ดินลูกรังปลูกต้นไม้ได้หรือไม่ ตรวจดินให้เห็นเชิงประจักษ์ สวนบ้านใครมีดินลูกรัง ดูคลิปนี้ไปด้วยกัน

Описание к видео ดินลูกรังปลูกต้นไม้ได้หรือไม่ ตรวจดินให้เห็นเชิงประจักษ์ สวนบ้านใครมีดินลูกรัง ดูคลิปนี้ไปด้วยกัน

๐ ดินลูกรังเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานหลายประการ อาทิ
๐ ความหาง่าย ดินลูกรังเป็นวัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในหลายพื้นที่
๐ งานถมดิน งานปรับระดับดิน เนื่องจากมีความสามารถในการระบายน้ำได้ดี บดอัดดินได้ดี
๐ งานฐานราก ดินลูกรังสามารถใช้เป็นวัสดุหลักในฐานรากของอาคาร บ้านเรือน สะพาน และอื่น ๆ
ด้วยเหตุนี้ดินลูกรังที่ใช้ในการถมพื้นที่เพื่อปลูกบ้านและปรากฏอยู่พื้นที่บริเวณสวนรอบบ้านนั้น ก็มีข้อเสียบางประการ เช่น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จึงไม่เหมาะสำหรับปลูกพืช และโครงสร้างของดินแน่นอันเกิดการทรุดตัวจากการบดอัดพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมทางวิศวกรรมเพื่อก่อสร้างอาคาร เป็นต้น

๐ เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบของดินนั้น ดินที่ดีจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง ดินที่ดีมีความเหมาะสมกับการปลูกพืชควรมีองค์ประกอบที่เหมาะสม ดังนี้
๐ อนุภาคดิน ดินที่ดีควรมีอนุภาคดินที่หลากหลาย โดยควรมีทั้งดินร่วน (ทรายแป้ง) ดินเหนียว และดินทราย เพื่อให้ดินมีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินร่วน (ทรายแป้ง) จะทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำและอากาศได้ดี ดินเหนียวจะทำหน้าที่ในการยึดเกาะดินและป้องกันการชะล้างของดิน ดินทรายจะทำหน้าที่ในการระบายน้ำได้ดี
๐ อินทรีย์วัตถุ อินทรียวัตถุเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายมาจากซากพืชและสัตว์ อินทรียวัตถุมีความสำคัญต่อดินหลายประการ เช่น ช่วยให้ดินร่วนทรุย ช่วยให้ดินมีความสามารถในการกักเก็บน้ำและอากาศได้ดี ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดิน และเป็นแหล่งของธาตุอาหารพืช
๐ อนินทรีย์วัตถุ เป็นแหล่งของธาตุอาหารพืช พืชต้องการธาตุอาหารหลายชนิดในการเจริญเติบโต ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นต่อพืช โดยดินที่ดีควรมีธาตุอาหารพืชในปริมาณที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
๐ ปริมาณน้ำและอากาศที่เหมาะสม ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งรากพืชและจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช
๐ pH ของดินเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความเป็นกรดหรือด่างของดิน ดินที่ดีควรมี pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยทั่วไปแล้ว ค่า pH ของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 7.0

๐ ดังนั้น เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของดินลูกรังที่ใช้นำมาเป็นดินถมสำหรับการปลูกสร้างอาคารก็จะพบว่าโครงสร้างของดิน อันประกอบด้วยอนุภาคของดินรูปแบบต่างๆ ตลอดจนอินทรีย์วัตถุ อนินทรีย์วัตถุ ปริมาณน้ำและอากาศ รวมไปถึง pH ของดิน อาจมีความไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ด้วยเหตุนี้การตรวจประเมินคุณภาพของดินจะทำให้ทราบระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อที่จะได้ทำการปรับปรุงคุณสมบัติของดินในบ้านของเราให้เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป

๐ ในคลิปนี้มือเย็นดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของดินอย่างง่าย โดยใช้ NPK pH Test Kit for Soil ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทำการตรวจสอบคุณภาพดินครอบคลุมถึง pH ของดิน และปริมาณธาตุอาหารหลักในดินประกอบไปด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม โดยการตรวจ pH ของดินก่อนทำการปลูกพืช เพราะ pH ของดินมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายประการ ดังนี้
๐ การละลายของธาตุอาหารในดิน ธาตุอาหารในดินจะละลายได้ดีในดินที่มี pH ที่เหมาะสม ดินที่มี pH ต่ำหรือสูงเกินไป จะทำให้ธาตุอาหารในดินละลายได้น้อยลง พืชจึงได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
๐ การดูดซึมธาตุอาหารของพืช พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารจากดินได้ดีขึ้นเมื่อดินมี pH ที่เหมาะสม ดินที่มี pH ต่ำหรือสูงเกินไป จะส่งผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารของพืช ทำให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้น้อยลง
๐ การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในดิน จุลินทรีย์ในดินมีความสำคัญต่อการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ดินที่มี pH ที่เหมาะสม จะทำให้จุลินทรีย์ในดินเจริญเติบโตได้ดี และช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินได้มากขึ้น ส่งผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
สำหรับค่า pH ของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและสภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปแล้ว ค่า pH ของดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 7.0 พืชบางชนิดอาจต้องการค่า pH สูงกว่าหรือต่ำกว่านี้ ดังนั้น หากเราทราบค่า pH ของดินก่อนทำการปลูกพืช เราก็จะสามารถปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดนั้นๆ ได้ ซึ่งจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง
๐ นอกจากนี้แล้วการตรวจปริมาณ ธาตุอาหารหลัก (Macronutrients) ประกอบไปด้วย ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งเป็นธาตุอาหารพืชที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณมาก มีความสำคัญต่อ การเจริญเติบโตของพืช
ในทำนองกลับกัน การขาดธาตุอาหารหลัก จะทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารต่างๆ อาทิ การขาดไนโตรเจน พืชจะแสดงอาการใบสีซีด ใบเหลือง ใบเล็ก และใบร่วง โดยเริ่มจากใบล่างของพืช การขาดฟอสฟอรัส พืชจะแสดงอาการเจริญเติบโตช้า รากสั้น ดอกและผลน้อย การขาดโพแทสเซียม พืชจะแสดงอาการใบม้วนงอ ขอบใบไหม้ ยอดยอดอ่อนตาย ด้วยเหตุนี้การปรับปรุงดินจากการตรวจสอบคุณภาพของดินให้ทราบถึงปริมาณธาตุอาหารหลัก (Macronutrients) ที่อยู่ในดินจะทำให้เราสามารถปรับปรุงคุณภาพของดินได้อย่างเหมาะสมโดยการเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน พีเอชของดิน ตลอดจนการให้ปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารหลักให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างดีและแข็งแรง

๐ ขอบคุณ Appliedchem (Thailand)Co.,Ltd. ที่สนับสนุนการเดินทางของมือเย็นครับ สามารถค้นหาข้อมูลชีวภัณฑ์เพื่อการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชอย่างปลอดภัยจาการเคมีและได้ผล จาก www.facebook.com/bioareus หรือค้นหาคำว่า Appliedchem-Thailand และสั่งซื้อได้จาก Line เพียงเพิ่มเพื่อนแอดไลน์ไอดี : @ope8253x ครับผม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке