ไม่น่าเชื่อ.. " R , L , C " จะส่งผลกระทบ ต่อกระแสไฟ AC ขนาดนี้..!!

Описание к видео ไม่น่าเชื่อ.. " R , L , C " จะส่งผลกระทบ ต่อกระแสไฟ AC ขนาดนี้..!!

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ มาดู อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 3 ตัวนี้
เมื่อผมจับมันมาต่อ กับ ไฟฟ้ากระแสสลับ
ตัวมันเอง สามารถ ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม กระแสไฟ ที่เป็น ไฟ AC อย่างไรได้บ้าง
ซึ่งผมขออธิบาย แบบ ง่ายๆไตล์ช่อง ZimZim ตามที่ผมเข้าใจ ละกันนะครับ ผิดถูก ตรงไหน ต้องขอ อภัยด้วย มานะที่นี้ด้วย
เริ่มต้น ก่อนอื่น ผมขอ เปรียบเทียบ ให้เพื่อนๆได้เห็นภาพ ง่ายๆ โดย จินตนาการ การไหลของกระแสไฟ เป็นเหมือนดั่ง กระแสน้ำ
และในตัวอย่างนี้ ผมจะใช้ กระบอกฉีดน้ำ อยู่ 2 ตัว แต่ละตัว มีน้ำอยู่อย่างละครึ่ง กระบอก
ปลายกระบอกทั้ง 2 จะต่อ ผ่านท่อน้ำ อีกทีหนึ่งครับ
ตอนนี้ ถ้าหากผมเริ่้้ม ออกแรงดันกดลูกสูบ A ลงไป น้ำ ในลูกสูบ A ก็จะไหลไปยังลูกสูบ B
และกลับกันถ้าผม ออกแรงดันกดลูกสูบ B น้ำใน ลูกสูบ B ก็จะ จะไหลไปยังลูกสูบA
แล้วถ้าหากผม กด สลับ กันไปมา
แรงดันที่กดลงไป กับ กระแส น้ำที่ไหล
ในช่วงเวลาเดียวกัน มันจะมี ลักษณะ แบบนี้ครับ
เมื่อผมนำ แผนภูมิ มาวางซ้อนกัน เส้นกราฟ
ก็จะใกล้เคียง กับ กราฟ ของ ไฟฟ้ากระแสสลับ เปรี๊ยบเลยครับ
โดยปกติ ทั่วไปแล้ว กระแสไฟ AC มักจะมีความ สโลปลาดชัน ที่ต่ำกว่า
แต่ค่า Peak และค่า Zero Crossing ของมัน มักจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ครับ
สำหรับ อุปสรรคแรก ที่ผมจะใส่เข้าไป ก็คือ หัวฉีด
ผมจะต่อ หัวฉีด กั้นระหว่าง ท่อน้ำ การต่อ ลักษณะนี้ แน่นอนครับ ว่า มันจะขัดขวางการไหลของกระแสน้ำ
เนื่องจาก ลักษณะของ ปลายหัวฉีด รูพ่น ของมันค่อนข้าง แคบ
ถึงแม้ แรงดัน ยังเท่าเดิม แต่ กระแสน้ำ ที่ไหลผ่าน กลับ ลดลง
มันก็เปรียบเสมือน กับ เรา ใส่ตัวต้านทาน เข้าไป ในวงจร
ซึ่งสามารถขัดขวางการไหลของ อิเล็กตรอนได้ ทำให้กระแสไฟ ที่ไหลผ่าน ลดลง
และ ถ้าเปรียบเทียบกับ ภาพ Before and After หลังจาก ใส่ตัวต้านทาน เราก็จะเห็นกระแสไฟลดลง ชัดเจนเลยครับ
คุณสมบัตินี้เราจะเรียกว่า "Resistance"
ซึ่งมันไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะ กระแสไฟ AC เท่านั้น นะครับ
ไฟ DC กระแส ก็ลดลงได้เช่นกัน
สำหรับ อุปสรรค ที่สอง ก็คือ กังหันน้ำ
กังหันน้ำ ผมจะต่อ กั้น ระหว่าางทางเดินของน้ำ เหมือนเดิม
เมื่อ ผมออกแรงดัน กดลงไปที่กระบอกฉีด การไหลของน้ำ จะยังไม่สามารถไหลได้ ในทันที
มันต้องให้ล้อของกังหัน ค่อยๆเริ่มหมุนซะก่อน การไหลของน้ำถึงจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น
เพิ่มขึ้น จนไปถึงจุดที่ไหลคงที่ แต่ถ้าจู่ๆ เราหยุดกด
ในขณะที่กังหันน้ำ ยังคงหมุนอยู่ มันก็ยังจะมีแรงเฉื่อยส่งต่อ เพื่อ รักษาการหมุนเอาไว้ สักระยะหนึ่ง
และค่อยๆ ช้าลง จนถึง จุดหยุดนิ่ง ในที่สุด
เราก็สามารถ สรุปได้ว่า
1. กังหันน้ำ ช่วยชะลอการไหลของน้ำ ที่เพิ่มขึ้นได้
2. กังหันน้ำ ช่วยชะลอการไหลของน้ำที่ลดลงได้
3. เมื่อมีแรงคงที่ กังหันน้ำจะ ไม่ส่งผลต่อการไหล ใดๆ ของน้ำ
แต่ถ้าแรงดัน เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เหมือนไฟ AC
จะทำให้การไหลของน้ำ เกิดการ ตอบสนอง ที่ล่าช้า กว่าแรงดันที่กดลงไป
ลักษณะก็เป็นเหมือนดังกราฟ นี้

ซึ่ง พฤติกรรมแบบนี้ มันก็เหมือนกับตัวเหนี่ยวนำในวงจรไฟฟ้า เปรี๊ยบเลยครับ
เราจะเรียก คุณสมบัตินี้ว่า "Inductive" Reactance "
ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ เฉพาะไฟ AC เท่านั้น
ต่อไป เป็นอุปสรรคตัว สุดท้าย ครับ
ผม มี ลูกบอล อยู่ตัวหนึ่ง แกนกลาง มี ผนังกั้น ที่สามารถยืดหยุ่นได้
ทำให้ น้ำทั้ง 2 ฝั่งไม่สามารถไหล ซึ่มผ่าย เข้าหากันได้
แต่แกนกลาง สามารถ ขยายตัวได้ดี ตามแรงดัน ที่เรากด
เมื่อผม ออกแรงดัน กด ผนังกั้น ก็จะขยายตัว ไปอีกฝั่งหนึ่ง
โดย ที่น้ำไม่ได้ สัมผัสกัน
เมื่อผม กดแรงดัน สลับกันไปมา
สังเกตุว่า ในช่วงแรง
พื้นที่ด้านในลูกบอล จะมีมาก
การไหลของน้ำ ในช่วงแรก จะมหาศาล และ มากกว่า แรงดัน อยู่เสมอๆ
ซึ่งเราสามารถสร้างกราฟได้ ดังนี้ ครับ
ซึ่งมัน คล้ายๆ กับ อิทธิพล ของตัวเก็บประจุ เราจะเรียก คุณสมบัติ นี้ว่า Capacitive Reactance ครับ
ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ เฉพาะไฟ AC เท่านั้น
ซึ่งผลรวมของ คุณสมบัติทั้ง 3 ส่วนนี้
เมื่อเอามารวมกัน
บางสำนัก เขาจะเรียกเหมารวมว่าเป็น Impedence
หรือ ความต้านทานรวมทั้งหมด ต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร
ซึ่งการคำนวณ ต่างๆ เพื่อนๆ ก็สามารถ ศึกษา ต่อยอด เพิ่มเติมได้เลย ครับ
สำหรับ คลิปนี้ผมขออธิบายไว้เท่านี้ก่อน ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
#RLCส่งผลต่อกระแสไฟACอย่างไร? #RLCกับกระแสไฟAC

Комментарии

Информация по комментариям в разработке