โซลิดสเตตรีเลย์ AC ทำงานอย่างไร ? แกะออกมาดู ยิ่งตกใจ...!! เนื่องจาก...

Описание к видео โซลิดสเตตรีเลย์ AC ทำงานอย่างไร ? แกะออกมาดู ยิ่งตกใจ...!! เนื่องจาก...

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ เรามา
พบกันในช่วง งั๊ดแง๊ะ รอบบ้าน
เป็นช่วง ที่เราจะ งั๊ดแง๊ะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ออกมาให้ดู แล้วก็มา สุ่มเดา จินตนาการ ว่ามันทำงานอย่างไร

และ ตัวที่โชคร้ายของผม ในวันนี้ก็คือ Solidstate ตัวนี้ครับ เป็นแบบใช้ ไฟ DC ควบคุมไฟ AC อีกทีหนึ่ง

SSR ตัวนี้ ก่อนที่เรา จะไปแกะดู เรามาดู คุณสมบัติ เบื้องต้น ของมันซะก่อนครับ
ในส่วน Input สามารถรับไฟ DC ได้ตั้งแต่ 3V - 32V
ส่วนอีกฝั่งหนึ่ง สามารถรับไฟได้ตั้งแต่ 24V - 380V AC ทนกระแสได้สูงถึง 75 A

สำหรับการต่อใช้งาน มันก็ไม่ได้ยากอะไร ครับ
เราจะต่อสายไฟจากโหลด เส้นหนึ่ง เข้ากับไฟ AC และ อีกเส้นหนึ่ง ต่อคั้น ระหว่าง solidstate ที่ Output
เราจะ ต่อคาไว้อย่างงั้น แหละ ครับ

ทาง ฝั่ง Input เราจะใช้ไฟต่ำๆ อย่างเช่น ไฟจาก แบตเตอร์รี่ลิเธี่ยมไอออนตัวนี้ ที่มีแรงดันเพียงแค่ 3V กว่าๆ เป็นตัว จ่ายแรงดัน
นี่ครับ หลอดไฟของเรา ก็จะติด ก็ถือว่า SSR ตัวนี้ ทำงานได้ ปกติทั่วไป ตามที่เขาออกแบบมา

ต่อไป เดี่ยวเราจะมาชำแหละแต่ละส่วน ออกมาให้ดูนะครับ
ก็ปรากฎว่า ผมพยายาม งัด แง๊ะ แต่ ก็ยังแกะไม่ออก

ผมก็ไมเคย แกะ SSR รุ่นนี้มาก่อน เหมือนกัน
หรือว่า ชิ่้นส่วน มันจะหล่อ เบ้า บอดี้ เป็น ชิ้้นสารเดียวกัน ทั้งหมด

ก็น่าจะต้อง แกะแผ่น ตรงนี้ออก มาดู ซะก่อนครับ
นี่ไงครับ... รุ่นนี้ ขามีโครงสร้าง หล่อ ติดกัน จริงๆด้วยครับ

หลังจากนั้น ผมจะถอดน๊อต ออกมากก่อน
แล้วก็จะลอง....งัดแผ่น ข้างล่าง ลองดูครับ ว่าจะได้ไหม
แต่ก่อนที่จะแกะออก ผมจะต้อง เอาน๊อตยึด ไตรแอค 2 ตัว ออกจาก ช่องนี้ซะก่อนครับ ไม่งั้นมัน ไตรแอค จะเสียหายได้

ก็ถือว่า กว่าที่จะนำน๊อต 2 ตัวนี้ ออกมาได้ ก็ใช้เวลา อยู่พอสมควรครับ เพราะว่า มันถูก อาบ เคลือบด้วย สาร บางอย่าง
ด้านบน
ต้องใช้ความพยายาม เป็นอย่างมาก ในการเอาออก
นี่ครับ ถอดได้แล้ว

เพื่อน ๆดู นี่ ซิครับ
ไขควงนี่ตัวนี้ แทบที่จะจิก ไม่เข้าเลยด้วยซ้ำ

เพราะฉะนั้น ถ้าเอาออกมาแล้วก็ควร แค๊ะ ทำความสะอาด ให้เห็นร่องซักหน่อย อย่างน้อยก็ให้ไขควงแฉก ประกบ ขันเข้าไปได้ครับ

นี่ครับ หลังจากทำความซะอาด เสร็จ
หลังจากนั้น ก็แง๊ะฝาหลัง แหง๊ม ออกมาได้เลย
ตอนนี้ สิ่งที่ผมเห็นก็คือ
มีการขนาน ไตรแอค จำนวณ 2 ตัวตรงนี้ ครับ
ที่เขาใส่ไว้ 2 ตัว ก็น่าจะเพื่อให้ ทนกระแสได้สูงขึ้น

เราไปกันต่อครับ
ผมจะต้อง
ถอด ไตรแอค ออกมาก่อน
เพื่อที่จะได้ อ่านดูลายวงจรได้ ง่ายขึ้น
นี่ครับ ผมถอดได้แล้ว
เป็น ไตรแอค เบอร์ BTA24A

สเป๊กก็คือ ทนแรงดันได้สูงถึง 800V แต่ทนกระแสได้ เพียงแค่ 25A เท่านั้นเอง
เมื่อ เราใช้ 2 ตัว ขนานกัน แปลว่ามันทนกระแสได้สูงสุดเพียง 50A แค่นั้น

ก็สรุปว่า SSR ทนกระแสสูงสุดได้เพียง 50A แต่ เค้าเขียนระบุ สเป๊กเกินจริง ไปหน่อย
ทำไมถึงเป็นแบบนั้นได้....

หรือ จะว่า เค้าลืมใส่ ไตรแอค มาอีกตัวหรือเปล่า...ก็ไม่น่าจะใช่
หรือ เป็น เพราะเลือดกรุ๊ปบี หรือเปล่า...อันนี้ ก็ไม่น่าจะใช่ ไปใหญ่

ไม่เป็นไร ครับ ตอนนี้เรารู้แล้ว ว่าสเป๊กมันไม่ถึง สิ่งที่เราทำได้ ดีที่สุด ก็คือ อย่าใช้ สเป๊กเกิน ก็พอครับ



ระหว่างการถอดวงจร ผมบังเอิญ ทำลายวงจรตรงนี้ขาดไป
และตรงนี้ ผมก็ทำมันเป็นรอย ใหญ่ๆ
ไม่เป็นไรครับ เดี๋ยวผม ค่อย บัดกรี ซ่อมแซม มันทีหลัง


ทีนี้
เรา มาดูหลักการทำงานของ มันบ้างครับ
ผมเดาว่า ในตอนแรก ถ้าหาก
เราป้อนไฟ Input มาปุ๊บ ก็จะถูกลด กระแสด้วยตัวต้านทาน ตรงนี้
แล้วก็ มีซีเนอร์ไดโอด ค่อยรักษาแรงดันให้ไม่เกิน 3V ตรงนี้
หลังจากนั้น มันก็วิ่ง มารอไบอัส ที่ ทรานซิสเตอร์
ส่วน อีกฝั่งหนึ่ง ขั้วลบ ก็จะ ถูกลดกระแส ด้วย ตัวต้านทาน เช่นกัน

และ ผ่าน R ตัวนี้ เพื่อลดกระแสอีกทีหนึ่ง เพื่อเข้าไปเลี้ยง หลอด LED
ส่วนกระแสที่เหลือ ก็จะวิ่ง ผ่าน R จั้มเปอร์
เพื่อไปรอครบวงจรทื่ ทรานซิสเตอร์

พอมัน ครบวงจร กระแส ก็จะไหลออก จากทรานซิสเตอร์ ไปเข้า Ic 6 ขาตรงนี้
IC ตัวนี้ ถ้าเราพลิกดู ก็จะเป็นเบอร์ 3063 เป็น IC opto คัปเปอร์ ชนิด พิเศษ เป็นชนิด Photo triac

คุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ
ถ้าได้รับไฟเลี้ยง นิดหน่อย ตัวมันก็จะปล่อยแสง อินฟาเรส ออกมา
และทั้งหมดนี้ ก็อยู่ใน ส่วนของ Input

ต่อไปเราจะมาดู ฝั่งที่เป็น Output กันบ้างครับ
อีกครึ่งของตัว opto
พอมันได้แสง อินฟาเรสเข้าไป มันก็จะหึกเหิม เป็นการ จุดชนวน
ให้กับ ไดแอค ตรงนี้ ทำงาน และในตอนนี้ เองมันสามารถนำกระแสได้ 2 ทิศทาง แล้วครับ

ปกติ ไดแอค จะนำกระแสได้ก็ต่อเมื่อมีแรงดันพังทะลายค่าๆหนึ่งใช่ไหมครับ
แต่ตัวนี้ เหมือนมันจะไม่ต้องใช้ มันไม่ชอบแรงดัน มันชอบแสง มันหิวแสง นั้นเอง

ถ้ามาดูลายวงจร ตรงนี้ ก็เปรียบเสมือนว่า ขาทั้ง 2 มันได้เชื่อมต่อถึงกัน ทำให้กระแส AC ไหลผ่านไปได้

แล้วมันจะไหลไปไหน ?
มันก็ไหล ไบอัสบัสขา Gate ของ
ไตรแอค ตัวใหญ่ นั้นแหละครับ

สำหรับ หลักการทำงานของไดแอค ไตรแอค
เพื่อนๆ สามารถ เข้าไปค้น คลิปเก่าๆ ของทางช่องเราได้ ผมเคยทำไว้แล้ว

ส่วน ไตรแอค ที่ขนานกันอยู่ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน เป็นพิเศษ ครับ

ขา 1 ลายวงจรเดียวกัน
ขา 2 ลายวงจรเดียวกัน
ขา 3 จั้มเปอร์มา ลายวงจรเดียวกัน

ถ้าจะโม ไตรแอคเพิ่ม ก็ต่อขนาน มัน เพิ่มไปอีกครับ
3 4 5 ตัว
มันก็จะทนกระแสได้มากขึ้น

และทั้งหมดนี้ ก็คือ หลักการทำงาน คร่าว ของ SSR แบบ Dc ควบคุมไฟ Ac
ขอบคุณเพื่อนๆทุกทานที่ติดตามรับชมครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке