กระท่อม สรรพคุณอย่างไร เปิดใจมาฟังกัน - หมอนัท

Описание к видео กระท่อม สรรพคุณอย่างไร เปิดใจมาฟังกัน - หมอนัท

ปรับลำไส้ - แก้อาการอ่อนเพลีย
ปวดเนื้อปวดตัว - ลดอาการซึมเศร้า

"เปิดใจให้ใบกระท่อม ใช้อย่างเข้าใจ"
---------------------------------------------------
สารบัญ (Time Jump)
00:00 - เกริ่นนำ
00:27 - ภาพรวม ใบกระท่อม
08:04 - สรรพคุณและวิธีใช้ ใบกระท่อม
29:08 - ข้อควรระวัง และ กฏหมาย
43:44 - สรุปเรื่องใบกระท่อม
---------------------------------------------------
00:27 - ภาพรวมใบกระท่อม
เคยอยู่ใน ยาเสพติดประเภท 5
แบบเดียวกับ กัญชา ฝิ่น เห็ดขี้ควาย

ทางใต้เรียก ท่อม
กลางเรียก อีถ่าง
ชาวมาเลย์เรียก เบี๊ยะ
ไม้ใกล้เคียงคือ กระทุ่ม ขมและเมา ก้านสั้น ไม่นิยมใช้

ใบกระท่อมมีรส ขมเฝื่อนเมา

วิธีที่ใช้เป็นส่วนมาก
เคี้ยวใบสดให้มีกำลัง บดเป็นผงชงน้ำ
ต้มดื่ม กินกับน้ำที่มีรสชาติหวาน
หรือ ย่างเกรียมตำผสมน้ำพริก
ตำพอกแผล

อาการหลังเคี้ยวใบกระท่อม
หลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงาน ได้นาน และทนแดดมากขึ้น แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้ทานจะมี ผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น

------------------------------------------------
08:04 - สรรพคุณและวิธีใช้

กระท่อม สมุนไพรแห่งความอดทน
เป้าหมายหลัก 3 ข้อ ปรับลำไส้, กระตุ้น, ลดปวด

1. ปรับลำไส้
มวนท้อง ท้องเสีย มีลมในท้องมาก
ลดการเคลื่อนที่ของลำไส้เล็ก
ลมในช่องท้อง กุจฉิสยาวาตา
ไม่หิวบ่อย

2. กระตุ้นร่างกาย (กระตุ้น)
กระปรี้กระเปร่า คล้ายการทานกาแฟ(วงศ์เดียวกัน)
มีสมาธิมากขึ้น โฟกัสได้ดี

3. ลดความรู้สึก (ลดปวด)
ทนแดด ทำงานหนักได้ (กระตุ้นร่างกายให้ต่อสู้่)
ลดอาการปวดต่าง ๆ (สารไมทราไจนีน)
คลายความตึงเครียด (เมา)

ช่วยรักษาโรคอะไรได้บ้าง
แก้โรคบิด ติดเชื้อในลำไส้ ท้องร่วง มวนท้อง
ไม่เกิน 5 ใบต่อวัน ใส่ เกลือเล็กน้อยลดการท้องผูก

ช่วยลดน้ำตาล บำบัดเบาหวาน กระตุ้นการใช้พลังงาน
วันละ 1 ใบ 41 วัน
ร่วมกับ ทานอาหารเช้าทุกวัน ทานอาหารให้หลากหลาย

อ่อนเพลีย ง่วงนอนทั้งวัน
ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย
ไม่เกิน 5 ใบต่อวัน ใส่ เกลือเล็กน้อยลดการท้องผูก

แก้ปวดเนื้อตัว
เป็นยาแก้ปวด และ ต้านอักเสบ เพราะมีสาร ไมทราไจนีน (Mitragynine)
แนะนำ การทานเถาวัลย์เปรียง รสเฝื่อนและเมา

ลดอาการซึมเศร้า
ช่วยลดอาการสั่นไหวของอารมณ์
แนะนำการทาน ลูกยอ ชาเขียว ช่วยได้เช่นกัน

วิธีใช้อื่น ๆ
ทานให้สู้แดด ไม่เกิน 5 ใบต่อวัน พร้อมกับ เกลือ 1 หยิบมือ
หากไม่ต้องการให้ท้องผูกให้ทานพร้อมใบชุมเห็ดเทศ
ตำพอกโปะกระหม่อมช่วยนอนหลับ
แพทย์แผนไทย ไม่ใช้เป็นยาเดี่ยว แต่ใช้เป็นตำรับเช่น ยากล่อมอารมณ์, ยาหนุมานจองถนนปิดสมุทร

/***********/
ตำรับ "ยาหนุมานจองถนนปิดมหาสมุทร" ชื่อเก๋ไก๋ที่ฟังแล้ว ... หมดปัญหาเรื่อง "ท้องเสีย" กันไปเลย
ในคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม ๑ ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) (สมาคมเภสัชกรรมไทยโบราณแห่งประเทศไทย) ได้กล่าวถึงตำรับนี้ว่าประกอบด้วย....

เบญกานี ผลกล้วยตีบ ใบกระท่อม ใบกระพังโหม ใบทับทิม ลูกทับทิมอ่อน ใบสะแก ชันย้อย ดินกิน กระเทียมกรอบ บดละลายน้ำเปลือกต้นคาง แก้ท้องร่วงอย่างแรง
/***********/
-------------------------------
29:08 - ข้อควรระวังและกฎหมาย

เมากระท่อม : ทานครั้งแรก ท้องว่าง เมาเหล้าอยู่

เมื่อใช้มากไปจะทำให้
ท้องผูก
คลื่นไส้อาเจียน (อุจจาระเคลื่อนลงไม่ได้)
ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย
เบื่ออาหาร
ผิวหนังคล้ำลง เพราะ เลือดไปเลี้ยงผิวหนังมาก
ทนหนาวไม่ได้
ก้าวร้าว กระวนกระวาย ความดันสูง
อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว
นอนไม่หลับ เพราะถูกกระตุ้นมากเกินไป

ผู้ที่ไม่ควรใช้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และ ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้
และ ผู้ที่ท้องผูกมาก ๆ ยังไม่ควรใช้
ระวังการกินก้านใบจะทำให้ถ่ายไม่ออก(ถุงท่อม)

การต้มใบกระท่อม
ใช้ 20-30 ใบ ใส่น้ำ 1.5 ลิตร
ขยำ ยี ให้มีความขม
ใส่น้ำเพิ่มอีก 1.5 ลิตร
ได้น้ำประมาณ 10 แก้ว
ตกแก้วละ 3 ใบ
ทานวันละ 1-2 แก้วเท่านั้น

กฎหมายกระท่อม
ปลดล็อกจากยาเสพติดประเภท 5
○ ปลูกได้ ขายได้ ไม่ผิด
○ ขายต้นได้ ขายใบได้
○ ต้มใช้ในครัวเรือนได้
○ กระท่อมไปปรุงอาหารขายยังไม่ได้
○ ขายน้ำกระท่อมมาก ๆ ยังไม่ได้

------------------------------
43:44 - สรุป เรื่องใบกระท่อม

สรุป กระท่อมเป็นยา ไม่ใช่ อาหาร
ช่วย ลดอาการทางลำไส้, ลดน้ำตาล
ลดอ่อนเพลีย, ลดอาการปวด, อาการซึมเศร้า
และ มีสมุนไพรทดแทนได้ ไม่ควรใช้กระท่อม
เพียงอย่างเดียว

สิ่งที่ควรระวังคือ
อาการท้องผูก อาการปวดตามข้อต่อ
อารมณ์หงุดหงิด หรือ นอนหลับยาก
ที่เกิดจากการทานมากเกินไป

#หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง
#กินอาหารเป็นยา

Комментарии

Информация по комментариям в разработке