รู้ทุกเรื่อง ! ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร คำนวณแบบไหน ? สรุปในคลิปเดียว | ศึก 12 ภาษี EP.4

Описание к видео รู้ทุกเรื่อง ! ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร คำนวณแบบไหน ? สรุปในคลิปเดียว | ศึก 12 ภาษี EP.4

จดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนแล้ว ต้องรู้เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล ว่าแต่มันคำนวณยังไง คำนวณแบบไหน วางแผนยังไง? คลิปนี้จะมาสรุปทุกอย่างที่ต้องรู้ พร้อมตัวอย่างให้ดูกันไปเลยครับผม

อันดับแรกต้องบอกแบบนี้ครับว่า #ภาษีเงินได้นิติบุคคล มีการคำนวณหลายวิธี และมีแนวคิดหลายอย่างอยู่ในนั้น แต่คลิปนี้เราจะพูดถึงการคำนวณหลัก ๆ สำหรับธุรกิจที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือจดบริษัท ซึ่งจะคำนวณภาษีจาก #กำไรสุทธิ ครับ

เมื่อพูดถึงภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เราคุยกันตัวนี้ จะยังใช้หลักการเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ โดยจะมี ความสัมพันธ์ของภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ประจำปี ภาษีเงินได้ครึ่งปี และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทเราได้จ่ายภาษีเงินได้ครึ่งปีไปแล้ว 50,000 บาท พอสิ้นปีคำนวณภาษีได้ 80,000 บาท ก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 30,000 บาท และถ้าหากบริษัทเรามีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ตลอดทั้งปีจำนวน 20,000 บาท ทัายที่สุดแล้วบริษัทเราก็จะจ่ายภาษีเพิ่มแค่ 10,000 บาทเท่านั้นครับ

เมื่อพูดถึงคำว่ากำไรสุทธิ พื้นฐานมันก็มาจากคำว่า กำไรนั่นแหละครับ คือ รายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย แต่กำไรสุทธิคือกำไรที่เป็นบรรทัดสุดท้ายท้ายสุดที่เอารายได้ทุกอย่างหักด้วยค่าใช้จ่ายทุกตัวออกหมดแล้ว ซึ่งการคิดกำไรที่ว่านี้ เราจะคิดเป็นช่วงเวลาครับ ที่เรียกว่ารอบบัญชี ซึ่งรอบบัญชีปกติก็คือ 1 ปี หรือว่า 12 เดือนครับ

แต่เวลาคำนวณภาษี เราจะไม่ใช้ กำไรทางบัญชีที่นักบัญชีสรุปมาเมื่อกี้นะครับ เราจะใช้สิ่งที่เรียกว่า #กำไรทางภาษี แทน ซึ่งแปลว่า เราจะต้องมีการปรับตัวเลขกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีเสียก่อน ถึงจะคิดภาษีได้ครับ

กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ทำให้กำไรทางภาษีเพิ่มขึ้น นั่นคือ รายได้ที่เป็นรายได้ทางภาษี กับ รายจ่ายต้องห้ามครับ

รายได้ทางภาษี คือ รายได้ที่ทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้แต่ต้องถือเป็นรายได้ทางภาษี
ค่าใช้จ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่ทางบัญชีถือเป็นรายจ่าย แต่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางหลักภาษี

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่ทำให้กำไรทางภาษีลดลง นั่นคือ รายได้ที่ได้รับสิทธิ์ยกเว้น กับ รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น ครับ

รายได้ที่ได้รับยกเว้น คือ รายได้ที่ทางบัญชีถือเป็นรายได้ แต่ไม่ถือเป็นรายได้ทางภาษี
ค่าใช้จ่ายหักได้เพิ่ม คือ รายจ่ายที่ทางภาษีกำหนดให้หักเป็นรายจ่ายได้มากกว่าหลักการบัญชี

โดยการปรับปรุง ถ้าเราเขียนเป็นสูตรออกมา มันจะเป็นแบบนี้ครับ กำไร (ขาดทุน) ทางภาษี = กำไร (ขาดทุน) ทางบัญชี + รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ + รายจ่ายต้องห้าม - รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น - รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น

หลังจากที่เราได้กำไรทางภาษีแล้ว เราจะนำมาคูณอัตราภาษีครับ ซึ่งปกติแล้วอัตราภาษีในปัจจุบันของนิติบุคคลจะอยู่ที่ 20% ของกำไรสุทธิ แต่ถ้าหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของเราเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยมี 2 องค์ประกอบนี้ คือ ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และ รายได้รวม (ทางภาษี) ไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีลงไปอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติมลองดูได้ที่คลิปนี้เลยครับ

#ศึก12ภาษี รวมความรู้พื้นฐานภาษี 12 ประเภทสำหรับประชาชน ที่พรี่หนอมตั้งใจทำเพื่อให้ทุกคนเรียนรู้เรื่องภาษีได้อย่างสนุก และเข้าใจง่าย โดยที่ไม่ต้องอ่านกฎหมายให้ปวดหัวครับ

0:00 Intro
0:41 พูดคุยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คิดจากกำไร
1:14 ความสัมพันธ์ของภาษีเงินได้
2:24 กำไรมาจากไหน? รอบบัญชีคืออะไร?
4:13 กำไรทางบัญชี VS กำไรทางภาษี
5:26 รายการปรับปรุงกำไรทางภาษี
9:49 การปรับปรุงอาจจะไม่มากอย่างที่คิด
10:34 รายจ่ายต้องห้าม หรือ ค่าใช้จ่ายต้องห้าม
11.40 รายได้ทางภาษี
13:50 ตัวอย่างการปรับปรุงกำไรทางภาษี
15:01 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน
19:03 สรุป

Комментарии

Информация по комментариям в разработке