พระพุทธสิหิงค์ |ตำนานการแย่งชิงพระพุทธสิหิงค์ จนเกือบจะเกิดเป็นสงคราม

Описание к видео พระพุทธสิหิงค์ |ตำนานการแย่งชิงพระพุทธสิหิงค์ จนเกือบจะเกิดเป็นสงคราม

พระพุทธสิหิงค์
ตำนานการแย่งชิงพระพุทธสิหิงค์จนเกือบจะเกิดเป็นสงคราม
#พระพุทธสิหิงค์ เป็น #พระพุทธรูปโบราณ หล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมา พระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งราช #อาณาจักรตามพรลิงก์ ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ #กรุงศรีอยุธยา ต่อมา ได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับ #พระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จ #พระนารายณ์มหาราช ตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ #วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี
เมื่อ #เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2338 โดยประดิษฐานอยู่ ณ #พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ #พระราชวังบวรสถานมงคล นิยมเชิญออกมาช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ
พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขนานนามว่า พระพุทธสิหิงค์ อีกองค์หนึ่งประดิษฐานในวิหารวัดพระเจ้าเม็งรายเป็น #พระพุทธรูปสำริด #ปางมารวิชัย ที่ฐานพระพุทธรูปมีจารึกด้วยอักษรธรรมล้านนาภาษาบาลีและภาษาไทยวนว่า ผู้สร้างเป็นพระสังฆราชนามว่า พระศรีสัทธัมมไตรโลกรัตนจุฬามหาสังฆราช สร้าง พ.ศ. 2012 (ตรงกับรัชสมัยพญาติโลกราช) ขนานนามว่า พระพุทธสิหิงค์ ฐานของพระพุทธรูปมีน้ำหนักทองสำริด 24,000 หน่วย มีจารึกที่ฐานเป็นภาษาบาลี แปลความว่า “ศรีสัทธัมมะมหาสังฆราชให้สร้างพระพุทธรูปสิหิงค์ขึ้นประทับนั่งเหนือบัลลังก์อัน ประเสริฐเหมือนพระอาทิตย์ปรากฏเหนือเขายุคันธรและเหมือนพระจันทร์งามเด่นอยู่บนท้องฟ้า... (ภาษาไทยวน) ศรีสัทธัมมะไตรโลกรัตนจุฬา มหาสังฆราช... ให้หล่อพระพุทธรูปสิหิงค์องค์นี้ เพื่อเป็นไม้ไต้แก่โลก และ(เพื่อ)คนทังหลายบูชา เป็นส่วนบุญอันจัก(นำ) ไปเกิดในเมืองฟ้าและนิพพาน ที่ไม่รู้จักแก่เถ้า และไม่รู้ตาย...ฐาน (ของพระพุทธรูปองค์นี้) มีน้ำหนัก 2,400” (ฮันส์ เพนธ์. 2519. คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในเวียงเชียงใหม่. หน้า 59.)
ตามตำนานเล่าสืบต่อกันถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระพุทธสิหิงค์ว่า
"การสร้างได้ประกอบขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน 3 ประการคือ 1) คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี 2) แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลังกาผู้สร้าง 3) อานุภาพแห่งองค์ #สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ที่ใด #พระพุทธศาสนา ย่อมรุ่งเรืองดังดวงประทีปเสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่"
ส่วนพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานที่จังหวัดเชียงใหม่และนครศรีธรรมราชนั้น จะเป็นพุทธลักษณะปางมารวิชัย #ศิลปะเชียงแสนสิงค์ 1 คือจะเป็นพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร ส่วนองค์ที่กรุงเทพจะเป็นแบบขัดสมาธิราบ
พระพุทธสิหิงค์มีอยู่หลายองค์ ต่างก็ว่าเป็นองค์จริงจากลังกา!! แต่องค์ที่ถูกขโมยไปอยู่กับใครหว่า?
พระพุทธสิหิงค์ เป็น #พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง องค์หนึ่ง ในวันสงกรานต์ของทุกปี กรุงเทพมหานครจะอัญเชิญจาก #พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ออกแห่ไปรอบเมือง แล้วนำมาประดิษฐานที่ปะรำพิธีกลางสนามหลวง ให้ประชาชนได้สรงน้ำและบูชา
ขณะเดียวกัน อีกหลายจังหวัดก็จัดขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ให้ประชาชนสรงน้ำอีกเช่นกัน ทั้งยังไม่ใช่องค์จำลองไปด้วย เพราะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามฝีมือช่างของเมืองนั้น
อีกทั้งยังมีพระพุทธสิหิงค์ของจังหวัดตรังถูกขโมยไปตั้งแต่ปี 2526 และมีข่าวในขณะนี้ว่า ผู้ราชการจังหวัดตรังและเจ้าอาวาสวัดที่ถูกขโมยไปกำลังติดตามทวงคืนจากอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่ง ทำให้เกิดสงสัยกันว่า ทำไมมีพระพุทธสิงหิงค์หลายองค์นัก องค์ไหนเป็นองค์จริงกันแน่ และองค์ของจังหวัดตรังที่หายไป อยู่กับใคร? และจะยอมคืนให้วัดหรือไม่?
ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์
พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง ในวันสงกรานต์ของทุกปี กรุงเทพมหานครจะอัญเชิญจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ออกแห่ไปรอบเมือง แล้วนำมาประดิษฐานที่ปะรำพิธีกลางสนามหลวง ให้ประชาชนได้สรงน้ำและบูชา
ขณะเดียวกัน อีกหลายจังหวัดก็จัดขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ให้ประชาชนสรงน้ำอีกเช่นกัน ทั้งยังไม่ใช่องค์จำลองไปด้วย เพราะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามฝีมือช่างของเมืองนั้น
อีกทั้งยังมี #พระพุทธสิหิงค์ของจังหวัดตรังถูกขโมย ไปตั้งแต่ปี 2526 และมีข่าวในขณะนี้ว่า ผู้ราชการจังหวัดตรังและเจ้าอาวาสวัดที่ถูกขโมยไปกำลังติดตามทวงคืนจากอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่ง
ทำให้เกิดสงสัยกันว่า ทำไมมีพระพุทธสิงหิงค์หลายองค์นัก องค์ไหนเป็นองค์จริงกันแน่ และองค์ของจังหวัดตรังที่หายไป อยู่กับใคร? และจะยอมคืนให้วัดหรือไม่?
เรื่องราวของพระพุทธสิหิงส์นั้น แต่โบราณก็มีเล่าไว้หลายสำนวน เรื่องหนึ่ง พระโพธิรังสี พระภิกษุแห่งล้านนา ได้แต่งเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนปี พ.ศ.1985 หรือเกือบ 600 ปีมาแล้ว ในชื่อ “นิทานพระพุทธสิหิงส์” ซึ่ง ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร ได้แปลเป็นภาษาไทย และกรมศิลปากรจัดพิมพ์ในเทศกาลสงกรานต์เมื่อ พ.ศ.2506 เล่าไว้ว่า
#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке