Khaen Music - แคนลายสุดสะแนนออกหญ่าว - สมบัติ สิมหล้า หมอแคน

Описание к видео Khaen Music - แคนลายสุดสะแนนออกหญ่าว - สมบัติ สิมหล้า หมอแคน

ลายสุดสะแนน หรือลายเสมอ เป็นลายต้นแบบหรือลายครูประกอบการลำทางสั้น ตั้งชื่อตามลูกแคนที่ชื่อสะแนน (G) คือไม้กู่แคนลูกที่ 6 แพด้านซ้าย และลูกที่ 3 แพด้านขวา ซึ่งมีระดับเสียงเดียวกัน (Unison) เป็นลายที่สามารถบรรเลงและสร้างสรรค์ทำนองได้อย่างกว้างขวาง เพราะกลุ่มเสียงลายนี้ เทียบได้คล้ายกับบันไดเสียง C Major Scale (หรือ Natural Key) คือ ประกอบด้วยโน้ต C, D, E, F, G, A, B, C1 โดยไม่มีเสียงหลบ หมอแคนจึงสามารถบรรเลงไต่ทำนองได้ครบ 7 เสียงตั้งแต่ขาขึ้นคือ จากเสียงสุดสะแนน (G) ไปจนถึงขาลงในระดับเสียงเดียวกัน คือ เสียงสุดสะแนน (G) ลายนี้ จึงเป็นลายที่แปลกแตกต่างไปจากลายอื่น กล่าวคือ ลายอื่น การสร้างเสียงเสพจะใช้หลักการขั้นคู่ 5 (หรือ 4) เป็นเสียงขั้นคู่ประสาน เช่น ลายโป้ซ้าย เสียงเสพคือ C1 คู่กับ G1 และลายสร้อย เสียงเสพคือ D1 คู่กับ A1 แต่ทว่าลายสุดสะแนน เสียงเสพกลับเป็นเสียง G คู่กับ G ในระดับเสียงเดียวกัน คือ Unison หรือสูงกว่า (G1) แทนที่จะใช้เสียง D ตามหลักการสร้างเสียงเสพคือ ขั้นคู่ 5 ดังนั้น ลายสุดสะแนน จึงหมายถึง การบรรเลงทำนองจากเสียงเดิมไปสิ้นสุดที่เสียงเดิมในระดับเสียงเสมอกัน ลายนี้บางท้องถิ่น เช่น ชาวผู้ไทและชาวย้อ จึงเรียกว่า “ลายเสมอ” เพราะว่าเรียกตามเสียงไม้กู่แคน “ลูกเสมอ” (G) ซึ่งก็คือ ลูกสะแนนนั้นเอง

อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเสียงเสพลายสุดสะแนน อาจจะใช้เฉพาะเสียง G, G, G1 (Unison and Octave) จริง แต่ทว่าโดยหลักทฤษฎีการบรรเลงแคน การสร้างเสียงเสพในลายสุดสะแนนจะต้องประกอบด้วยเสียง G, D ดังนั้น เพื่อยืนยันหลักการนี้ ในทางปฏิบัติหมอแคนส่วนใหญ่มักบรรเลงสำนวนกลอนที่โน้มไปหาเสียง D อยู่เสมอในจังหวะหมดประโยค และนอกจากนี้หมอแคนยังนิยมฉีก (Modulation) ออกไปบรรเลงลายน้อยทางยาวอีกด้วย เนื่องจากเสียงศูนย์กลางของลายน้อยอยู่ที่เสียง D ซึ่งเป็นเสียงประสานขั้นคู่ 5 ในลายสุดสะแนนนั้นเอง การบรรเลงแบบนี้เรียกว่า “สุดสะแนนออกหญ่าว” นิยมบรรเลงประกอบการแสดงหมอลำกลอนและหมอลำซิ่ง วาดขอนแก่นและมหาสารคาม หรือบางทีก็เรียก “สับสีพันดอน”

Комментарии

Информация по комментариям в разработке