป็นทางผ่านของกากอาหารก่อนถูกขับออกจากร่างกาย โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ โดยอาการของโรคมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 15-30 ปี หรืออยู่ในช่วงอายุ 50-70 ปี
ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) คือโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory Bowel Disease: IBD) ชนิดหนึ่ง ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังจะเกิดการอักเสบที่เยื่อบุผิวบริเวณลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ส่งผลให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร อาการอักเสบที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดเลือดออกที่ผนังลำไส้ รวมทั้งทำให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงเกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง ถ่ายมีเลือดและมูกปนออกมาซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุผิวที่เกิดการอักเสบ
อาการของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังขึ้นอยู่กับว่าเกิดการอักเสบขึ้นที่บริเวณใด โดยทั่วไปแล้ว โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังมักปรากฏอาการ ดังนี้
ท้องร่วง ผู้ป่วยมักถ่ายมีมูกเลือดปนมาด้วย บางรายอาจเกิดอาการท้องร่วงกะทันหันและอาจถ่ายวันละ 10-20 ครั้ง จนบางครั้งทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นกลางดึกขึ้นมาเพื่อถ่าย
ท้องผูก การอักเสบของลำไส้บางส่วนอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งพบได้น้อยกว่าอาการท้องร่วง – มีอาการปวดบีบที่ท้อง - เจ็บที่ลำไส้ตรง ลำไส้ตรงมีเลือดออก- น้ำหนักลด
อ่อนเพลีย – เป็นไข้ - แคระแกร็น เกิดกับเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร
โรคลำไส้อักเสบอาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวดบริเวณข้อต่อ แผลในปาก ความผิดปกติที่ตาหรือตับ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยมักเกิดอาการเป็น ๆ หาย ๆ เกิดอาการอักเสบเรื้อรังเป็นปี (Remission) จากนั้นก็กลับมาเป็นซ้ำอีก (Flare-Up)
สาเหตุของลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
ทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังอย่างชัดเจน แต่สาเหตุที่เป็นไปได้อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ หรือภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โดยทั่วไปแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในร่างกายอย่างเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ภูมิคุ้มกันที่ผลิตขึ้นมานั้นก็จะทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายแทน ลำไส้อักเสบอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร โดยผู้ป่วยโรคนี้มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ทั้งนี้ พันธุกรรมก็อาจเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่วยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นลำไส้อักเสบมีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคนี้สูงขึ้น
การรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
ลำไส้ใหญ่อักเสบถือเป็นโรคเรื้อรัง เป้าหมายในการรักษาของโรคนี้คือเพื่อลดการอักเสบที่ก่อให้เกิดอาการป่วยของโรค เมื่ออาการของโรคอยู่ตัวแล้ว แพทย์จะติดตามผลการรักษาทุก 6 เดือน ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถไปพบแพทย์ได้บ่อยมากกว่านั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น การรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ได้แก่
การรักษาด้วยยา แม้โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังจะรักษาให้หายขาดด้วยยาไม่ได้ แต่การใช้ยานั้นจะช่วยให้ผู้ป่วย รักษาอาการอักเสบเรื้อรังที่เป็น ๆ หาย ๆ ให้ทรงตัว ลดผลข้างเคียงจากการรักษาและลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็ง รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น การรักษาด้วยยานั้นมักขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค บริเวณลำไส้ที่เกิดการอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ป่วยเป็น โดยทางเลือกในการใช้ยารักษานั้น ประกอบด้วย
อาการของโรคระดับอ่อนถึงระดับค่อนข้างรุนแรง ผู้ป่วยที่เกิดอาการของโรคในระดับนี้จะได้รับการรักษาด้วยยาที่บรรเทาอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ดังนี้
ยาอะมิโนซาลิไซเลต (Aminosalicylates) ที่อยู่ในกลุ่มยา Disease-Modifying Antirheumatic Drug (DMARD) โดยผู้ป่วยอาจได้รับยาผ่านการรับประทานหรือสวนทวารหนัก ซึ่งผู้ป่วยจะรับยารูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยเกิดอาการอักเสบที่บริเวณใดของลำไส้ ทั้งนี้ ยาอะมิโนซาลิไซเลตอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับไตและตับอ่อนซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น ยาเมซาลามีน (Mesalamine) ยาโอลซาลาซีน (Olsalazine) หรือยาบอลซาลาไซด์ (Balsalazide)
อาการของโรคในระดับรุนแรง หากผู้ป่วยเกิดอาการของโรคเรื้อรังต่อเนื่อง อาจต้องได้รับการรักษาด้วยยาตัวอื่น ดังนี้
ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) ยานี้จะช่วยลดอาการอักเสบ ยามีรูปแบบสำหรับรับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือสวนทวารหนัก ขึ้นอยู่กับว่าลำไส้เกิดการอักเสบที่บริเวณใด แพทย์จะจ่ายยานี้ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคในระดับค่อนข้างรุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์มักก่อให้เกิดผลข้างเคียงหากใช้ติดต่อเป็นเวลานาน เช่น หน้าบวมฉุ ขนดก เหงื่อออกตอนกลางคืน นอนไม่หลับ และผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กระดูกเปราะ กระดูกหัก ต้อกระจกและต้อหิน รวมทั้งเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ยากดระบบภูมิต้านทาน (Immunomodulators) ยานี้เป็นยาที่ช่วยระงับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยลดเซลล์ที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันร่างกาย หรือยับยั้งการทำงานของสารโปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ ยากดระบบภูมิต้านทานถูกนำมาใช้รักษาผู้ป่วยลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังที่เกิดอาการของโรครุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านอักเสบ ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยานี้ ทำให้เสี่ยงติดเชื้อได้มากเนื่องจากทำให้ระบบภุมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ ยาที่จัดอยู่ในยากดระบบภูมิต้านทาน ได้แก่ ยาเมอร์แคปโตพิวรีน (6-Mercaptopurine: 6-MP) ยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine) ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) และยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine)
ฯลฯ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке