กุหลาบเวียงพิงค์ | ระนาดเอก (ขลุ่ย-ซึง) | Fino the Ranad

Описание к видео กุหลาบเวียงพิงค์ | ระนาดเอก (ขลุ่ย-ซึง) | Fino the Ranad

ระนาดเอกเพลงลูกกรุง "กุหลาบเวียงพิงค์" ต้นฉบับโดย วงจันทร์ ไพโรจน์ เป็นบทเพลงลูกกรุงอมตะที่กล่าวถึงสาว "เวียงพิงค์" หรือ "เชียงใหม่" มีศิลปินนำมาขับร้องใหม่หลายครั้ง อาทิ พุ่มพวง ดวงจันทร์, สุนทรี เวชานนท์, อรวี สัจจานนท์ และ แม้กระทั่ง ปราง ปรางทิพย์ เป็นต้น ในครั้งนี้ โน่ได้นำมาเรียบเรียงโดยใช้ระนาดเอกเป็นเครื่องดำเนินทำนองหลัก แทรกด้วยขลุ่ย และซึง (เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ) ในช่วงดนตรีบรรเลง และช่วงสอดรับ เพื่อให้มีกลิ่นอายความเป็นล้านนามากยิ่งขึ้น เดินจังหวะด้วยเสียง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง โทน รำมะนา เพื่อให้ได้อารมณ์เหมือนขบวนแห่ที่ผสมผสานความเป็นล้านนาและดนตรีไทยภาคกลาง ขอให้ทุกท่านเพลิดเพลินครับ

"กุหลาบเวียงพิงค์ ดอกนี้บ่มีเจ้าของ
เพิ่งแรกแย้มบ่มีไผจอง เป็นเจ้าของครองใจเด็ดดม
ส่งกลิ่นอบอวล ยั่วยวนหัวใจไปตามสายลม
เปิ้นทั่วแคว้นแดนไทยหมายชม สมเป็นกุหลาบเวียงเหนือ"

อย่าลืมคอมเมนต์ ไลก์ แชร์ กดติดตาม และกดแจ้งเตือน เป็นกำลังใจให้ Fino the Ranad ด้วยนะครับ
___
เปิดแล้ว! โรงเรียนระนาดเอกแนวใหม่ The Ranad Studio สอนโดย Fino the Ranad
- สัมผัสโปรดัคชั่นจัดเต็มและมีคลิประดับมืออาชีพเป็นของตัวเองเมื่อจบคอร์ส
- รูปแบบการเรียนระนาดแนวใหม่ ปรับพื้นฐาน ปรุงสไตล์การเล่น ปลุกความคิดสร้างสรรค์ ปัง! ทุกรูปแบบการแสดง
- สมัครเรียนหรือข้อมูลเพิ่มเติม คลิก: https://linktr.ee/theranadstudio

สมัครสมาชิกช่อง Fino the Ranad (โน้ตและ backing track เพลงนี้) คลิก:
https://bit.ly/3BJjlP9

ติดต่องาน CONTACT:
📱 LINE ID → @finotheranad (LINE Official ผู้จัดการ)
📱 https://page.line.me/finotheranad
📧 Email → [email protected]

📘 กลุ่มเฟซบุ๊กคนระนาดเอก →   / 647162609563724  
📱 INSTAGRAM → (Finomenonn)   / finomenonn  
⏰ TIKTOK → (@Finotheranad)   / finotheranad  
📘 FACEBOOK → (Fino the Ranad)   / finotheranad​​​​  
___

ประวัติเพลง

วงจันทร์ ไพโรจน์ เล่าถึงที่มาเพลงนี้ว่าในปี 2500 มีโอกาสติดตามวงดนตรีแม่ดมที่อยู่แถวเฉลิมบุรีไปเดินสายเหนือ โดยมีบังเละและสุรพล สมบัติเจริญไปด้วยรถไฟวิ่งผ่านสถานีต่างๆ จนมาถึงลำปาง เมื่อแฟนเพลงรู้ว่าวงจันทร์ ไพโรจน์มา ก็นำดอกกุหลาบมอญสีออกชมพูอ่อนมามอบให้มากมายผ่านหน้าต่าง

ระหว่างที่กำลังชื่นชมความงามของดอกกุหลาบอยู่ สายตาของเธอก็ไปเห็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงข่าวสาวเหนือฆ่าตัวตายเพราะความรัก เธอรู้สึกเศร้า ก็เลยแต่งออกมาเป็นกลอน 3 ห้อง เพราะเคยเห็นว่าเพลง “ดูดวงเดือน “ ก็มีแค่ 3 ท่อนเช่นกัน

หกเดือนผ่านไป บริษัทกมลสุโกศล ได้มาขอซื้อเพลงกุหลาบเวียงพิงค์นี้ไปให้เธออัดแผ่น แต่ก่อนที่จะร้องลงแผ่นเสียง คนควบคุมเสียงบ่นว่าเนื้อเพลงสั้นไป เธอรู้สึกเกรงใจนักดนตรี ก็เลยอ้อนพี่ๆ น้องๆ นักร้องนักดนตรีมาช่วยแต่งห้องสุดท้าย

“หมู่เฮาชาวเหนือ!! " ครูสำเนียง ม่วงทอง ขึ้นเนื้อท่อนแรกก่อนสั้นๆ เธอก็เลยต่อ "อย่าไปเชื่อเชียวหนอคำชาย” จากนั้นมนัส ปิติสานต์ มาช่วยเสริมอีกแรง “เดี๋ยวจะต้องเจ็บช้ำใจตาย “ ก่อนที่จะรีบไปเตรียมตัวสีไวโอลิน จังหวะนั้น สุรพล สมบัติเจริญ ได้มาเชื่อมต่อ “เปิ้นเมืองใต้พูดจาหลอกลวง “

กลับมาถึงคิวครูสำเนียง ม่วงทองอีกครั้ง แกเอื้อน “หากเปิ้นได้เฮา “ อารมณ์นั้นเธอคิดถึงเด็กสาวชาวเหนือที่ฆ่าตัวตาย ก็เลยแต่งว่า “เปิ้นคงทิ้งเฮาน้ำตาไหลร่วง “ถึงตรงนี้หยุดคิดกันอยู่นานก่อนที่สุรพล สมบัติเจริญ จะคิดท่อนสุดท้ายของเพลงได้ว่า “หากหลงลมคงโดนหลอกลวง ช้ำทรวงเหมือนดั่งบัวบาน”

แต่ภายหลังเมื่อเพลงกุหลาบเวียงพิงค์จบกระบวนการผลิต และออกมาเป็นแผ่นเสียง กลับมีการให้เครดิตสุรพล สมบัติเจริญ ว่าเป็นผู้ประพันธ์เพลง และสร้างความสับสนให้กับวงการเพลงในเวลาต่อมา

(อ้างอิง http://saisampan.net/index.php?topic=...)

___

กุหลาบเวียงพิงค์
คำร้อง-ทำนอง วงจันทร์ ไพโรจน์

กุหลาบเวียงพิงค์ ดอกนี้บ่มีเจ้าของ
เพิ่งแรกแย้มบ่มีไผจอง เป็นเจ้าของครองใจเด็ดดม
ส่งกลิ่นอบอวล ยั่วยวนหัวใจไปตามสายลม
เปิ้นทั่วแคว้นแดนไทยหมายชม สมเป็นกุหลาบเวียงเหนือ

กุหลาบเมืองไหน ทั่วดินแคว้นในแดนสยาม
ยังบ่เทียมเทียบเท่าความงาม เปรียบดังสาวชาวพิงค์งามเหลือ
บ่ได้แต่งเติม เสริมส่งไว้ลวงให้ใครหลงเชื่อ
ปากบ่แดงแป้งบ่ได้เจือ คิ้วบ่ได้เถือดินสอ

กุหลาบเวียงพิงค์ ดอกนี้สวยจริงเจ้าเอ๋ย
ยังบ่มีผู้ใดไหนเลย มาโลมเล้าเอาไปพะนอ
ด้วยสาวชาวพิงค์ กลัวบ่ฮักจริงของชายรูปหล่อ
กลัวเสียนักกลัวคำป้อยอ กลัวน้ำตาหล่อรินทรวง

หมู่เฮาชาวเหนือ อย่าไปเชื่อเชียวหนอคำชาย
เดี๋ยวจะต้องเจ็บช้ำใจตาย เปิ้นเมืองใต้พูดจาหลอกลวง
หากเปิ้นได้เฮา เปิ้นคงทิ้งเฮาน้ำตาไหลร่วง
หากหลงลมคงโดนหลอกลวง ช้ำทรวงเหมือนดั่งบัวบาน

#กุหลาบเวียงพิงค์ #ลูกกรุง #ระนาดเอก

Комментарии

Информация по комментариям в разработке