ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีตรวจสอบหม้อลมเบรกเบื้องต้น จริงหรือ ?

Описание к видео ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีตรวจสอบหม้อลมเบรกเบื้องต้น จริงหรือ ?

3 เม.ย. 65 - บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำวิธีตรวจสอบหม้อลมเบรกรถยนต์เบื้องต้น ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

🎯 ตรวจสอบกับ ดร.นภดล กลิ่นทอง
ที่ปรึกษาสมาชิกอุ่นใจใกล้ช่าง
🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์

-----------------------------------------------------

📌 สรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ ✅

Q : วิธีการตรวจสอบหม้อลมเบรกเบื้องต้น แบบที่เขาแชร์กันนี้ จริงไหมครับ ?
A : อันนี้เป็นเรื่องจริงครับ เพราะว่าเราตรวจสอบเบื้องต้นได้ตามคำแนะนำที่เขียนกันไว้ครับ

Q : แล้วทำไมถึงต้องดับเครื่องยนต์ให้สนิทก่อนทดสอบหล่ะครับ ?
A : คือสาเหตุที่ต้องดับเครื่องยนต์ก่อนนะครับ คือเป็นเรื่องของตัวหม้อลมเบรกเวลามันทำงานถ้าเราไม่ดับเครื่องยนต์ตัวแวคคั่มที่อยู่ในหม้อลมเบรกยังทำงานอยู่ยังสะสมอยู่พูดง่าย ๆ เลยประมาณสักครึ่งนาทีหรือประมาณ 30 วินาที เพราะฉะนั้นต้องดับเครื่องยนต์ให้สนิทก่อนแล้วจึงทำการย้ำเบรกเพื่อทำการทดสอบครับ

Q : ที่เขาบอกให้เหยียบเบรกให้สุดและซ้ำ ๆ สักประมาณ 4-5 ครั้ง เพื่อไล่ลมในหม้อลมเบรกให้หมด จนกว่าเเป้นเบรกจะแข็งหรือเหยียบไม่ค่อยลง ?
A : ตอนที่เราดับเครื่องยนต์แล้วทำการย้ำเบรกจริง ๆ แล้วการย้ำเบรกเป็นการปล่อยให้อากาศเข้าด้านหลังแผ่นไดอะแฟรมของหม้อลมเบรกก็เป็นการไล่เอาแวคคั่มหรือสุญญากาศที่อยู่ในหม้อลมเบรกออกให้หมดและเป็นการปั๊มน้ำมันเบรกให้เข้าไปอยู่ในกระบอกเบรกให้อย่างเต็มที่ครับ

Q : เพราะอะไรเมื่อหม้อลมเบรกปกติ เวลาเหยียบเเป้นเบรกค้างไว้แล้วก็สตาร์ทเครื่องยนต์เราจะรู้สึกว่าแป้นเบรกจะจมลงตามแรงกดของเท้าเราครับ ?
A : ต้องบอกหน้าที่ของหม้อลมเบรกก่อน หม้อลมเบรกมันมีหน้าที่ช่วยผ่อนแรงในการเบรก เพราะเราไม่สามารถจะออกแรงเหยียบเบรกเพื่อหยุดรถได้โดยตรงจากเท้าสู่แม่ปั๊มเบรกได้โดยตรง บริษัทรถยนต์จึงมีการออกแบบให้มีหม้อลมเบรกมาช่วยในการผ่อนแรง เพราะฉะนั้นการเราย้ำเบรก ย้ำเบรกไป 4-5 ครั้งแล้วสตาร์ทรถเบรกจะต้องยุบตัวลงแต่แป้นเบรกจะต้องไม่ยุบถึงพื้นนะครับ มันยุบตัวลงปกติเหมือนที่เราใช้งานตามปกตินั่นเองซึ่งมันเกิดจากแรงดูดจากเครื่องยนต์มาช่วยในการผ่อนแรงในการส่งน้ำมันเบรกไปยังล้อครับ

Q : แล้วทำไมเมื่อสายลมเบรกมีรูรั่วหรือหลุดจึงทำให้เบรกแข็ง ?
A : ไม่ว่าจะเป็นวาล์วกันกลับซึ่งอยู่ระหว่างเครื่องยนต์ท่อยางที่อยู่ระหว่างเครื่องยนต์กับตัวหม้อลมเบรกถ้ามีการอุดตัน อุดตันก็ทำให้เบรกแข็งได้ 2.ท่อยางรั่วก็ทำให้เบรกแข็งได้ครับ

Q : แล้วเพราะอะไรอาการแผ่นไดอะแฟรมในหม้อลมเบรกชำรุด ถึงทำให้แป้นเบรกแข็งได้เหมือนกันครับ ?
A : ถ้าตัวไดอะเเฟรมรั่วก็เบรกแข็งเหมือนกันครับคือเวลาเราเหยียบเบรกลมที่อยู่ทางด้านนอกมันจะช่วยในการผลักแผ่นไดอะแฟรมตัวนี้นะครับ เพราะฉะนั้นถ้าไดอะแฟรมรั่วตัวสุญญากาศที่เครื่องยนต์ดูดอยู่ มันไม่สามารถสร้าง มันไม่มีแรงดูดนั่นเองด้านหน้า ส่วนด้านหลังก็มีแรงอากาศเป็นปกติ มันก็ไม่ช่วยในการผ่อนแรง เพราะฉะนั้นสาเหตุตรงนี้ก็คือใช้งานมานาน 2.แผ่นไดอะแฟรมโดยตัวมันเองเวลาทำงาน

Q : แผ่นไดอะแฟรมมีโอกาสที่จะค้างได้ไหมครับ ?
A : แผ่นไดอะแฟรมส่วนใหญ่ไม่ค้างเนื่องจากมันมีสปริงอยู่ด้านหน้า สปริงที่มีแรงพอสมควร สปริงตัวใหญ่ ๆ เพื่อดันไดอะแฟรมไว้แต่มันดันโดยมีสุญญากาศหรือมีแรงดูดช่วยในการดูดอยู่ เพราะฉะนั้นเวลามันคืนตัวมันคืนตัวด้วยตัวสปริงอยู่แล้ว

Q : แล้ว ท่อ One way valve นี่คือส่วนไหนครับ ?
A : ท่อ One way valve นี่คือเป็นท่อยางนะครับ ท่อยางธรรมดานี่หล่ะครับต่อระหว่างเครื่องยนต์ที่ตัวท่อร่วมไอดี ซึ่งเป็นแรงดูดต่อมาจากเครื่องยนต์กับตัวหม้อลมเบรกแต่ตรงกลางจะมีวาล์วตัวหนึ่งเขาเรียกวาล์วเช็กกลับหรือ One way valve นี่ครับ เป็นตัวกั้น กั้นไม่ให้สุญญากาศมันรั่วนั่นเองเวลาเราทำการเหยียบเบรกถ้ามันรั่วเมื่อไหร่แสดงว่าเครื่องยนต์จะเดินไม่เรียบเหยียบเบรกครั้งใดเครื่องยนต์จะมีอาการสั่นทันทีเพราะมันถูกแย่งอากาศที่เข้าเครื่องยนต์หน้าตามันคือมันเป็นลักษณะของเช็กวาล์วครับมันจะดูดได้ทางเดียวคือพูดง่าย ๆ ให้สุญญากาศให้แรงดูด ดูดได้ทางเดียวซึ่งมันเป่ามาไม่ได้ ย้อนกลับมาไม่ได้นะครับ ดังนั้นเวลาที่ราเหยียบเบรกหรือเวลาเราถอนเบรก เช็กวาล์วหรือวาล์วตัวนี้มันจะปิด มันจะปิดเลย

Q : ที่ปรึกษาสมาชิกอุ่นใจใกล้ช่างยังมีคำเตือนหากพบว่าหม้อลมเบรกเสีย ดังนี้ครับ ?
A : จริง ๆ ถ้าหม้อลมเบรกเสียการขับรถความเร็วสูง ๆ ไม่เหมาะแน่นอนอันตรายครับ มีโอกาสที่จะเบรกไม่อยู่เพราะว่าต้องออกแรงเหยียบเบรกมากขึ้นดังนั้นเวลาหม้อลมเบรกเสียควรจะรีบเข้า ร้านทำการซ่อมหรือเข้าศูนย์บริการทำการซ่อมทันที

Q : สรุปแล้ว วิธีการตรวจสอบหม้อลมเบรกเบื้องต้น แบบที่เขาแชร์กันนี้ เป็นยังไงครับ ?
A : เป็นข้อความที่ถูกต้องนะครับ สามารถแชร์ต่อได้

👉 การตรวจสอบความพร้อมก่อนออกรถทุกครั้งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้นะ

#ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare
-----------------------------------------------------

🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯
LINE | @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare
FB |   / sureandshare  
Twitter |   / sureandshare  
IG |   / sureandshare  
Website | http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok |   / sureandshare  

ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 | http://www.tnamcot.com

Комментарии

Информация по комментариям в разработке