พระไพรีพินาศ วัดบวร ปี ๒๔๙๖ ควรเก็บเนื้อแบบไหน

Описание к видео พระไพรีพินาศ วัดบวร ปี ๒๔๙๖ ควรเก็บเนื้อแบบไหน

พระไพรีพินาศ วัดบวร ๒๔๙๖ เนื้อแบบไหนที่ควรเลี่ยง
#พระเครื่อง #วัตถุมงคล

พระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่ได้รับความนิยม ด้วยพิธีการสร้างที่ดีและยังมีความหมายที่ดีอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันวัดบวรก็ยังมีการจัดสร้างพระไพรีพินาศ พิมพ์และเนื้อต่างๆ ออกมาให้บูชาอยู่เรื่อยๆ

พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวร ปี ๒๔๙๖ ซึ่งจริงๆ แล้วพระรุ่นนี้มีการดำริจัดสร้างในปี ๒๔๙๕ และแล้วเสร็จในปี ๒๔๙๖
พระกร่ิงไพรีพินาศเป็นหนึ่งในพระหลักกลุ่มพระกริ่ง ยุครัตนโกสินทร์ มีความนิยมและมีค่านิยมสูง การทำเลียนแบบจึงมีมาก มีทั้งราคาหลักร้อยไปจนถึงหลักแสน การเช่าหาบูชาจึงต้องเข้าใจเรื่องของกระโลหะสำริดและธรรมชาติของการหล่อโบราณ เราจะมาดูรายละเอียดกันครับ

พุทธศิลป์
ต้นแบบของพระกริ่งไพรีพินาศ มาจากพระพุทธไพรีพินาศที่อยู่ในวัดบวรนิเวศ เป็นพระพุทธรูปแบบมหายานปางนั่งประทานพร คล้ายปางมารวิชัยแต่หงายฝ่ามือข้างขวาขึ้น ที่ใต้ฐานองค์พระมีการเจาะก้นใส่เม็ดกริ่งและอุดด้วยโลหะทองแดง

เนื้อพระ
จะต้องผ่านอายุมาจนถึงปัจจุบัน ประมาณอย่างน้อย ๗๐​ ปี

สำหรับเนื้อพระ สิ่งที่เราจะต้องดู
กระแสโลหะ
ตามธรรมชาติของโลหะสำริดทองผสมและสร้างด้วยวิธีหล่อโบราณ กระแสโลหะเป็นสิ่งที่เราต้องเห็น เมื่อเราส่องดูตามองค์พระ เราจะต้องเห็นเนื้อพระมีโลหะต่างๆ ผสมรวมอยู่ในเนื้อ มีสี มีลักษณะตามธรรมชาติที่แตกต่างกัน

ออกไซด์
ตามหลักการของโลหะทุกชนิด จะต้องมีออกไซด์หรือสนิมเกิดขึ้น ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ช้าหรือเร็ว ก็ต้องมี ถึงจะเก็บดีแค่ไหน ก็ต้องถูกอากาศ ออกไซด์เป็นสิ่งที่ใช้วิเคราะห์การผ่านอายุของโลหะที่ผ่านการหลอมขึ้นรูปได้ ยิ่งผ่านอายุสีจะยิ่งเข้ม ชัด หนา เกิดขึ้นบนผิวคลุมเนื้อไว้ เหมือนมีเปลือกคลุมผิวและต้องดูเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อพระ

ความแห้ง
ความแห้งเป็นหัวใจของพระเก่าที่ผ่านอายุ ผ่านความร้อน ความเย็นในอากาศ เกิดความชื้น ระเหยไปตลอดเวลา สลับวนอยู่ทุกวันทุกคืนมา ๗๐​ ปี เราควรต้องเห็นความแห้งเป็นเม็ดผดปูดๆ หรือเป็นคราบให้เห็นโดยเฉพาะในร่อง คราบแห้งๆ ปนกับคราบดินเบ้าที่อาจจะยังเหลืออยู่ในองค์ที่ผ่านการใช้งานไม่หนัก สำคัญนะครับจุดนี้

ความเหี่ยวย่นในพระเก่า
ความเหี่ยวย่นที่เกิดขึ้นบนผิวองค์พระเกิดจากออกไซด์ที่ขึ้นมาคลุมผิวรวมถึงความแห้งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากการใช้งานติดตัวเพียงอย่างเดียว ดังนั้นถึงเป็นพระที่เก็บดี ไม่ได้ใช้ ก็ยังต้องมีความเหี่ยวเก่าเกิดขึ้น โดยเฉพาะพระรูปหล่อที่สร้างด้วยวิธีหล่อโบราณที่ผ่านอายุมานาน ตามกรรมวิธีเนื้อพระจะเรียบตึงเหมือนพระที่สร้างด้วยวิธีการหล่อเหวี่ยงแบบพระใหม่สมัยนี้ไม่ได้ ต้องมีความเหี่ยวกร่อนตามอายุ อาจมีเนื้อเกิน รอยโลหะย่นให้เห็นได้

รอยแต่งพิมพ์
รอยแต่งพิมพ์ รอยเครื่องมือช่าง โดยเฉพาะรอยตะไบ รวมไปถึงรอยจาร หรือสำหรับพระรูปหล่อหรือพระกร่ิงบางสายจะมีรอยเซาะพิมพ์ให้คมชัด รอยเครื่องมือช่างเป็นจุดสำคัญในการดูพระรูปหล่อที่สร้างด้วยวิธีหล่อโบราณ เพราะมักจะมีเนื้อเกินตามขอบ รอยคมๆ หรือจะมีการตะไบแต่งฐานให้ตั้งองค์พระได้ตรง ซึ่งรอยแทงตะไบเป็นหนึ่งในจุดสำคัญที่ใช้วัดความเก่าผ่านอายุได้ แต่งให้เก่าได้ยากเพราะเป็นจุดเล็กๆ นอกจากการโปะคราบเลอะๆ ปิดร่องเอาไว้ จุดที่ต้องระวังก็คือในพระบางองค์จะมีการตะไบเนื้อบางส่วนออกเพื่อใช้ในการใส่ตลับ ถ้าเป็นแบบนี้เราอาจจะเจอรอยตะไบที่ดูใหม่กว่าเนื้อพระในพระเก่าได้

หัวใจของรอยตะไบเก่า เนื้อต้องกลับ ยิ่งผ่านอายุรอยแทงตะไบต้องมีธรรมชาติและมีสีเดียวหรือใกล้เคียงกับองค์พระ มีออกไซด์เกิดขึ้นในร่องเหมือนเนื้อพระในจุดอื่นๆ เราจะเห็นสีของกระแสโลหะและมีออกไซด์ขึ้นคลุมผิวในร่องดูเป็นสีเดียวกับพื้นที่รอบๆ ส่วนรอยบางๆ จะเห็นเป็นเส้นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มๆ เพราะว่าออกไซด์คลุมปิดร่องแล้ว เริ่มต้นด้วยการหาร่องตะไบลึกๆ สิ่งที่เราเห็นในร่องจะต้องไม่เป็นรอยคมๆ แต่จะต้องมีออกไซด์เกิดขึ้นทำให้ท้องรอยมีความขรุขระ หลักการเหมือนกับการดูรอยจารหรือรอยต่างๆ บนเนื้อพระด้วยนะครับ เข้าใจแบบนี้ก็ได้ครับ รอยตะไบเก่าคือแผลเป็น ไม่ใช่แผลสด

คราบดินเบ้าเก่าๆ

พระเก่า พระหล่อโบราณ ไม่มีเหตุผลที่จะใช้การดูตำหนิในพิมพ์ เพราะด้วยธรรมชาติ พระแต่ละองค์อาจจะมีรายละเอียดในจุดเล็กๆ ที่ต่างกัน ตำหนิจะมีครบก็ดีหรือไม่มีก็ได้ เพราะพระเลียนแบบทำได้ทุกจุด ทุกรายละเอียด ไม่มีจุดไหนที่ทำไม่ได้แล้วครับ ทุกเนื้อ ทุกพิมพ์ ทุกตำหนิ มีแต่การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่ยังทำไม่ได้ อยากให้พี่ๆ เพื่อนๆ ดูพุทธศิลป์ เข้าใจธรรมชาติความเก่าและการเปลี่ยนแปลงตามอายุของวัสดุแต่ละประเภท มีความรู้ อย่าท่องจำ เวลาดูพระเก่า เลิกส่องตำหนิก่อนเป็นอย่างแรก จะได้ไม่ถูกหลอกครับ

การศึกษาพระเครื่อง ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของวัตถุต่างๆ ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาตามอายุ และเข้าใจหลักการรวมถึงวิธีการสร้างพระ อย่างการหล่อโบราณ หรือการหล่อเหวี่ยงแบบพระใหม่ เราจะเข้าใจและดูพระเครื่องได้แทบทุกสาย เพราะธรรมชาติมีกฎเกณฑ์ตายตัว เกิดขึ้นและต้องมีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลายไปเสมอ สิ่งแรกคือต้องวางความเชื่อลง โดยเฉพาะความเชื่อในคน และเริ่มใช้ความรู้ ความเข้าใจ ในการศึกษา

Комментарии

Информация по комментариям в разработке