เมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพระธาตุ สมัยก่อนสร้างเมืองนครศรีธรรมราช

Описание к видео เมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพระธาตุ สมัยก่อนสร้างเมืองนครศรีธรรมราช

#ตำนานพระธาตุ และ #เมืองนครศรีธรรมราช"
สมัยก่อนสร้างเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึง #พระเจ้าอังกุศราช
เจ้าเมือง "ชนทบุรี" ยกทัพขึ้นเหนือเพื่อรบชิงพระทันตธาตุจากพระเจ้า
โกสีหราชแห่งเมือง "ทนทบุรี" ท้าวโกสีหราช เสียเมืองและสิ้นพระชนม์
นางเหมซาลาเป็นพระราซธิดากับเจ้าทันตกุมารจึงนำพระทันตธาตุลอบหนีออก
จากเมือง ลงสำเภาโดยมีเป้าหมายว่าจะไป #เมืองลังกา ระหว่างทางเกิดพายุร้าย
สำเภาแตก ทั้งสองขึ้นฝั่งได้และฝังพระทันตธาตุไว้ที่ "หาดทรายแก้วชเลรอบ"
ส่วนตนเองก็แอบซ่อนตัวอยู่
ในช่วงเวลาต่อมาพระอรหันต์พรหมเทพเหาะผ่านมาแลเห็นรัศมี
พระธาตุจึงลงมานมัสการพระอรหันต์ และเล่าเรื่องความเป็นมาและที่จะ
เดินทางไป เยาวกษัตริย์ทั้งสองจึงออกมานมัสการ #พระอรหันต์ ได้ทำนายว่า
สถานที่ตรงนี้ต่อไปภายหน้าจะมีกษัตริย์ทรงพระนามว่าพระยาศรีธรรมโศกราช
จะมาตั้งขึ้นเป็นเมือง และพระอรหันต์ได้สนับสนุนให้ทั้งสองนำพระทันตธาตุ
ลงเรือที่ท่าเรือเมืองตรังไปถึงเมืองลังกาได้อย่างปลอดภัย
เจ้าเมืองลังกาได้ประดิษฐานพระทันตธาตุไว้ในปราสาท และเมื่อทราบ
ความประสงค์ของเยาวกษัตริย์ทั้งสองว่าต้องการเดินทางกลับบ้าน จึงทำหนังสือ
ถึงเจ้าเมืองทนทบุรีห้ามทำร้ายเจ้าทั้งสอง พร้อมแต่งสำเภาให้ทรัพย์สมบัติ
กับ #พระสารีริกธาตุ กลับไปด้วย ๑ ทะนาน เมื่อเดินทางผ่านมาถึง "หาดทราย
แก้วชเลรอบ " ได้หยุดแวะและแบ่งพระสารีริกธาตุออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่ง
ฝังไว้ที่เดียวกันกับที่เคยฝัง #พระทันตธาตุ อีกส่วนหนึ่งได้นำกลับไปยังเมือง
ทนทบุรีของตน
๑.๒ #สมัยเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งที่ ๑ กล่าวถึงการเกิด
"ไข้ยุบลมหายักษ์" ที่เมืองใหญ่หงสาวดี พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเจ้าเมืองจึง
พาผู้คนพร้อมพระมเหสีและพระโอรส ๒ พระองค์ พระนามว่า เจตราซกับ
พงษ์กษัตริย์ ลงสำเภาแล่นใบมาถึงริมทะเลแห่งหนึ่งจึงตั้งเมืองนครศรีธรรมราช
ขึ้นที่นั้น
ครั้งนั้นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งใน #ประเทศอินเดีย ทรงพระนามว่า
พระเจ้าศรีธรรมโศกราซเซนเดียวกัน (คือ #พระเจ้าอโศก ที่รู้จักกันใน
ประวัติศาสตร์)ได้ก่อพระเจดีย์ขึ้น ๘๔,๐๐๐ องค์ แต่ไม่มีพระธาตุจะบรรจุ
จึงส่งทูตมายังเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อขอแบ่งพระธาตุไป
#พระเจ้าศรีธรรมโศกราช แห่ง #นครศรีธรรมราช เมื่อแรกก็ไม่รู้จะหา
พระธาตุได้จากที่ใด แต่ต่อมามีชายซราอายุ ๑๒๐ ปี พอจะทราบเรื่องการฝัง
พระธาตุโดยเยาวกษัตริย์ทั้งสองในอดีตจึงชี้สถานที่ "หาดทรายแก้วซเลรอบ"
ที่อยู่ในตัวเมืองของพระองค์นั้น แต่ก็ต้องหาผู้มีวิชาอาคมจึงสามารถนำ
พระบรมธาตุขึ้นมาได้ และแบ่งให้แก่พระเจ้าศรีธรรมโศกราชผู้สร้างพระเจดีย์
ให้มีพระธาตุบรรจุได้ครบทั้ง ๘๔,๐๐๐ องค์
ส่วนที่ "หาดทรายแก้วซเลรอบ " ภายในเมืองของพระองค์นั้น โปรดให้
ก่ออิฐสร้างเจดีย์พระธาตุขึ้นตรงที่ ๆ เคยฝังพระธาตุแต่ก่อน ขณะนั้น
พระพุทธสิหิงค์ลอยน้ำมาจากลังกามาทางเกาะปีนังแล้วมาถึงหาดทรายแก้วที่
ก่อเจดีย์พระธาตุ
แต่การก่อเจดีย์พระธาตุยังไม่เสร็จก็เกิดไข้ห่าลง ผู้คนจึงอพยพลงสำเภา
หนีแต่ก็ไม่พ้นตายกันหมด เมืองนครศรีธรรมราชจึงร้างไปเป็นครั้งที่ ๑
๑.๓ สมัยเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 มีเรื่องราวสั้น ๆ ที่ปรากฏ
ขึ้นมาโดยไม่แสดงความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวตอนใด โดยตำนานพระธาตุฯ ได้
กล่าวถึงตัวเลขศักราช ๑๑๙๖ พระญาศรีไสณรงค์กับน้องชื่อธรรมกระษัตริย์
มาจากทิศตะวันตกมาเป็นเจ้าเมือง พระพุทธสิหิงค์จากลังกามาประทักษิณ
พระธาตุอยู่ ๗ วันแล้วไปเซียงใหม่ ครั้นพระญาศรีไสณรงค์สิ้นพระชนม์
พระอนุซาก็เป็นเจ้าเมืองแทนถึงศักราช ๑๑๙๘ เจ้าธรรมกระษัตริย์ก็
สิ้นพระซนม์ เรื่องมีเท่านี้ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องเดียวกับเรื่องที่เล่าผ่านไปแล้วในข้อ
๑.ㆍ และเอามาปนกับเรื่องในข้อ ๑.๓ ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
เรื่องในตำนานจริง ๆ ควรจะเริ่มขึ้นเมื่อกล่าวถึงท้าวศรีธรรมโศกราช
เจ้าเมือง "อินทษัตบุรีย์ " กับน้องชื่อจันทรภาน และท้าวพงษ์สุราหนีไข้ห่า
มาถึงพระธาตุเจดีย์ที่ก่ออิฐค้างไว้ จึงได้ก่อพระธาตุจนเสร็จและสร้างกำแพง
เมืองโดยรอบ ให้ผ้าขาวซาวหงสาวดีไปนิมนต์พระสงฆ์จากลังกามาทำบุญฉลอง
พระธาตุ
การเฉลิมฉลองพระธาตุทราบไปถึงพระราชบิดาของท้าวอู่ทองแห่ง
กรุงศรีอยุธยาจึงให้ท้าวอู่ทองยกทัพลงมา ท้าวศรีธรรมโศกราซก็ยกทัพ
ขึ้นไป กองทัพหน้าของทั้งสองปะทะกันถึงล้มตายแถบบริเวณ "บางตะภาร"
(คือบางตะพานหรือบางสะพาน) ท้าวศรีธรรมโศกราชรู้สึกรันทดใจจึงขอ
อ่อนน้อมยอมเป็นไมตรี ทั้งสองทัพก็เลิกแล้วต่อกัน
ศักราช ๑๒๐๐ ท้าวศรีธรรมโศกราชสิ้นพระซนม์ จันทรภานได้เป็น
เจ้าเมืองแทน โดยใช้พระนามว่า ศรีธรรมโศกราซ และท้าวพงษ์สุราได้เลื่อน
เป็นจันทรภานุ กองทัพซวายกทัพมาเอาซนะเมืองนครศรีธรรมราชได้ต้องยอม
เป็นเมืองส่งส่วยไข่เป็ดแก่ซวา แต่ต่อมาไม่นานก็มีคนดีซื่อพังพการเข้า
รับราชการทหาร คิดต่อสู้ซวาโดยการขุดคูรอบเมืองพระเวียงขับไล่ซวาไปได้
จึงได้รับส่วนแบ่งให้ครองเมืองครึ่งหนึ่ง ต่อมาท้าวศรีธรรมโศกราช (องค์น้อง
ผู้ซึ่งแต่เดิมคือ จันทรภานุ) สิ้นพระซนม์ ก็เกิดโรคระบาดคนตาย เมืองร้าง
ไปเป็นครั้งที่ ๒
๑.๓ สมัยเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งที่ ๓ ตำนานเมืองฯ กับตำนาน
พระธาตุฯ กล่าวต่างกันเล็กน้อยในรายละเอียด โดยตำนานเมืองฯ ได้อ้างอิง
ไปถึงเรื่องเจ้านายเชื้อสายกษัตริย์ผู้แยกตัวออกมาจากส่วนกลาง ซึ่งก็ควร
หมายถึงกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ก่อนปีการสถาปนากรุงอย่างเป็นทางการเมื่อ
พ.ศ. ๑๘๙๓ มาตั้งศูนย์อำนาจอีกแห่งหนึ่งขึ้นที่เมืองเพชรบุรี โดยมีคำเรียก
ผู้ครองเมืองด้วยภาษาที่มีความหมายสูงสุดว่า "พระเจ้าอยู่หัว"
ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชได้กล่าวพระนามกษัตริย์ แสดงถึงอำนาจ
ส่วนกลางที่แยกมาตั้งอยู่ที่เมืองเพซรบุรี ว่า "พระพนมทะเลครีมเหสวัสดิทราธิราช"



เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке