ต้นไม้ฟอกอากาศ คืออะไร ทำงานอย่างไร มีต้นไม้อะไรบ้าง

Описание к видео ต้นไม้ฟอกอากาศ คืออะไร ทำงานอย่างไร มีต้นไม้อะไรบ้าง

๐ ในบ้านเรือนสามารถพบสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศ อาทิ ฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซีน โทลูอีน ไซลีน ไตรคลอโรเอทิลีน เป็นต้น อันสามารถสร้างปัญหาสุขภาพได้หลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสารพิษ ปริมาณของสารพิษ และระยะเวลาที่สัมผัสกับสารพิษด้วย ตัวอย่างของสารพิษเหล่านี้ โดยสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และคลื่นไส้ มึนงง หายใจลำบาก และเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ทั้งนี้วิธีป้องกันปัญหาสุขภาพจากสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศ มีหลายวิธีการ เช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารพิษ เปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ใช้เครื่องฟอกอากาศ ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในบ้าน อย่างไรก็ตามอีกวิธีการที่นิยมกันก็คือ การปลูกต้นไม้ในอาคารบ้านเรือนโดยพืชทุกชนิดสามารถดูดซับสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศนี้ได้ ต้นไม้สามารถลดประมาณสารพิษในอากาศได้ 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่
1) การดูดซับ (Absorption) ต้นไม้สามารถดูดซับสารพิษในอากาศเข้าไปในใบ ลำต้น และราก สารพิษเหล่านี้จะถูกดูดซับผ่านรูพรุนเล็ก ๆ บนใบ และลำต้นของต้นไม้
2) การย่อยสลาย (Decomposition) ต้นไม้สามารถย่อยสลายสารพิษในอากาศด้วยเอนไซม์ที่ผลิตขึ้นโดยเซลล์ของต้นไม้ สารพิษเหล่านี้จะถูกย่อยสลายเป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
อย่างไรก็ตาม ต้นไม้บางชนิดก็มีความสามารถในการดูดซับสารพิษได้มีประสิทธิภาพกว่าต้นไม้ชนิดอื่น ๆ จึงมีผู้นิยามต้นไม้กลุ่มนี้ว่าเป็น “ต้นไม้ฟอกอากาศ (Air-Purifying Plants)” ทั้งนี้มีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นผลการทดลองเชิงประจักษ์ในด้านความสามารถของพืชในการดูดซับสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศ ซึ่งมีพืชหลายชนิดด้วยกัน

๐ นอกจากนี้แล้วหากพิจารณาจากความต้องการปัจจัยในการหายใจของมนุษย์ ที่ต้องการอกซิเจน (O2) และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา ทำให้พืช C4 Plants และ CAM Plants ก็ถือว่าเป็นต้นไม้ฟอกอากาศ หรือ Air purifier plants ที่มีประสิทธิภาพด้วย เนื่องจากพืชทั้งสองชนิดนี้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเวลากลางคืนในปริมาณมากกว่าพืชปกติ แล้วปล่อยออกซิเจน (O2) ออกมาในเวลากลางวัน จึงช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในอากาศ และลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์นั่นเอง
๐ C4 Plants หรือพืชประเภทสี่คาร์บอน ตัวอย่างพืช C4 Plants ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ผักโขมจีน และบานไม่รู้โรย พืชเหล่านี้มีกลไกในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แล้วปล่อยออกซิเจน (O2) มากขึ้น โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงของ C4 Plants แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือ
ขั้นตอนที่ 1: การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นเซลล์ชั้นนอกของใบ (mesophyll cells) โดยเซลล์ชั้นนอกจะมีสารประกอบที่เรียกว่า 4-carbon compound (oxaloacetate) ทำหน้าที่จับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2 โมเลกุล กลายเป็นสารประกอบ 6-carbon compound (malate) จากนั้น malate จะส่งต่อไปยังชั้นเซลล์ชั้นในของใบ (bundle sheath cells)
ขั้นตอนที่ 2: การคายน้ำและสังเคราะห์แสงในชั้นเซลล์ชั้นในของใบ โดยเซลล์ชั้นในจะมีรูพรุนขนาดเล็ก (stomata) ทำหน้าที่คายน้ำเพื่อดึงดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่เซลล์ จากนั้น malate ในเซลล์ชั้นในจะถูกเปลี่ยนเป็น pyruvate และปล่อยก๊าซออกซิเจน 1 โมเลกุล ออกมา จากนั้น pyruvate จะจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมเลกุล กลายเป็นสารประกอบ 3-carbon compound (phosphoenolpyruvate) และเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ต่อไป
๐ CAM Plants ตัวอย่างพืช CAM Plants ได้แก่ กระบองเพชร สัปปะรด กล้วยไม้ ว่านหางจระเข้ กุลาบหิน พืชเหล่านี้มีกลไกในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แล้วปล่อยออกซิเจน (O2) มากขึ้น โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงของ CAM Plants แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือ
ขั้นตอนที่ 1: การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางคืน โดยในเวลากลางคืน ปากใบของ CAM Plants จะเปิดเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซับจะถูกจับโดยเอนไซม์ PEPCase ร่วมกับสารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอน 3 อะตอม (phosphoenolpyruvate) กลายเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอน 4 อะตอม (oxaloacetate) จากนั้น oxaloacetate จะเปลี่ยนเป็นกรดมาลิก (malic acid) และเก็บไว้ในแวคิวโอลของเซลล์ mesophyll
ขั้นตอนที่ 2: การคายน้ำและสังเคราะห์แสงในเวลากลางวัน ทั้งนี้ในเวลากลางวัน ปากใบของ CAM Plants จะปิดเพื่อลดการคายน้ำ จากนั้นกรดมาลิกในเซลล์ mesophyll จะถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน โดยเอนไซม์ malic enzyme คาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจะถูกนำไปใช้สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ต่อไป

๐ คติความเชื่อแต่โบราณนานมาเรียกขานคนที่ปลูกอะไรก็งาม ปลูกอะไรก็ขึ้นว่าเป็นคน “มือเย็น” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Green Thumb” หรือพวกหัวแม่โป้งเขียว ก็คือคนมือเย็นน้่นเอง

๐ Muuyehn Studio หรือ มือเย็น สตูดิโอ เป็นช่องที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทั้งมือเย็น มือไม่เย็น มืออุ่น มือร้อน มือไหนๆ ก็ปลูกต้นไม้ได้งอกงามดี ขอแค่ทำความรู้จักและรักที่จะปลูก
ถึงปลูกแล้วตาย ปลูกแล้วโตช้าก็อย่าได้แคร์ ขอให้ปลูกกันต่อไปนะครับผม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке