การแบ่งทรัพย์มรดก ทายาทโดยธรรม ,กฎหมายมรดก คู่สมรส

Описание к видео การแบ่งทรัพย์มรดก ทายาทโดยธรรม ,กฎหมายมรดก คู่สมรส

มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” 

-ผู้รับพินัยกรรม
1.ถ้ามีพินัยกรรม ทรัพย์สินที่ถูกระบุไว้ในพินัยกรรมเท่านั้นที่จะถูกบังคับให้เป็นไปตามที่พินัยกรรมระบุไว้ ส่วนทรัพย์มรดกอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้แบ่งทายาทโดยธรรม ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย (ม.1620 วรรค 2)
2.ทายาทที่รับมรดกตามพินัยกรรมแล้ว สามารถแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนของทรัพย์สินที่ไม่ได้ระบุในพินัยกรรมได้ (ม.1621)

-การแบ่งมรดกแก่ทายาทโดยธรรม
1.ทายาทโดยธรรม 6 อันดับ (ม.1629, 1635 (1) , ม.1627 , ม.1630 วรรค สอง) ***คู่สมรสและบิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนชั้นบุตร
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

-การแบ่งทรัพย์มรดก
1.แบ่งให้คู่สมรสก่อน (ม.1625)
2.แบ่งตามลำดับชั้นทายาทโดยธรรม

**รับชมเนื้อหาในคลิปเพิ่มเติมได้เลยนะคะ
 --------------------------------------------------------------------
*หากคลิปนี้ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

Page Facebook : ModernLaw
หรือคลิกที่ลิงค์ :   / modernlawth  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке