การตั้งผู้จัดการมรดก การขอคำสั่งศาล อธิบายทุกขั้นตอนการขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก

Описание к видео การตั้งผู้จัดการมรดก การขอคำสั่งศาล อธิบายทุกขั้นตอนการขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก

ปรึกษาทนายอภิวัฒน์ 081-878 9145

การตั้งผู้จัดการมรดก การขอคำสั่งศาล อธิบายทุกขั้นตอนการขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกมีทรัพย์สินที่ต้องจัดการหลังความตายของเจ้ามรดก แม้จะมีพินัยกรรมหรือไม่มีพินัยกรรมก็ตาม จำเป็นที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมาเพื่อจัดการทรัพย์สินของผู้ตาย
วันนี้ผมจะมาเล่าถึงกระบวนการการจัดตั้งผู้จัดการมรดกตั้งแต่ต้นจนจบ ได้คำสั่งศาลไปจัดการมรดกได้
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทายาทก็จะต้องไปจัดการทรัพย์สินของผู้ตาย ไปที่ธนาคารเพื่อที่จะไปถอนเงิน ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อที่จะไปโอนที่ ไปทำธุรกรรมต่างๆหรือไปที่สำนักงานขนส่งเพื่อที่จะโอนชื่อของเจ้าของรถมาเป็นของทายาท แต่เหตุขัดข้องที่เกิดขึ้นก็คือว่าเมื่อไปแล้วเจ้าหน้าที่บอกว่าให้เอาคำสั่งศาลมาก่อน ผมจะมาพูดถึงกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นที่จะไปขอให้ศาลสั่งให้เป็นผู้จัดการมรดก ที่เราเรียกกันภาษาชาวบ้านว่าคำสั่งศาล สาเหตุที่เราเรียกคำสั่งศาลเพราะว่าพวกเราอาจจะเคยได้ยินคำพิพากษาที่เราไปที่ศาลแล้วก็มีคู่กรณี มีโจทก์ มีจำเลยใช่ไหมครับ อันนั้นเมื่อศาลวินิจฉัยจะเรียกว่าคำพิพากษา แต่หากไม่มีคู่กรณีศาลจะเรียกว่าคำสั่ง หมายความว่าเรายื่นคำร้องฝ่ายเดียวเข้าไปแล้วศาลก็จะมีคำสั่งศาล คำสั่งศาลก็คล้ายๆกับคำพิพากษา
หระบวนการยื่นคำร้อวต่อศาลเพื่อให้ได้คำสั่งให้เป็นผู้จัดการมรดก หลายคนอาจจะไม่ทราบนะครับ มีอยู่ 2 ช่องทางใหญ่ๆ ช่องทางแรกก็คือ
(1) ผ่านทางทนายความ
ก็ท่านผู้มีอรรถคดีนี่แหละครับโทรหาผมทนายความบอกว่าต้องการตั้งผู้จัดการมรดกเราก็จะจัดการให้
(2) อีกช่องทางหนึ่ง ในกฏหมายระบุว่าพนักงานอัยการสามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อตั้งผู้จัดการมรดกได้ครับ ผู้ที่ประสงค์ที่จะให้พนักงานอัยการยื่นก็สามารถไปที่สำนักงานอัยการใกล้บ้านท่านได้ ส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงานอัยการจังหวัด เมื่อไปถึงก็สามารถแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าจะมายื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ ข้อดีข้อเสียก็แตกต่างกัน แน่นอนว่าไปที่สำนักงานอันการไม่มีค่าใช้จ่ายอยู่แล้วเพราะเป็นหน้าที่ของท่านในการที่จะจัดการให้กับผู้ที่มีอรรถคดี แต่ในส่วนของทนายความ เมื่อมาที่ทนายความ ทนายความก็จะจัดการให้หมดเลย แล้วก็ทนายความก็จะสามารถยื่นคำร้องให้ ผมเคยเห็นเร็วที่สุดวันเดียวสามารถยื่นคำร้อวได้เลย มีคนเปรียบเทียบว่าเหมือนกับเมื่อเราป่วย เราไปที่โรงพยาบาลแล้วก็ไปหาหมอ แต่ถ้าไปโรงพยาบาลของรัฐก็ต้องไปเช้าๆหน่อย ไปตามคิว กว่าจะพบหมอ กว่าจะได้ยา กว่าจะได้กลับบ้าน แต่หลายคนอาจจะเคยไปโรงพยาบาลเอกชน พอไปถึงก็มีคนต้อนรับ มีเคาท์เตอร์ มีคนบริการทุกอย่างแต่โรงพยาบาลเอกชนก็จะมีค่ารักษาพยาบาล ก็เหมือนกันกับทนายความ เมื่อเมื่อจัดการมรดกให้ก็จะมีค่าวิชาชีพทนายความ
เอกสารต่างๆที่ผู้รับมรดกจะตั้งผู้จัดการมรดกที่ต้องเตรียมก็คือเอกสารดังต่อไปนี้
(1) เอกสารของผู้ตาย มรณบัตรของผู้ตาย บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
(2) เอกสารสิทธิ์ต่างๆ ถ้าบ้านก็ต้องมีโฉนด ถ้าธนาคารก็ต้องมีสมุดบัญชีธนาคาร ถ้าในส่วนของรถยนต์ก็จะมีคู่มือรถ และถ้าเป็นสลากต่างๆก็จะมีคู่มือ จะเป็นสมุดเงินฝากต่างๆเตรียมให้กับทนายความเพื่อจะร่างคำฟ้องได้เลย
(3) เอกสารอีกฉบับหนึ่งที่จำเป็นจะต้องทำและเซ็นต์รับรองความถูกต้องนั่นก็คือบัญชีเครือญาติ ในตัวบัญชีเครือญาติก็จะเป็นเหมือนแผนภูมิ บอกว่าผู้ตายเป็นใคร บิดา มารดาของผู้ตายเป็นใคร สมรสกับใคร มีลูกหลานกี่คน มีพี่น้อกี่คน เพื่อที่จะได้บอกได้ว่าผู้ที่ยื่นคำร้อวเป็นผู้ที่มีสิทธิ์จริงๆในการรับมรดกของผู้ตาย คนที่ยื่นคำร้องต้องมีสิทธิ์รับมรดกแต่ผู้จัดการมรดกจะเป็นใครก็ได้ เป็นทนายความก็ได้หรือจะเป็นตัวผู้ยื่นคำร้องเอง
(4) เอกสารสำคัญที่ต้อวเตรียมเลยก็คือบัญชีทรัพย์ ก็จะบอกว่ามีทรัพย์สินอะไรบ้าง เลขที่เท่าไหร่ ถนนเลขที่เท่าไหร่ สมุดเงินฝากเลขที่อะไรแล้วก็จะมีมูลค่าคร่าวๆด้วย
(5)หนังสือยินยอมทายาท ก็คือทายาททุกคนยินยอมให้บุคคลนี้เป็นผู้จัดการมรดก แล้วก็จะเป็นบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หนังสือยินยอมของทายาท
เมื่อเครียดเอกสารครบก็สามารถถ่ายเอกสารเป็นตัวสำเนา นื่นคำร้องได้เลย แต่วันไต่สวนหรือวันขึ้นศาลจริงต้อวเอาเอกสารตัวจริงไปด้วย
กระบวนการยื่นคำร้องต่อศาล ถ้าให้ทนายความทำ ท่านทนายความก็จะเตรียมเอกสารต่างๆและไปที่ศาลเพื่อยื่น ซึ่งทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องไปที่ศาลก็ได้ จะมีระบบ e-Filing ของศาล ก็จะเป็นให้เราแสกนคำร้องต่างๆใส่ลงไปในระบบของศาล และศาลก็จะนัดไต่สวนคำร้อง หมายความว่าวันนั้นผู้จัดการมรดก ทายาท ทนายความหรือพนักงานอัยการจะไปที่ศาลและแถลงให้ศาลฟังถึงว่าความต้องการของเรา ทรัพย์สินมีเท่าไหร่ ผู้ตายตายด้วยเหตุใด มีความเกี่ยวข้องอย่างไร มีทายาทกี่คน บางท่านคิดว่าศาลจะจัดการแบ่งมรดกให้ แต่ไม่ใช่ สิ่งที่ศาลทำคือตั้งผู้จัดการมรดกให้เท่านั้น ศาลจะไม่แบ่งให้ เรื่องแบ่งเป็นเรื่องของเอกชนทำกันเอง ถ้าแย่งไม่ลงตัว ช่อโกงก็มาบอกศาล ศาลสามารถถอนและตั้งคนใหม่ได้
ในกรณีที่ทายาทให้การยินยอมทุกคน ศาลก็จะมีประกาศศาล จะติดประกาศที่ศาลหรือบางทีจะใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของศาล เมื่อติดประกาศแล้วถึงวันที่เราต้องมาไต่สวนคำร้อง ท่านผู้จัดการมรดกก็จะเข้าไปในศาล รอคิวของตัวเอง
ตอนนี้ศาลได้เอาระบบการไต่สวนคำร้องออนไลน์มาใช้แล้ว หากท่านเลือกใช้ออนไลน์ ผมทำคลิปให้ดูแล้ว ผมจะแปะลิงค์ไว้ในคำอธิบายข้างล่างนี้ว่าการไต่สวนออนไลน์มีบรรยากาศเป็นอย่างไร แต่ถ้าการไต่สวนจริงๆที่ศาล เมื่อผู้ร้องสาบานตนเสร็จทนายความหรืออัยการก็จะถามความ และเราก็จะตอบตามคำร้องของเรา เมื่อเราตอบเสร็จศาลท่านอาจจะมีคำถามหรือมีข้อเสนอแนะอะไร หลังจากนั้นศาลก็จะออกคำสั่งศาล แต่คำสั่งศาลก็คือจะไม่ได้กลับบ้านในตอนนั้นเพราะว่าเจ้าหน้าทีต้องพิมพ์ ศาลต้องเซ็นต์ และหลังจากนั้นให้โทรมาที่ศาลว่าได้หรือยัง อาจจะเป็นหนึ่งหรือสองอาทิตย์ ประมาณนั้นนะครับ ถามว่าคำสั่งศาลได้หรือยัง ถ้าได้ก็จะเอาคำสั่งษ่ลนั้นไปใช้ได้เลย ในบางคดีในบางกรณีอาจจะมีผู้คัดค้านด้วย สามารถยื่นคำคัดค้านได้ในวันไต่สวนได้เลย

Комментарии

Информация по комментариям в разработке