พระกริ่งปวเรศ กระแสโลหะชัดๆ หาดูยาก | EP 44

Описание к видео พระกริ่งปวเรศ กระแสโลหะชัดๆ หาดูยาก | EP 44

พื้นฐานการดูพระกริ่งปวเรศ ๔​ มีนาจะใช้หลักการดูพุทธศิลป์ ดูธรรมชาติของเนื้อสำริด ออกไซด์โลหะเก่า และเชิงช่าง ร่องรอยของงานแต่งพิมพ์ระดับช่างหลวง ประกอบกันในการดูวัตถุมงคลชิ้นนี้ ครับ

เราจะเริ่มต้นกันที่พุทธศิลป์เท่าที่พบมา พระกริ่งรุ่นนี้จะมี ๒ พิมพ์ คือหน้าไทยและหน้าจีน องค์นี้เป็นหน้าไทย จะดูสมส่วนนะครับ ส่วนหน้าจีนจะดูสมบูรณ์กว่าและตาชั้นเดียว

แล้วก็ยังไม่รวมถึงพระชัยวัฒน์ ที่เป็นพระองค์เล็กๆ นะครับ พระพิมพ์นี้ยังมีที่ตอกหมุดและไม่ตอกหมุด ปิดก้นด้วยวัสดุต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่ามอบให้ผู้ใด ตามระดับหรือความสำคัญของผู้นั้น

พุทธศิลป์ของพระพิมพ์นี้จะยังไม่เรียบ คม รอยแต่งพิมพ์เพิ่มจะมีบนใบหน้าและในบางจุด ถ้าเป็นรุ่นหลังๆ มา เราจะเห็นร่องรอยเครื่องมือช่างในการเก็บรายละเอียดในจุดเล็กๆ ได้มากกว่า

เนื้อพระ เป็นเนื้อสำริด ถ้าเอาแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือการใช้โลหะหลายชนิด ตามสูตรสำริดมาผสมเข้าด้วยกัน
แต่ถ้าเอายากขึ้นมาหน่อยสำหรับพระกริ่งปวเรศ ก็คือการใช้โลหะแต่ละชนิดตามสูตร มาหลอมและรีดให้เป็นแผ่น จารอักขระ เลขยันต์ ผ่านพิธีพุทธาภิเษก และนำมาหลอมรวมอีกครั้งเป็นโลหะสำริด รวมถึงทองคำ เงิน และทองแดง เพื่อใช้สร้างพระกริ่ง

เมื่อได้โลหะที่มีความแข็งแกร่ง และมีพุทธาคมตามสูตร จึงมีการบรรจุลูกกริ่งเข้าไป อุดฐานพระ หรือปิดรอยเจาะกริ่งด้านข้าง และเนื้อสำริดเต็มสูตรนวโลหะ จะเป็นโลหะที่มีความแข็งและแกร่ง จะยิ่งทำให้เสียงกริ่งที่เกิดขึ้นมีความใส ก้องและ กังวาน หลังจากนั้นจึงเป็นการตกแต่งรายละเอียดขององค์พระ ตอกโค็ด หรือโค๊ดลับ บางองค์จะมีรอยจารยันต์ตามองค์พระ

ดังนั้นตามหลักธรรมชาติเมื่อเราผสมโลหะหลายชนิดเข้าด้วยกัน สิ่งที่เราต้องเห็นก็คือความหลากหลายของโลหะในเนื้อ หรือที่เรียกว่าเห็นกระแสโลหะทั้งพื้นผิวด้านบนและความซับซ้อนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่ำกว่าและในร่องลึก

วิธีดูเนื้อสำริดเก่า
อย่างที่ ๔​ มีนาพูดประจำนะครับว่า หัวใจของพระเก่าคือความแห้ง โลหะที่ผ่านเวลา ความชื้น ความร้อนตอนกลางวัน ความเย็นตอนกลางคืนสลับกันมากว่า​ ๗ หมื่นวัน เราจะต้องเห็นความแห้งของโลหะ ถ้าเป็นพระที่ผ่านใช้งานมาบ้าง อย่างน้อยในซอกหรือในร่อง เราก็ควรจะต้องเห็นความแห้ง หรือคราบแห้งๆ อยู่ดี

ในกรณ๊ถ้าเป็นพระใช้งานหนักมาก เราอาจจะไม่เห็นความแห้งได้ครับ แต่ส่ิงที่จะมาแทนความแห้งจากการใช้ คือความเหี่ยว กร่อนจากเหงื่อที่กัดโลหะแทน ซึ่งในกรณีนี้เนื้อโลหะจะมีความฉ่ำ หรือที่เรียกว่าผิวเปิดได้ และเราก็จะเห็นความหลากหลายที่เกิดขึ้นบนองค์พระได้ง่ายขึ้นครับ

วัตถุทุกอย่างรวมถึงโลหะอายุเป็นร้อยปีต่อให้เก็บยังไง ถึงเป็นพระไม่ได้ใช้ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติให้เราเห็นได้ ยิ่งถ้ามีรอยจาร ท้องรอยจารต้องกลับ มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติในทุกจุด เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากในเนื้อ พยายามดูรายละเอียดตามจุดเล็กๆ น้อยๆ หรือจุดที่ตกแต่งรายละเอียดยากด้วยนะครับ เพราะพระแต่งเก่ามักจะไม่ลงรายละเอียดในจุดเล็กๆ


ออกไซด์โลหะ
ปกติแล้วองค์พระจะมีวรรณะหรือสีออกไปตามโลหะที่มีสัดส่วนมากกว่าที่อยู่ในพระองค์นั้น หรือที่เรียกว่าเนื้อพระแก่อะไร ยิ่งผ่านเวลานาน สีจะยิ่งเข้มขึ้น พระองค์นี้จะออกไปทางแดงเข้มปนดำ เนื่องจากแก่ทองคำและเงินมากหน่อย ถ้าแก่ทองแดงจะออกไปทางสีนาค ถ้าแก่เงินก็จะออกไปทางเทาดำอมเขียว จนถึงกลับดำ แต่ถ้าแก่ทองเหลืองล้วนๆ โล้นๆ ๔ มีนาไม่แนะนำครับ

สีของโลหะเก่าจะเกิดจากธรรมชาติของโลหะรวมกับออกไซด์ที่ผุดจากในเนื้อขึ้นมาคลุมผิวเป็นจุดๆ
ทำให้สีองค์พระมีสีเข้มอ่อนหลากหลาย เกิดจากในเนื้อทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ ดูระยิบๆ นะครับ
และเมื่อเนื้อโลหะเก่ามีออกไซด์คลุมผิว เวลาเราดู จะมีความรู้สึกเหมือนเนื้อพระมีเปลือกคลุมผิว

จุดสำคัญคือ ต้องส่องดูให้เห็นออกไซด์ขึ้นจากในเนื้อ ย้ำนะครับอยู่ในเนื้อ เหมือนสนิมเหล็กที่ขึ้นทีละจุด ขึ้นทีละ ๑ โมเลกุลรวมตัวกันเหมือนเป็นเปลือกผิว มีสีอ่อนเข้มปนกัน อย่างองค์นี้จะมีส้ม แดง น้ำตาล ดำขึ้นปนกันไปมา มีความหนาบาง สูง ต่ำอยู่ในเนื้อพระ

โลหะและแร่แต่ละชนิดมีธรรมชาติของตัวเอง เหล็กทั่วไปก็มีสนิม ตะกั่วจะมีไข สังกะสีและพลวงจะมีเสี้ยน ทองเหลืองที่เป็นสำริดผสม กับทองเหลืองที่สั่งมาจากโรงงานก็แตกต่างกัน ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้พระเก่าดูมีมิติ ดูมีเสน่ห์น่ามองครับ

เชิงช่างหลวง รอยเครื่องมือ รอยจาร คือจุดสำคัญสำหรับการดูพระกริ่งโบราณได้ทุกสายเลยนะครับ โดยเฉพาะพระกร่ิงปวเรศ

วิธีการดูรอยเครื่องมือช่างก็คือ รอยต่างๆ จะเกิดจากการสลัก ตอก ไส หรือแกะด้วยเครื่องมือเพื่อให้เกิดความคมชัดขององค์พระ รวมถึงรอยจาร
ดังนั้น เราจะเห็นรอยเครื่องมือช่างที่ทำด้วยมือ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดองค์พระ การแกะลวดลายต่างๆ หรือจะเป็นรูปหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ถ้าเป็นยุคหลังๆ มาหน่อย อาจเป็นได้ว่ามีการทำแม่พิมพ์มากดหรือปั๊ม แต่ไม่ควรจะเป็นการหล่อมาในพิมพ์โดยไม่มีรอยเครื่องมืออยู่ดี พี่ๆ เพื่อนๆ ที่มีพระกริ่งรุ่นต่างๆ ลองดูที่รายละเอียดหน้าตา รอยสังฆาฏิ ฐานบัว และรอยตอกหมุด จะใช้เป็นจุดพิจารณารอยเครื่องมือช่างได้ครับ

ลองดูพระกริ่งจีน ๔ มีนามีรูปขยายรอยตอกตัวอักษรที่เห็นตัวอย่างได้ชัดมาดูกัน เราจะเห็นรอยจากเครื่องมือที่มีความคม ปลายเป็นสามเหลี่ยม เห็นลักษณะของการตอกทีละเส้นเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่ต้องการ มีลึก ตื้นสลับกันไป เห็นรอยโลหะปลิ้นที่อาจเกิดจากการตอกกดโลหะลงไป ก้นรอยมีธรรมชาติและสีเดียวกับพื้นที่รอบๆ ที่เรียกว่ารอยตะไบกลับ แสดงถึงอายุของพระที่ผ่านเวลามานาน

สำหรับพระกริ่งปวเรศที่มีการตอกหมุด เราไม่ควรจะเห็นรอยกาว หรือรอยทาสีที่หมุด จุดนี้เป็นจุดง่ายๆ แต่ก็โดนกันไปหลายคน เพราะความอยากได้จนมองข้ามไป
สำหรับรายละเอียดของเครื่องมือช่าง การตอกหมุดเพิ่มเติม พี่ๆ เพื่อนๆ ดูเพิ่มเติมได้ในคลิปพระกริ่งปวเรศที่ผ่านมานะครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке