ประวัติความเป็นมาของ Seiko | Auction House

Описание к видео ประวัติความเป็นมาของ Seiko | Auction House

“Seiko” เป็นแบรนด์นาฬิกาทางฝั่งเอเชียที่ยืนหยัดในแวดวงนาฬิกามากว่า 140 ปี จึงทำให้กลายเป็นที่รู้จักและดึงดูดจากตลาดนาฬิกาโลกเทียบชั้นกับแบรนด์สวิสเลยทีเดียว เรามาดูกันว่าแบรนด์ Seiko มีความเป็นมาอย่างไรและผ่านเหตุการณ์อะไรมาบ้าง

เรื่องราวเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1881 เมื่อ Kintaro Hattori ตัดสินใจก่อตั้งบริษัท K.Hattori & Co. ขึ้นในกรุงโตเกียวเพื่อนำเข้านาฬิกาจากฝั่งตะวันตกมาขายในประเทศญี่ปุ่น และกิจการนำเข้าก็เป็นไปได้ด้วยดี ทำให้ 9 ปีต่อมา เขาตัดสินใจผลิตนาฬิกาออกขายเอง โดยเริ่มต้นจากการตั้งโรงงานผลิตนาฬิกาใช้ในบ้านขึ้นที่กรุงโตเกียวในชื่อ “Seikosha”

Seiko กับอุปสรรคมากมายที่ต้องฝ่าฟัน
หลังจากก่อตั้งโรงงานผลิตนาฬิกา Seikosha มากว่า 30 ปี บททดสอบความแข็งแกร่งของแบรนด์ก็โถมเข้าใส่ Seikosha โดยบททดสอบแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1923 เมื่อประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ส่งผลให้โรงงานและสำนักงานของ Seikosha พังราบ แต่ฮัตโตริก็ไม่ยอมแพ้สร้างโรงงานขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จนสามารถผ่านวิกฤติ และยืนหยัดมาได้ถึง 14 ปี ก่อนจะตั้งโรงงานแห่งที่สองและใช้ชื่อว่า “Daini Seiko” จากนั้นไม่นานก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น และในท้ายที่สุด Seiko ก็ถูกปิดลง ตัวโรงงานก็ถูกนำมาใช้เป็นโรงงานผลิตกระสุนและอาวุธเพื่อใช้ต่อสู้ในสงครามแทน

จุดเริ่มต้นของการเป็น Grand Seiko และ King Seiko
หลังสงครามสิ้นสุด ตัวโรงงานเหลือเพียงแค่แห่งเดียวในเมืองซูวะ ซึ่งกลายมาเป็นโรงงานหลักสำหรับผลิตนาฬิกา Grand Seiko โดยทางบริษัท Seiko ได้รื้อฟื้นโรงงาน “Daini Seiko” ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1959 และให้ Daini Seiko แยกตัวออกจาก Suwa Seiko ทำให้ในช่วงนี้ Seiko แบ่งออกเป็น 2 บริษัท คือ 1.Grand Seiko ที่มีฐานการผลิตมาจากโรงงาน Suwa Seiko และ 2. King Seiko จากโรงงาน Daini Seiko ซึ่งจุดประสงค์ในการฟื้นโรงงานและแยกทั้งสองแบรนด์ออกจากกันในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้เกิดการแข่งขันในแวดวงนาฬิกาภายใต้แบรนด์เดียวกัน

ต้นแบบดีไซน์ที่สร้างมาเพื่อ Seiko เท่านั้น
Seiko เริ่มหันมาให้ความสำคัญของดีไซน์นาฬิกามากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1959 ทางแบรนด์ได้จ้างนักออกแบบชาวญี่ปุ่นชื่อดัง Taro Tanaka ให้มาร่วมออกแบบนาฬิกา ซึ่งเขาได้สร้างกฎแห่งการออกแบบนาฬิกาสำหรับ Seikoโดยเฉพาะ โดยใช้ชื่อกฏว่า “The Grammar of Design” ซึ่งเป็นหลักการออกแบบนาฬิกาที่ทำขึ้นให้กับแบรนด์ Seiko โดยเฉพาะ และกฎอันนี้ กลายมาเป็นแม่แบบในการดีไซน์นาฬิกาของแบรนด์ Seiko ทุกเรือนในเวลาต่อมา

Seiko กับหนทางในการพิสูจน์ตัวเอง
Seiko มีเป้าหมายและแนวทางในการเดินหน้าแข่งขันในสนามนาฬิกาโลกอย่างชัดเจน โดยในปี ค.ศ. 1964 แบรนด์ซูวะเซย์โกะ ได้เปิดตัวนาฬิกาอีกหนึ่งรุ่นคือ The Grand Seiko 57GS และในปีเดียวกันนั้นเองแบรนด์ไดนิเซย์โกะก็เปิดตัว The King Seiko 44KS ของตัวเอง อีกทั้งยังเป็นนาฬิกาเรือนแรกของไดนิเซย์โกะที่คุณภาพสูสีกับ Grand Seiko แต่ก็ใช่ว่าเส้นทางที่เดินนั้นจะง่ายสมใจ เพราะ Grand Seiko ป่าวประกาศออกไปว่านาฬิกา Chronograph ของตนมีความแม่นยำสูงมาก จากการทดสอบของแบรนด์ตัวเอง แต่ยังไม่ได้ส่งนาฬิกาไปทดสอบจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกอย่าง The European Chronometer Official Association

บทพิสูจน์ที่ประสบความสำเร็จอย่างภาคภูมิของ Seiko
แบรนด์ Suwa Seiko และ Daini Seiko ก็ได้ส่งนาฬิกาของตนเองเข้าร่วมการตรวจสอบความแม่นยำและเที่ยงตรงจาก Neuchatel Astronomical Observatory ซึ่งเป็นสถาบันจัดลำดับความแม่นยำของระบบกลไกนาฬิกาสวิสฯ โดยผลการทดสอบออกมาว่า นาฬิกาจากซูวะเซย์โกะได้ลำดับที่ 144 และไดนิเซย์โกะได้ลำดับที่ 153 ทำให้ทั้ง Grand Seiko และ King Seiko ได้รับบทเรียนครั้งยิ่งใหญ่ เพราะผลที่ออกมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ตัวเองเคลมไว้
จนกระทั่งอีก 3 ปีต่อมาทั้งสองแบรนด์ก็พัฒนานาฬิกาจากบทเรียนที่ได้รับ และส่งนาฬิกาเข้าร่วมการทดสอบอีกครั้ง โดยผลลัพธ์ในครั้งนี้ก็ถือเป็นก้าวกระโดด เพราะผลออกมาว่านาฬิกาจาก Daini Seiko ได้ลำดับที่ 4, 5 และ 7 ส่วนนาฬิกาจาก Suwa Seiko ได้ลำดับที่ 12

Seiko ทำให้วงการนาฬิกาสั่นสะเทือนด้วยวิกฤติ Quartz
ในระหว่างช่วงที่ Grand Seiko และ King Seiko กำลังพิสูจน์ความเก๋าของตัวเองบริษัทแม่อย่าง Seiko ก็ไม่ได้หยุดพัฒนาตัวเองโดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีนาฬิการะบบ Quartz จนในที่สุดช่วงปี ค.ศ. 1969 แบรนด์ Seiko ก็ทำวงการนาฬิกาโลกสั่นสะเทือนด้วยการเปิดตัวนาฬิการุ่น Astron 35SQ ที่เป็นนาฬิการะบบ Quartz เรือนแรกของแบรนด์ที่ถูกผลิตออกจำหน่าย และเป็นนาฬิกาที่มีความแม่นยำสูง ส่งผลกระทบครั้งใหญ่กับอุตสาหกรรมนาฬิกาทั่วโลก หรือที่รู้จักกันดีในชื่อวิกฤติ “The Quartz Crisis”

Seiko เปิดตัว Mechanical Watch พร้อมกลไกแบบใหม่
ถึงแม้ว่านาฬิการะบบ Quartz จะสั่นสะเทือนวงการนาฬิกาโลกและชนะแบรนด์สวิสฯ อย่างถล่มทลาย แต่การแข่งขันไม่ได้จบลงแค่นั้น เพราะวงการนาฬิกาแบรนด์สวิสฯ พยายามหาทางแก้เกมอีกรอบ ด้วยการเปลี่ยนแผนกลับมาเล่นความนิยมของ Luxury Watch แบบ Machanical
เมื่อเทรนด์นาฬิกา Luxury กำลังเป็นที่นิยมในตลาด Seiko จึงหันกลับมาผลิตนาฬิกา Luxury Mechanical อีกครั้ง และเปิดตัวนาฬิกา Grand Seiko 9SGS ในปี ค.ศ. 1998 และถือเป็นนาฬิกาเรือนแรกที่ใช้กลไก Calibre 9S

Seiko ในปัจจุบันที่ล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยี
ปัจจุบัน Seiko ก็ยังคงพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ จนในปี 2019 Seiko Prospex ก็สามารถชนะรางวัลจาก Grand Prix ในสาขา Diver’s Watch Prize มาได้ หรือแม้แต่งาน High End อย่างแบรนด์ Credor ที่ถือกำเนิดขึ้นในฐานะแบรนด์นาฬิการะดับสูงสุดของ Seiko ที่เป็นผลงานระดับ Masterpiece จากสุดยอดช่างฝีมือระดับโลกจากญี่ปุ่น

Instagramt :   / auctionhouse_official  
ติดตามคอนเทนต์นาฬิกาที่น่าสนใจได้ที่   / auctionhouse.th  
ซื้อ-ขายนาฬิกามือสองได้ที่ https://www.auctionhouse.co.th/

#AuctionHouse #WatchReview #WatchInsights #ลงทุนนาฬิกา #รีวิวนาฬิกา

Комментарии

Информация по комментариям в разработке