2573 หลวงปู่ศิลา สิริจันโท เตือนสัญญาณอันตรายภัยพิบัติซึ่งตรงกับนักวิทยาศาสตร์ NASA

Описание к видео 2573 หลวงปู่ศิลา สิริจันโท เตือนสัญญาณอันตรายภัยพิบัติซึ่งตรงกับนักวิทยาศาสตร์ NASA

#หลวงปู่ศิลา สิริจันโท เตือนสัญญาณอันตรายภัยพิบัติซึ่งตรงกับนักวิทยาศาสตร์ NASA
โลกเดือด-น้ำแข็งขั้วโลกละลาย-น้ำทะเลสูงขึ้นสัญญาณอันตรายภัยพิบัติโลก
นักวิทยาศาสตร์นานาชาติ คาดการณ์ว่าปัญหาโลกร้อนมีผลทำให้น้ำแข็งขั้วโลกมีปริมาณลดลงและอาจหายไปหมดในอีก 100 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ระบบนิเวศได้รับผลกระทบรุนแรง เพราะเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำจืดจะเพิ่มขึ้น การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรจะเปลี่ยนไป ซึ่งนำมาสู่ภัยพิบัติในอนาคตที่อาจรุนแรงกว่าเดิม
โดยนักวิทยาศาสตร์ NASA พบว่า น้ำแข็งในขั้วโลกเหนืออย่างกรีนแลนด์ และขั้วโลกใต้แอนตาร์กติกา ละลายเร็วขึ้นน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายไวขึ้น 6-7 เท่า เมื่อเทียบกับ 25 ปีก่อน และ น้ำแข็งกรีนแลนด์ได้หายไปถึง 4,700 ล้านตัน มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1.2 เซนติเมตร
สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งฝั่งทะเลจีนใต้และทะเลอันดามัน ก็มีผลกระทบเช่นกัน เช่นปัจจุบันมีงานวิจัยพบว่า ลมมรสุมที่มีกำลังแรงขึ้น และทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อนจะทำให้มวลอากาศชื้นจากทะเลสูง และพัดเข้าชายฝั่งมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณฝนตกสูง
มีการคาดการณ์กันว่า จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกว่า 40 เซนติเมตร ในอีก 100 ปีข้างหน้า ซึ่งประชากรในภูมิภาคนี้ร้อยละ 10 ที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ประมาณร้อยละ 70 ของประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก มีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาน้ำท่วมและไร้ที่อยู่อาศัยหรือแม้แต่ เกาะขนาดเล็กเสี่ยงจมใต้ทะเล ซึ่งอาจทำให้คนประมาณ 200 ล้านคน ในภูมิภาคนี้ต้องหาที่อยู่ใหม่ในอีกไม่เกิน 50 ปีข้างหน้า ขณะที่ กทม. เป็น 1 ใน 7 เมืองเสี่ยงจะจมน้ำในอีกไม่กี่ปีด้วย
จากข้อมูลของ กรีนพีซ พบว่า 7 เมืองในเอเชีย ที่อาจได้รับผลกระทบ จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล หรือมีความเสี่ยงจมน้ำ ภายในปี 2573 สำหรับ 3 อันดับแรก เสี่ยงสุด คือ กรุงเทพมหานคร คือ ร้อยละ 96 อาจถูกน้ำท่วมจากอุทกภัยใน 10 ปี มีการคาดการณ์ถึงพื้นที่ ที่จะได้รับผลกระทบ 1,512.94 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอาจมีประชากรที่จะได้รับผลกระทบ 10.45 ล้านคน รองลงมาเป็นกรุงจาการ์ตา จะได้รับผลกระทบ 109.38 ตารางกิโลเมตร ประชาชนอาจได้รับผลกระทบ 1.80 ล้านคน ถัดมา เป็น กรุงโตเกียว ที่อาจะได้รับผลกระทบ 79.28 ตารางกิโลเมตร กระทบประชากร 0.83 ล้านคน ถัดมาเป็น ไทเป มะนิลา ฮองกง และโซล ตามลำดับ
ผลกระทบภัยพิบัตินานาประเทศ
ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลกที่เรากำลังเจอจากโลกร้อน น้ำทะเลสูงขึ้น น้ำท่วม ภัยแล้ง ต่างโจมตีมนุษยชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา จีน และญี่ปุ่นกำลังได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทกซูรี และพายุไต้ฝุ่นขนุน ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ก็ยังต้องเผชิญกับสภาพที่เลวร้าย ทั้งท่วม และอากาศร้อนจัด จากคลื่นความร้อนอีกด้วย
นี่เป็นภาพที่ถ่ายจากกล้องตรวจจับความร้อน บันทึกภาพนักท่องเที่ยวภายในสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังในกรุงโซลของเกาหลีใต้ ที่ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางคลื่นความร้อน ที่แผ่ปกคลุมมานานกว่าสัปดาห์
ไม่ต่างจากอีกฟากฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างอิหร่าน ที่เมื่อช่วงวันที่ 3-4 สิงหาคม 2566 ได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการเพิ่ม 2 วัน เมื่อเผชิญกับสภาพอากาศร้อนทุบสถิติ เพราะต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาบางวัน วัดอุณหภูมิได้สูงสุดที่ 51 องศาเซลเซียส อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นเพียง 1-2 องศา หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่า เป็นภัยคุกคามที่รุนแรง ทำให้อากาศแปรปรวน ทั้งน้ำท่วมหนัก แล้งจัด คลื่นความร้อน และน้ำทะเลสูงขึ้น
“ยุคโลกร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว และยุคโลกเดือด ได้มาถึงแล้ว”
นอกจากนี้ ปรากฎการณ์ “โลกกำลังเดือด” กำลังเป็นกระแสที่น่าสนใจหลังจาก มีการกล่าวว่า “ยุคโลกเดือด ได้มาถึงแล้ว” สร้างความกังวลกับหลายฝ่าย เพราะนี่ถือเป็นการเน้นย้ำตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันก่อนหน้านี้ ว่าเดือนกรกฎาคม 2023 นี้เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยกว่า 50 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มสภาพภูมิอากาศ โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก
ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ความถี่ของสถานการณ์ภัยพิบัติจะเริ่มทวีความรุนแรงต่อเนื่อง หลังอุณหภูมิโลกสูงขึ้น กว่า 1.1 องศา และคาดการณ์ว่า จะเพิ่มสูงขึ้นอีก 1.5-4.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100
อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หรือ UN
อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หรือ UN กล่าวในการแถลงข่าวว่า “ #ยุคโลกร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว และ #ยุคโลกเดือด ได้มาถึงแล้ว” เป็นการเน้นย้ำตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันก่อนหน้านี้ ว่าเดือนกรกฎาคม 2023 นี้เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยรายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ของสหประชาชาติ และโครงการสังเกตการณ์ Copernicus Earth ของสหภาพยุโรประบุว่า อุณหภูมิโลกในเดือนกรกฎาคมปีนี้ ทำลายสถิติอุณภูมิโลกสูงสุดตลอดกาล และ ดร.คาร์สเทน เฮาสไตน์ นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยไลป์ซิก กล่าวว่า เดือนกรกฎาคม 2023 มีแนวโน้มว่าเป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุดในรอบ 120,000 ปี
การส่งสัญญาณจากเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ว่าเราเข้าสู่ยุคโลกเดือดแล้ว ต้องถือเป็นเหมือนการออกมาเตือนทุกคนในโลกดัง ๆ ว่า สิ่งที่เรากำลังเจอกันตอนนี้ อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ถ้าเรายังไม่สามารถจำกัดการสูงขึ้นของอุณหภูมิโลก ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้ อาจส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นเพราะสภาพอากาศหลายพื้นที่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาเหนือ เอเชีย แอฟริกา หรือ ยุโรป เวลานี้ได้เกิดภัยพิบัติรุนแรงแล้ว
#น้ำแข็งขั้วโลกละลาย มากน้อยแค่ไหน ?
นักวิทยาศาสตร์นานาชาติมีการคาดการณ์กันว่าน้ำแข็งที่มีปริมาณลดลงและจะหายไปหมดในอีก 100 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้ระบบนิเวศบนพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรง
#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке