ประกันสังคมมาตรา 33-39-40 ให้อะไรเราบ้าง กรณีทุพพลภาพ/Nathamon channel

Описание к видео ประกันสังคมมาตรา 33-39-40 ให้อะไรเราบ้าง กรณีทุพพลภาพ/Nathamon channel

สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 กรณีทุพพลภาพ
1. เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39
ถ้าระดับความสูญเสียไม่รุนแรง (ร้อยละ 35 ขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละ 50) จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ อัตราร้อยละ30 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นเวลา 180 เดือน
ถ้าระดับความสูญเสียรุนแรง (ร้อยละ 50 ขึ้นไป) จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน ตลอดชีวิต
ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามทางเลือกที่จ่ายต่อเดือน
ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน และทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500–1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท
เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต โดยจำนวนเงินที่ได้รับขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ
2. ค่าบริการทางการแพทย์
เข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ หรือในสถานพยาบาลที่เลือก ทั้งในกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทางสถานพยาบาลจะเป็นผู้มายื่นเรื่องเบิกกับทางสำนักงานประกันสังคม
เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยนอกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ผู้ป่วยใน จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับ-ส่งผู้ทุพพลภาพ ให้เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
3. เงินบำเหน็จชราภาพ จะได้รับเมื่อมีมติให้เป็นผู้ทุพพลภาพ ส่วนจำนวนเงินนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาการส่งเงินสมทบทั้ง 3 มาตรา
4. ค่าทำศพ
กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเสียชีวิต มาตรา 33 และ 39 ผู้จัดการศพจะได้รับเงินค่าทำศพ จำนวน 50,000 บาท ส่วนมาตรา 40 จะได้รับเงินค่าทำศพ ตามทางเลือกที่เลือกจ่าย โดยทางเลือกที่ 1 และ 2 ได้รับ 20,000บาท และทางเลือกที่ 3 รับ 40,000 บาท
5. เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพถึงแก่ความตาย มาตรา 33 และมาตรา 39 มีสิทธิได้รับเมื่อ
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน
ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 นั้นไม่ได้รับความคุ้มครองในสิทธิประโยชน์นี้
6. หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณียื่นคำขอฯเพื่ออนุมัติให้เป็นทุพพลภาพ)
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าเป็นบุคคลทุพพลภาพ
สำเนาเวชระเบียน
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน
#ประกันสังคม#ทุพพลภาพ#Nathamon channel

Комментарии

Информация по комментариям в разработке