เหรียญพระแก้วมรกต หลังภปร (ร.ศ.200) เนื้อทองแดงรมดำ กรุงเทพมหานคร

Описание к видео เหรียญพระแก้วมรกต หลังภปร (ร.ศ.200) เนื้อทองแดงรมดำ กรุงเทพมหานคร

👉กดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจ กดกระดิ่ง🔔🔔 แจ้งเตือนเพื่อไม่พลาดรับชมรายการใหม่ ขอบคุณครับ👍

ช่องทางการติดต่อ Line : cryptomanian , 0925545633

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย[1] (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ. 1977 (หรือ ค.ศ. 1434) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิก (จมูก) เกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ลาว) ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบกในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบางได้คืนให้แก่ หลวงพระบาง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

เหรียญพระแก้วมรกต ภปร. ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 ครบชุด 3 ฤดู มี 3 เหรียญ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

จัดสร้างในการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2525 เป็นปีที่มีงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปีอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นทั้งที่ระลึก และสมนาคุณการระดมทุนบริจาคเพื่อการบูรณะวัดพระแก้ว คณะกรรมการฯได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานจัดสร้างเหรียญพระแก้วมรกตหลัง ภปร. ขึ้นเป็นการเฉพาะอย่างปราณีตบรรจงทั้งในรูปลักษณะและพระราชพิธีพุทธาภิเษก

พระราชพิธีพุทธาภิเษกมีขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2524 ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย พระมหาเถระจำนวน 10 รูป ประกอบด้วย

สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศิลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมังกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี
พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ

เข้านั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตในมณฑลพิธีราชวัตรฉัตรธง ประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่อไป โดยในเวลาเดียวกันนี้พระภาวนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วราชอาณาจักรอีก 90 รูป ได้ร่วมพิธีนั่งปรกเจริญภาวนาแผ่จิตตานุภาพ รวมไว้เป็นหนึ่งส่งพลังจิตตภาวนา ณ วัดที่ประจำอยู่ เป็นการรวมกระแสพลังจิตให้เป็นหนึ่งเดียวส่งไปยัง “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) มีอาทิ

หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง
หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
หลวงพ่อไพบูลย์ วัดรัตนวนาราม (อนาลโย) จ.พะเยา
หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร
หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ จ.ชลบุรี
ฯลฯ

เหรียญพระแก้วมรกตจำนวนล้านหรียญถูกจองหมดอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของมหาชน เป็นเหตุให้คณะกรรมการต้องกราบบังคมทูลขอพระราชทานสร้างชุดที่ 2 โดยพระราชทานพระราชวินิจฉัยโปรดฯให้เพิ่มข้อความ “พระราชศรัทธา” ไว้ใต้ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” เพื่อเป็นการจำแนกความแตกต่างระหว่างการสร้าง “ครั้งแรก” กับการสร้างใน “ครั้งที่สอง” ที่ประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษกใน วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2524 โดยพระมหาเถระ 9 รูป ดังนี้

สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วีน ธัมมสาโร) วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
หลวงปู่ครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน
หลวงพ่อผิว วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี
หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
พระครูถาวรชัยคุณ หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง จ.พัทลุง

ได้เงินสมทบทุนโดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งสิ้นถึง 220 ล้านบาทเศษ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке